พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: การระบุตัวตนของผู้เขียนและพยาน
พ.ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะนั้น และได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ต่อหน้า ส.ผู้เขียนและ ท.พยานในพินัยกรรม ส. ได้ลงลายมือชื่อในขณะนั้นเช่นกัน เพียงแต่ไม่มีข้อความต่อท้ายว่าเป็นพยายน เช่นนี้ก็ถือว่า ส. เป็นพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมตลอดมาแต่ต้นคือเป็นทั้งผู้เขียนและพินัยกรมและเป็นพยานในพินัยกรรม ต้องด้วยความประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมที่สมบูรณ์: ผู้เขียนและพยานเดียวกันได้หรือไม่
พ. ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะนั้น และได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ต่อหน้า ส. ผู้เขียนและ ท. พยานในพินัยกรรมส. ได้ลงลายมือชื่อในขณะนั้นเช่นกันเพียงแต่ไม่มีข้อความต่อท้ายว่าเป็นพยาน เช่นนี้ก็ถือว่า ส. เป็นพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมตลอดมาแต่ต้นคือเป็นทั้งผู้เขียนพินัยกรรมและเป็นพยานในพินัยกรรมต้องด้วยความประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี สมบูรณ์เมื่อผู้มอบอำนาจลงลายมือชื่อ แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ลงชื่อ
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี เมื่อโจทก์ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้มอบอำนาจแล้ว ย่อมสมบูรณ์ หาจำต้องลงชื่อผู้รับมอบอำนาจอีกชั้นหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงจะสมบูรณ์
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระหนี้ โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ตัดสิทธิทายาทโดยธรรม แม้ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบก็ไม่เสียสิทธิ
ก.บุตรโจทก์สมรสกับ ท. ก.และ ท.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสให้ซึ่งกันและกัน ก. ตายก่อน ท. จึงไปขอรับมรดกต่อมา ท.ตาย ก่อนตาย ท.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่ได้รับมรดกมาทั้งหมดให้จำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ก็ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก.ให้ ท.ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณานั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดก การที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะที่ขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหายจึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ พินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำ พินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก.ให้ ท.ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณานั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดก การที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะที่ขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหายจึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ พินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำ พินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าได้โอนหนี้ไปยัง อ. แล้วและต่อมา อ. มีหนังสือแจ้งมายังลูกหนี้ว่าได้รับโอนหนี้แล้ว ดังนี้ การโอนหนี้มิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ อ.แจ้งไปยังเจ้าหนี้เดิมให้เจ้าหนี้เดิมเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เอาเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ: วันเดือนปีไม่จำเป็นต้องระบุในพินัยกรรม หากปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
พินัยกรรมแบบเอกสารลับนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1660 หาได้บังคับให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมไม่ แต่เมื่อได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660 บัญญัติไว้ทุกประการแล้วก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารลับไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปี หากปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์
พินัยกรรมแบบเอกสารลับนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1660 หาได้บังคับให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมไม่แต่เมื่อได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660 บัญญัติไว้ทุกประการแล้ว ก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ลงวันที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย หากผู้ทรงลงวันที่โดยสุจริต และอายุความเช็คเริ่มต้นวันที่ลงในเช็ค
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ให้นำมาตรา 910 ในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วย ซึ่งมาตรา 910 วรรค 5 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ และตามวรรคหนึ่งบัญญัติว่า ตราสารที่มีรายการขาดตกบกพร่องในเรื่องเช่นนี้ เป็นข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพียงเพราะเหตุที่เช็คไม่ได้ลงวันที่ไว้จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นโมฆะ และการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปแล้วเขียนเช็คพิพาทที่ยังไม่ได้ลงวันที่มอบให้โจทก์ไว้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่เอาตามที่โจทก์จะเห็นสมควรเพื่อเรียกเงินตามเช็คเอามาชำระหนี้โจทก์นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเอง
การที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงิน และการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเอง
การที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงิน และการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ลงวันที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้ทรงสุจริตลงวันได้ การตีราคารถยนต์ชำระหนี้ต้องเป็นราคาท้องตลาด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ให้นำมาตรา 910 ในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยซึ่งมาตรา 910 วรรคห้าบัญญัติว่า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋วผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ และตามวรรคหนึ่งบัญญัติว่า ตราสารที่มีรายการขาดตกบกพร่องในเรื่องเช่นนี้ เป็นข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพียงเพราะเหตุที่เช็คไม่ได้ลงวันที่ไว้จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นโมฆะและการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปแล้วเขียนเช็คพิพาทที่ยังไม่ได้ลงวันที่มอบให้โจทก์ไว้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่เอาตามที่โจทก์จะเห็นสมควรเพื่อเรียกเงินตามเช็คเอามาชำระหนี้โจทก์นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเองการที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงินและการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเองการที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงินและการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่