คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะภริยาชอบด้วยกฎหมายและสิทธิในสินสมรส: การพิสูจน์การขาดจากความเป็นสามีภริยา
โจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบตามข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้ขาดจากการเป็นสามีภริยากับเจ้ามรดกแล้ว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าเจ้ามรดกขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 อันเป็นวันที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 และเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง บรรพ 5 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้ามรดกทำหนังสือยินยอมหย่ากัน หรือศาลพิพากษาให้หย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497,1498 จึงต้องถือว่าโจทก์กับเจ้ามรดกยังคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายตลอดมา
ในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กะประเด็นเรื่องภริยาร้างไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งถือได้ว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น จำเลยฎีกาว่าโจทก์เป็นภริยาร้างศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีการลักลอบคบหาก่อนจดทะเบียนสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์มรดก
หญิงชายลอบได้เสียกันจนเกิดบุตร ไม่แสดงว่าชายจะเลี้ยงดูหญิงเป็นภริยาและไม่ได้แสดงออกต่อคนทั่วไปว่าอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ไม่เป็นภริยาชายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมาชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาท เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อชายตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: พิจารณาคดีตามสถานะผู้กระทำผิด ณ วันกระทำความผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13 กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า คดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่ และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16 (2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมและการพิสูจน์สถานะผู้จัดการมรดก จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงก่อน
โจทก์ฟ้องว่า ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์กำลังจัดการมรดกอยู่ เมื่อ ผ.ยังมีชีวิตอยู่นั้นจำเลยได้ฉ้อฉล ผ. ให้ ผ.ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลย ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้นั้น จำเลยให้การปฏิเสธพินัยกรรมท้ายฟ้องและว่าถ้า ผ.ได้ทำพินัยกรรมนั้นจริง ก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้ว โจทก์มิได้เป็นทายาทและผู้จัดการมรดก ผ.ยกทรัพย์ดังกล่าวให้จำเลยโดยชอบด้วยใจสมัคร และโจทก์ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามคดีดำที่ 6368/2516 ซึ่งยังพิพาทกันอยู่ ยังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1712 เจ้ามรดกมีสิทธิที่ตั้งผู้จัดการมรดกได้แต่เรื่องนี้ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์อ้างจะเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องแท้จริงหรือไม่เจ้ามรดกได้ระบุไว้ในพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกจริงหรือไม่ โจทก์มีข้อเสื่อมเสียประการใดและมีพินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนการตั้งผู้จัดการมรดกที่โจทก์อ้างหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงกันต่อไปเพื่อที่จะได้ทราบชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้ว่าศาลจะมีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เอง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลก็ควรจะได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ แม้คดีหมายเลขดำที่ 6268/2516 นั้น คณะผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาเป็นคณะเดียวกับคดีนี้ แต่ก็เป็นคนละคดีกันและมิได้รวมพิจารณาจะนำข้อเท็จจริงในคดีหนึ่งมาใช้กับอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่ เมื่อโจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้ก็จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้ทรงเช็คเมื่อนำเช็คเข้าบัญชีผู้อื่น และการเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงิน
จำเลยยืมเงินจากโจทก์ และออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือมอบให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ต่อมาโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีผู้อื่น โดยยื่นเช็คต่อธนาคารให้เรียกเก็บเงินเองตราบที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ไม่ได้โอนเช็คให้ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คนั้นอยู่ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมายังโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้ทรงเช็คและการมีสิทธิเรียกร้องเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือให้โจทก์ โจทก์มอบเช็คดังกล่าวชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ของโจทก์ เจ้าหนี้ของโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีตนเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินให้แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าหนี้ของโจทก์จึงคืนเช็คให้โจทก์ ดังนี้โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่การนำสืบ
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระในคดีล้มละลายและเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คัดค้าน ผู้ขอรับชำระหนี้ต้องนำสืบตามข้ออ้าง ถ้าพยานหลักฐานของผู้ขอรับชำระหนี้ฟังไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จริง ก็ต้องยกคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะทรัพย์สิน (มรดก) ต้องใช้กฎหมายทั่วไป ไม่ใช่กฎหมายอิสลาม
คดีมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น เมื่อเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ ในการวินิจฉัยเช่นนี้จะนำกฎหมายตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้บังคับหาได้ไม่
( อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2494 )
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดกและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอันมีที่ดินและบ้านตามกฎหมายอิสลาม นางแวบูงอมารดาจำเลยกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญายอมแบ่งปันมรดกดังกล่าวออกเป็นส่วนสัดตามสิทธิของทายาทแต่ละคนและตามลัทธิศาสนาอิสลามแล้ว ต่อมามารดาจำเลยตาย โจทก์เรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์ตามที่มารดาจำเลยได้ทำสัญญาไว้ จำเลยไม่ยอมแบ่งให้ โจทก์จำเลยเป็นชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดปัตตานี และเจ้ามรดกก็นับถือศาสนาอิสลาม ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งมีราคา 104,000 บาท ตามสัญญายอมให้แก่โจทก์คิดเป็นเงิน 72,000 บาท นอกนั้นตกเป็นของจำเลย ถ้าแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างทายาท หากประมูลไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งตามส่วน
จำเลยทั้งสี่ให้การใจความว่า นางแวบูงอมารดาจำเลยและจำเลยทุกคนไม่เคยยินยอมแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ดังฟ้อง ไม่เคยลงลายมือชื่อในหนังสือแบ่งทรัพย์ หากจะฟังว่านางแวบูงอได้ทำสัญญาตามฟ้องไว้จริงก็เป็นเรื่องถูกบังคับให้ลงชื่อในขณะที่ป่วยสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ หนังสือสัญญานั้นใช้ไม่ได้ตามกฎหมายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และขัดต่อความสงบเรียบร้อย จำเลยไม่เคยตกลงจะแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่ครอบครองทรัพย์ดังกล่าวร่วมกันมา โจทก์ทั้งหลายไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกทั้งหมด คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก และคดีโจทก์ขาดอายุความ
ในวันชี้สองสถานคู่ความรับกันว่า ทรัพย์มรดกที่พิพาทมีที่ดิน 6 แปลง เป็นที่มีโฉนด 3 แปลง และมี ส.ค.1 3 แปลง ล้วนเป็นชื่อนางแวบูงอทั้งหมด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า
1. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
2. ทรัพย์ที่พิพาทเป็นมรดกร่วมกันระหว่างพวกโจทก์และนางแวบูงอกับจำเลย ซึ่งจะต้องแบ่งให้โจทก์และแบ่งตามสัญญายอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเชื่อว่าทายาทของนางซีตีฮาวอได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 2510 และ 2511 ตามเอกสารหมาย จ.1 จริง กรณีไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังจำเลยต่อสู้ ข้อพิพาทสำหรับที่ดินอีก 4 แปลงคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2512 และที่มี ส.ค.1 นั้น ข้อนี้ดะโต๊ะยุติธรรมชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามว่าเป็นเรื่องการฟ้องขอแบ่งมรดก แต่ละฝ่ายจะต้องมีพยานนอกจากตัวความมาสืบอย่างน้อยเป็นผู้ชาย 2 คน หรือผู้หญิง 4 คน หรือผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 2 คน จึงจะรับฟังได้ ฝ่ายจำเลยมีพยานมาสืบไม่ครบจึงรับฟังไม่ได้ตามกฎหมายอิสลาม ต้องฟังตามพยานโจทก์ว่า มีมรดกที่จะต้องแบ่งให้โจทก์อีก 4 แปลงตามส่วนสัดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอิสลาม แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเห็นว่า การที่จะรับฟังพยานได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องกฎหมายลักษณะพยาน ไม่ใช่เรื่องครอบครัวและมรดก จะยกเอากฎหมายอิสลามมาบังคับในการรับฟังพยานไม่ได้ ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาร ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และ 4 ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาท 4 แปลงนอกเหนือจากสัญญายอมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของนางแวบูงอ พิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดก 2 แปลงให้แก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือแบ่งกันเองไม่ได้ ก็ให้ประมูลราคาระหว่างกันเองหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกัน ข้อเรียกร้องของโจทก์นอกจากนี้ให้ยกเสีย
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่พิพาท 4 แปลง เป็นมรดกซึ่งทายาทครอบครองร่วมกันมา จำเลยอุทธรณ์ว่าหนังสือแบ่งทรัพย์ตามเอกสาร จ.1 ทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีโจทก์ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่าสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกใช้บังคับได้ และที่ดินพิพาท 4 แปลงนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวไม่ใช่มรดกของเจ้ามรดก และวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าคดีนี้เป็นเรื่องมรดก ศาลจะต้องฟังตามคำวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรมนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ และการวินิจฉัยเช่นนี้จะนำกฎหมายตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้บังคับแก่กรณีหาได้ไม่ ดังที่ศาลฎีกาได้เคยพิพากษาไว้ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2494 ระหว่างนางแวสะลาเมาะ โจทก์ นายแวซง บินฮาวาแด จำเลย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมสมควรให้เป็นพับ.
(ชลอ จามรมาน - เฉลิม กรพุกกะณะ - พิสัณห์ ลีตเวทย์)
ศาลจังหวัดปัตตานี - นายเคียง บุญเพิ่ม
ศาลอุทธรณ์ - นายมงคล วัลยะเพ็ชร์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสถานะผู้จัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรม และการจำหน่ายคดี
การเป็นผู้จัดการมรดก เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับการตั้ง
คดีที่ร้องขอให้ถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรมในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของผู้จัดการมรดกต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าอาวาส: การพิสูจน์สถานะและการมีกฎมหาเถรสมาคมที่ชัดเจน
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร
of 18