คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4348/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมศาลพร้อมคำอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น แม้คดีนี้จำเลยเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอพิจารณาใหม่ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นสาระเนื้อหาในคำฟ้องโจทก์แต่เป็นการที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องให้ศาลสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 ครบกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ร่วมจะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพื่อไปดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โจทก์ร่วมได้ยื่นอุทธรณ์ซึ่งอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 อันเป็นระยะเวลาภายในกำหนดที่ขอขยาย การที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า เหตุการณ์ตามคำร้องของโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม เป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยและแก้โทษจำคุกให้น้อยลงสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจาก 6 ปี เป็น 5 ปี และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจาก 5 ปี เป็น 4 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือหากศาลเห็นว่าจำเลยจะทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาการริบของกลางที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยึดหลอดกาแฟ 10 หลอด เป็นของกลาง และขอให้ริบของกลางด้วยนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายืน แต่ไม่ริบหลอดกาแฟของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความผิดและโทษในศาลอุทธรณ์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง จำคุก 8 เดือน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะแก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีปิดกั้นทางสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ชอบที่ให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองว่าปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง มีความกว้าง 3 เมตร เหลือเพียง 1.50 เมตร ทำให้โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านใช้ทางสาธารณะไม่ได้หรือไม่สะดวก ขอให้เลิกปิดกั้น จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอนุญาตให้โจทก์และชาวบ้านใช้เดินผ่านเป็นครั้งคราว เช่นนี้มีประเด็นพิพาทเป็นข้อสำคัญว่ามีทางสาธารณะตามฟ้องและจำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นจริงหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามคู่ความและโจทก์ทั้งสองแถลงรับว่า ทางพิพาทในปัจจุบันเหลือเพียงกว้าง 1.50 เมตร โดยเดินเท้าหรือรถจักรยานยนต์ผ่านได้ ศาลชั้นต้นก็สั่งงดสืบพยานโจทก์ทั้งสามและพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่พิจารณาให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
of 225