คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายและการพิจารณาโทษรอการลงโทษ ศาลฎีกาแก้เป็นไม่รอการลงโทษเนื่องจากปริมาณยาเสพติดไม่น้อย
จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 20 เม็ด ซึ่งมิใช่จำนวนเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่รอการลงโทษให้แก่จำเลย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาโดยตรงว่าไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะพิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและบทลงโทษปรับในคดีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษเดิมได้
ความผิดของจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่าความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยก็มีอำนาจกำหนดโทษปรับเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะโทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้เป็นโทษที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเคยติดคุก โทษกักขังแทนที่ศาลอุทธรณ์แก้ให้ เป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาไม่แก้โทษ
จำเลยรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 504/2542 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยจึงเป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษให้แก่จำเลย และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทนนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทน จึงไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4485/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกระทำชำเราและพรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าจำเลยมีเตนากระทำความผิดฐานหนึ่งแล้ว และการที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำเลยก็มีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลอีกฐานหนึ่งต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรมหาใช่กรรมเดียวไม่
ส่วนการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนอนที่บ้านของจำเลย แล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นการกระทำความผิดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารเป็นการกระทำกรรมเดียว มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคัดค้าน - ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคู่ความคัดค้าน เป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อศาลฎีกาจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องส่งสำเนาคำร้องและคำฟ้องให้จำเลยเพื่อคัดค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สั่งในอุทธรณ์" และมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาตามที่โจทก์ขอ" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาร่วมชำระหนี้และดอกเบี้ยค้างชำระ: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ตามสัญญาร่วมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่า การที่ผู้ให้สัญญายอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าบริการโทรศัพท์ ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม จึงมิใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมไม่ระงับและการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ก็ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้จะมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ก็มิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระตั้งแต่งวดที่ 2 คือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 40,703 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ไม่ได้เพราะขาดอายุความ 5 ปี คงเรียกได้เฉพาะดอกเบี้ยหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือของศาลจังหวัดยะลาที่แนบท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสองระบุว่า วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้าน ดังนั้น วันที่ 17 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นปิดทำการ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้และต้องยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก สอดคล้องกับคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรก เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม เกินกำหนด 1 ปี มิใช่เหตุสมควร ศาลฎีกาตัดสิน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้เสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าอันจะถือเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 ทั้งมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมจำเลยจะต้องแจ้งถึงสิทธิและกำหนดเวลาในการขอรับประโยชน์ทดแทนต่างๆ ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิทราบ ฉะนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนโจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว
of 344