พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน: การจำวันเวลาเหตุการณ์สำคัญ
ลักษณพะยาน พะยานฐานที่ของจำเลยไม่แสดงเหตุผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์: การพิสูจน์วันเวลาเกิดเหตุที่คลาดเคลื่อน ทำให้การฟ้องไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
ฟ้องผิดวันตัดสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการระบุวันเวลาในฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
แม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 ก่อนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายเหตุการณ์การกระทำผิดเป็นลำดับก่อนหลังว่าเกิดเหตุกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ก่อนแล้วต่อมาจึงเกิดเหตุรับของโจร ทั้งในคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ของพนักงานสอบสวน ก็มีข้อความระบุว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยได้รับของโจรโดยรับฝากรถจักรยานยนต์ที่ถูก ช. ผู้ต้องหาในคดีอื่นลักมา ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจดีว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เห็นได้ว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ข้อผิดพลาดวันเวลาในฟ้องไม่ถึงสาระสำคัญ หากจำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพ
บันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ แม้จะระบุว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ก็ตาม แต่บันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมยึดของกลางปรากฏตามบัญชีของกลางท้ายฟ้อง ซึ่งบัญชีของกลางคดีอาญาท้ายบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ระบุวันเดือนปีที่ยึดของกลางว่า ยึดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการพิมพ์รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดผิดพลาดไป มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุเกิดวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 และมีการยึดของกลางในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 มิได้หลงต่อสู้ จึงให้การรับสารภาพ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ภายในกำหนดเวลา 48 ชั่งโมง นับแต่เวลาที่จำเลยทั้งสามถูกจับ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9992/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรหลายกรรมต่างกัน แม้รับซื้อจากผู้เสียหายรายเดียวกัน หากเป็นการซื้อขายในวันเวลาต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกระทง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส. นำน้ำมันดีเซลที่ลักไปขายให้แก่จำเลยรวม 5 ครั้ง แม้จะเป็นการรับซื้อทรัพย์อย่างเดียวกันของผู้เสียหายคนเดียวกัน แต่ก็เป็นการรับซื้อคนละวันเวลาต่างวาระกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแยกการกระทำผิดแต่ละคราวออกจากกัน แล้วแต่ ส. จะนำน้ำมันดีเซลไปขายเมื่อใดก็จะรับซื้อไว้ จึงเป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรหลายกรรมต่างกันรวม 5 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12795/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ยักยอกทรัพย์-ทำลายเอกสาร ศาลฎีกาชี้การบรรยายฟ้องต้องระบุวันเวลาชัดเจน
แม้ในฟ้องข้อ (ก) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไป ต่างวันต่างเวลากัน รวม 262 ครั้ง และฟ้องข้อ (ข) โจทก์บรรยายรวมกันมาว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารบันทึกการขายสินค้าประจำวัน (กระดาษเจอร์นอล) ของผู้เสียหาย จำนวน 262 แผ่น ต่างวันต่างเวลากัน จำนวน 262 ครั้ง ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม 2547 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยง โดยมิได้ระบุว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันยักยอกและเอาไปเสียซึ่งเอกสารในแต่ละครั้ง วันเวลาใดให้ชัดแจ้ง ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์ร่วมตรวจพบการทุจริตของพนักงานเก็บเงินในบริษัทโจทก์ร่วมเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาตามเอกสารดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อให้เข้าใจเอาเองว่ามีการกระทำผิดข้อหาร่วมกันยักยอกในแต่ละครั้งเกิดขึ้นตามวันเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11122/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดเรื่องวันเวลานับเป็นสาระสำคัญหรือไม่?
คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 แต่คำฟ้องโจทก์ระบุว่า เหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤศจิกายน 2549 เห็นได้ชัดว่าเป็นการพิมพ์รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดผิดพลาดไป จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งคำฟ้องโจทก์บรรยายด้วยว่าหลังเกิดเหตุลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 นำทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปจำหน่ายแก่ผู้มีชื่อ ครั้นวันที่ 2 มิถุนายน 2549 เจ้าพนักงานยึดทรัพย์ดังกล่าวจากผู้มีชื่อเป็นของกลาง จำเลยทั้งสามเข้าใจข้อหาได้ดีมิได้หลงต่อสู้ จึงให้การรับสารภาพและชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเพื่อบรรเทาผลร้ายด้วย ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9860/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องในคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงวันเวลาที่กระทำผิดโดยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความว่า "เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2546 เวลากลางวัน" เป็น "เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2546 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 16 เมษายน 2546 เวลากลางวันต่อเนื่องกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด" เป็นการแก้ฟ้องเฉพาะวันและเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด อันเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โดยวันและเวลาที่ขอแก้ใหม่ยังครอบคลุมถึงวันและเวลาตามฟ้องเดิมด้วย ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเมื่อสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมไปเพียง 2 ปาก ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงต่อสู้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด ไม่ทำให้ฟ้องขัดกับสภาพความเป็นจริง หากจำเลยรับสารภาพ
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ส่วนที่ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามคำร้องขอผัดฟ้อง ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์ฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิดอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริง ที่จะต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา: การแก้ไขข้อผิดพลาดเรื่องวันเวลาที่เกิดเหตุ ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามคำร้องขอผัดฟ้องของโจทก์ ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยน่าจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์คำฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิดอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงไม่ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพมาโดยตลอด ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษ แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของตน การที่โจทก์บรรยายฟ้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดผิดพลาดไปดังกล่าวจึงมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้