พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ฉลอง 80 พรรษา ทำให้งดเพิ่มโทษจำคุก แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษศาลฎีกาจึงกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบโทษเดิม แม้คดีถึงที่สุดแล้ว หากยังไม่เริ่มบังคับคดี ศาลต้องกำหนดโทษใหม่
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีที่ความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษทางอาญา แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษและเพิ่มโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ภายหลังปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น แม้คดีจะถึงที่สุดแล้ว จำเลยก็ยังได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในคดีที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุเพิ่มโทษ จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำเลยมิอาจอ้างเหตุใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยและพิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์ มิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิฎีกาได้เฉพาะในปัญหาว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วยอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหวนกลับมาใช้สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายอีกไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษและการนำโทษเดิมมาบวกกับโทษใหม่ แม้จะมีการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน
ตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีควมผิดนั้นๆ" นั้น หมายความว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้กระทำความผิดก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ แต่สำหรับคดีก่อนทั้งสามคดีของจำเลย แม้จะได้กระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ก็ตาม แต่ศาลก็ให้รอการลงโทษไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้ว กรณีของจำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้มากระทำผิดในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลให้รอการลงโทษไว้ จึงต้องนำโทษในคดีก่อนทั้งสามคดีมาบวกกับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร, ใช้เอกสารปลอม, ฟ้องซ้ำ, การเพิ่มโทษ, ล้างมลทิน: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นความผิดและโทษจำคุก
ความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยรับไว้โดยประการใด ๆ และครอบครองใช้รถยนต์ ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารราชการแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมนั้น จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมมาติดกับรถยนต์คันดังกล่าวแสดงต่อบุคคลทั่วไปที่พบเห็น การกระทำความผิดทั้งสองฐานความผิดนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะได้กระทำต่อรถยนต์คันเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระกัน ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการรับของโจรและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีอันเป็นเอกสารราชการปลอม ก็เป็นคนละอย่างต่างกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรและฐานใช้เอกสารราชการปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีจำหน่ายยาเสพติด: แก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่ & ล้างมลทินผู้ต้องโทษเดิม
แม้จะฟังได้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 สอบถามจำเลยที่ 2 ว่าไว้วางใจได้หรือไม่ แล้วจำเลยที่ 2 จะหันไปถามสิบตำรวจโท ป. ว่ามาจากไหนเมื่อได้รับคำตอบจากสิบตำรวจโท ป. ว่า "ไอ้รุ่งร้านยางบ้านโคกตายอให้มาซื้อของ" จำเลยที่ 2 จึงตอบจำเลยที่ 1 ไปว่า "ไว้ใจได้ขายเขาไปเถอะ" ก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าอำนาจตัดสินใจในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจะอยู่กับจำเลยที่ 2 การตัดสินใจซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและการตกลงราคายังขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น นอกจากนี้ทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องในการยึดถือหรือครอบครองดูแลหรือร่วมเป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนของกลาง ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมเจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีนด้วย เมื่อตกลงซื้อขายกันแล้วจำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้นำเมทแอมเฟตามีนที่ซุกซ่อนไว้มามอบให้สิบตำรวจโท ส. และจำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้รับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนจากสิบตำรวจโท ส. เอง การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 2 ตอบจำเลยที่ 1 ไปว่า "ไว้ใจได้ขายเขาไปเถอะ" ย่อมเป็นการพูดเพื่อช่วยในการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 ในอันที่จะขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจโท ส. ที่ปลอมตัวเป็นสายลับเข้าไปขอซื้อให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยาเสพติด: การครอบครองจำหน่าย, การสนับสนุน, การแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่ และการล้างมลทิน
จำเลยที่ 2 ตอบจำเลยที่ 1 ว่า "ไว้ใจได้ ขายเขาไปเถอะ" เพื่อช่วยในการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 ที่จะขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ได้เนื่องจากเป็นข้อแตกต่างที่มิใช่สาระสำคัญทั้งจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อรวม 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันแม้จำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ให้แก่ผู้มีชื่อไปก่อน และยังคงมีเมทแอมเฟตามีนอีก 2 เม็ด เหลืออยู่ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่จำเลยก็ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อไปแล้วทั้งหมดในการจำหน่ายครั้งที่สอง โดยไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ในครอบครองของจำเลยอีกต่อไป การกระทำของจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในแต่ละกรรม ซึ่งความผิดแต่ละฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ซึ่งคงลงโทษจำเลยได้รวม 2 กรรม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15002/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดยาเสพติด, การบรรยายฟ้อง, การล้างมลทิน, และอำนาจแก้ไขปรับบทของศาลฎีกา
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเกินคำขอและมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ฐานลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 และจำเลยได้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี จำเลยพ้นโทษคดีดังกล่าวไปแล้ว ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกนั้น เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ฯ ใช้บังคับ และบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ (วันที่ 5 ธันวาคม 2550) โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ฐานลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 และจำเลยได้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี จำเลยพ้นโทษคดีดังกล่าวไปแล้ว ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกนั้น เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ฯ ใช้บังคับ และบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ (วันที่ 5 ธันวาคม 2550) โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225