พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการประเมินราคาศุลกากรและพิกัดอัตราภาษีที่ถูกต้องตามราคาตลาดและข้อเท็จจริง
การขัดผิวหรือทำกระจกให้ใส อันจะพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06 นั้น ไม่จำต้องกระทำด้วยกรรมวิธีทางเครื่องมือกลแต่เพียงอย่างเดียว การผลิตกระจกโดยใช้กรรมวิธีชั้นสูงที่ทำให้ผิวหน้ากระจกราบเรียบ เป็นเงาใสโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีกก็คือเป็นการทำให้กระจกได้รับการตกแต่งโดยขัดผิวหรือทำให้ใสแล้ว การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดี จะต้องใช้บทกฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ขณะที่มีการนำเข้า ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายของสภาความร่วมมือทางศุลกากร เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ราคาสินค้าที่นำเข้า จะต้องประเมินจากราคาขายส่งเงินสด(ไม่รวมอากรขาเข้า) หรือจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้า ส่วนราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้นั้น เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าสินค้าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวเสมอไป และการที่โจทก์เคยยื่นบัญชีราคาสินค้าต่อจำเลยไว้ และไม่มีการแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงราคาจะถือเอาว่าราคาสินค้ามีราคาเดิมตลอดมาก็ไม่ได้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดและคำนึงถึงปริมาณสินค้า
เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืน เมื่อราคาสินค้าที่โจทก์ซื้อและสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินของจำเลยที่กำหนดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการไม่ชอบจำเลยต้องคืนอากรขาเข้าที่เรียกเก็บไว้เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่นตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่ สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินอากรตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ศุลกากร: การปฏิบัติตามแบบพิมพ์ไม่ใช่เงื่อนไขหลัก
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (ก) ถึง (ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ยาเสพติดและศุลกากร - ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,66 วรรคสองและฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,65 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80ซึ่งเฮโรอีนของกลางถูกจับได้ที่ท่าอากาศยานเป็นจำนวนเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และในขณะเดียวกันก็เป็นการพยายามนำของต้องห้ามโดยยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรออกนอกราชอาณาจักรอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 ด้วย แม้จะเป็นความผิดต่างพระราชบัญญัติกัน ก็ไม่เป็นการกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก คงรวมเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางศุลกากร ต้องคำนวณจากราคาสินค้าและค่าอากร รวมกันเป็นเกณฑ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงต้อปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกัน มิใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกค่าอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าต้องเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาที่ตกลงซื้อขายกันเอง
ราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเรื่องภายในที่รู้เห็นกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่ามีการตกลงซื้อขายกันตามราคาดังกล่าวจริงเพราะอาจเป็นการสมยอมกันทำเอกสารขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้เสียน้อยกว่าที่ควรต้องเสียก็เป็นได้และแม้จะเป็นราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงก็ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าราคาที่ซื้อขายกันนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เพราะคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป จะต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้า.