พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1016 เพราะจำเลยเป็นผู้ออกเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคาร แม้ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ก็ตามเมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่เพียงผู้เดียว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกอีก
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิสัญญาซื้อขาย: การยอมรับสิ่งของและการไม่บอกเลิกสัญญา
จำเลยได้ทำผิดสัญญาซื้อขายสิ่งของเนื่องจากไม่นำหนังสือรับรองสินค้าเข้า (Import Entry) มาแสดง แม้จำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วนก่อนกำหนดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ยังคงครอบครองสิ่งของที่จำเลยส่งมอบให้ตลอดมา โดยมิได้บอกปัดว่าจะไม่รับสิ่งของ และให้จำเลยรับสิ่งของนั้นคืนไป หรือดำเนินการบอกเลิกสัญญาในเวลาอันควร เพิ่งมาบอกเลิกสัญญาหลังจากที่จำเลยส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายแล้วถึง 6 ปีเศษ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้สละผลบังคับตามสัญญาซื้อขายสิ่งของโดยปริยายแล้ว โจทก์จึงหาอาจยกเอาข้อที่จำเลยไม่นำหนังสือรับรองสินค้าเข้ามาแสดง มาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย เนื่องจากการยอมรับมอบสินค้าและครอบครองไว้นาน
จำเลยได้ทำผิดสัญญาซื้อขายสิ่งของเนื่องจากไม่นำหนังสือรับรองสินค้าขาเข้า(ImportEmtry)มาแสดงแม้จำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วนก่อนกำหนดแล้วก็ตามแต่โจทก์ยังคงครอบครองสิ่งของที่จำเลยส่งมอบให้ตลอดมาโดยมิได้บอกปัดว่าจะไม่รับสิ่งของและให้จำเลยรับสิ่งของนั้นคืนไปหรือดำเนินการบอกเลิกสัญญาในเวลาอันควรเพิ่งมาบอกเลิกสัญญาหลังจากที่จำเลยส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายแล้วถึง6ปีเศษพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้สละผลบังคับตามสัญญาซื้อขายสิ่งของโดยปริยายแล้วโจทก์จึงหาอาจยกเอาข้อที่จำเลยไม่นำหนังสือรับรองสินค้าเข้ามาแสดงมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็ค: การแลกเปลี่ยนเช็คชุดใหม่ถือเป็นการสละสิทธิในเช็คชุดเดิม ทำให้สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
การที่ผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน25ฉบับจากจำเลยที่1แทนเช็คพิพาทแม้ในขณะรับเช็คดังกล่าวผู้เสียหายยังไม่คืนเช็คพิพาทแก่จำเลยแต่มีการทำบันทึกไว้ว่า"เช็คชุดเก่ายังไม่ได้คืน"ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่บางฉบับที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงินแสดงว่าผู้เสียหายเจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวแล้วย่อมเป็นการสละสิทธิในเช็คพิพาทรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยถือได้ว่าเป็นการ ยอมความ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็ค: การแลกเปลี่ยนเช็คชุดเก่ากับชุดใหม่ถือเป็นการสละสิทธิในการฟ้องคดีอาญา
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปร้องทุกข์และมอบไว้ต่อพนักงานสอบสวนต่อมาผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน25ฉบับจากจำเลยเป็นการแลกเปลี่ยนกับเช็คพิพาทโดยยินยอมคืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลยแต่ยังไม่อาจคืนให้ในขณะที่รับเช็ค25ฉบับจึงได้บันทึกไว้ในเอกสารว่าเช็คชุดเก่ายังไม่ได้คืนและผู้เสียหายได้นำเช็คบางฉบับของจำนวน25ฉบับที่ถึงกำหนดจ่ายเงินไปเรียกเก็บเงินแล้วแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวและสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาเอากับจำเลยด้วยข้อตกลงดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการยอมความกันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)การที่ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินตามเช็คจำนวน25ฉบับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คก็ไม่เป็นเงื่อนไขในการตกลงยอมความกันเพราะผู้เสียหายชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ออกเช็คจำนวน25ฉบับเป็นคดีใหม่ต่อไปได้และไม่ทำให้สิทธิดำเนินคดีอาญาในเช็คพิพาทซึ่งระงับไปแล้วเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, วัตถุประสงค์สัญญาเช่า, การสละสิทธิเรียกค่าเสียหาย, การกำหนดวันส่งมอบและเบี้ยปรับ
คดีมีประเด็นว่าการให้เช่าเหล็กเข็มพืดอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้มีการทำสัญญาเช่าเหล็กเข็มพืดกันจริงแล้วจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะอยู่นอกวัตถุประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแล้ว จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญามิได้ให้การถึงเหตุแห่งการนั้นว่าเพราะโจทก์ยอมรับเหล็กเข็มพืดจากจำเลยโดยมิได้บอกสงวนสิทธิในการเรียกเบี้ยปรับไว้เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับหรือไม่และโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ถือไม่ได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้จึงชอบแล้วและฎีกาของจำเลยข้อนี้ก็เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก แม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายจะมิได้คำนวณตามจำนวนวันที่จำเลยส่งมอบเหล็กเข็มพืดคืนโจทก์แต่ก็ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยส่งมอบคืนเมื่อวันที่15ธันวาคม2531มิใช่วันที่12กันยายน2531ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นวันที่12กันยายน2531หากเป็นความจริงย่อมมีผลต่อการกำหนดค่าเสียหายถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์การกำหนดค่าเสียหายอยู่ในตัวที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเรื่องวันส่งมอบตามอุทธรณ์จึงไม่ชอบเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อสัญญาเช่าได้กำหนดเบี้ยปรับไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองโดยหาจำต้องนำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องหนี้และการถอนการยึดทรัพย์ ทำให้หนี้ระงับ และไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินอีก
ตามคำแถลงที่ผู้ร้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ผู้ร้องแถลงว่าผู้ร้องตกลงกับจำเลยแล้วโดยจำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้อง 100,000 บาท ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยโดยจำเลยได้นำค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์มาชำระแล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้ตกลงรับชำระหนี้จากจำเลยเพียงจำนวน 100,000 บาท และสละสิทธิการบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว อันมีผลทำให้หนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวระงับแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำหนี้ในคดีดังกล่าวมาขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้อีก
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ความจริงผู้ร้องตกลงและขอถอนการยึดทรัพย์ในคดีอื่น ไม่ใช่คดีที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องขอเฉลี่ยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ความจริงผู้ร้องตกลงและขอถอนการยึดทรัพย์ในคดีอื่น ไม่ใช่คดีที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องขอเฉลี่ยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องหนี้และการระงับหนี้จากการตกลงรับชำระหนี้บางส่วน
ตามคำแถลงที่ผู้ร้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นผู้ร้องแถลงว่าผู้ร้องตกลงกับจำเลยแล้วโดยจำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้อง 100,000 บาท ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยโดยจำเลยได้นำค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์มาชำระแล้วจึงถือได้ว่าผู้ร้องได้ตกลงรับชำระหนี้จากจำเลยเพียงจำนวน100,000 บาท และสละสิทธิการบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว อันมีผลทำให้หนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวระงับแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำหนี้ในคดีดังกล่าวมาขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยในคดีอีก ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ความจริงผู้ร้องตกลงและขอถอนการยึดทรัพย์ในคดีอื่น ไม่ใช่คดีที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องขอเฉลี่ยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7399/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การดัดแปลง, การสละสิทธิ, หนังสือบอกกล่าว, การบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ถ้าผู้เช่าจะดัดแปลงตึกแถวที่เช่า ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะทำได้ การที่จำเลยนำสืบว่าผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าในการจดทะเบียนการเช่าอนุญาตให้จำเลยทุบผนังกั้นห้องให้ทะลุถึงกันได้ เป็นการสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากข้อความในสัญญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้เช่าดัดแปลงตึกแถวที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา ผู้ให้เช่ารู้เห็นและยังคงเก็บค่าเช่าตลอดมาเป็นเวลา5 ปี ถือได้ว่าผู้ให้เช่าสละข้อห้ามตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จึงจะยกเอาเหตุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดัดแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรมาบอกเลิกสัญญาไม่ได้
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยแก้ไขการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว มิฉะนั้นจะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามหนังสือบอกกล่าวก่อน เมื่อจำเลยไม่จัดการแก้ไขจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยไม่จัดการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าวในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิดำเนินการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้เช่าดัดแปลงตึกแถวที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา ผู้ให้เช่ารู้เห็นและยังคงเก็บค่าเช่าตลอดมาเป็นเวลา5 ปี ถือได้ว่าผู้ให้เช่าสละข้อห้ามตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จึงจะยกเอาเหตุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดัดแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรมาบอกเลิกสัญญาไม่ได้
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยแก้ไขการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว มิฉะนั้นจะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามหนังสือบอกกล่าวก่อน เมื่อจำเลยไม่จัดการแก้ไขจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยไม่จัดการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าวในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิดำเนินการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7399/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงที่อยู่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสละสิทธิ, และการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ถ้าผู้เช่าจะดัดแปลงตึกแถวที่เช่าต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะทำได้การที่จำเลยนำสืบว่าผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าในการจดทะเบียนการเช่าอนุญาตให้จำเลยทุบผนังกั้นห้องให้ทะลุถึงกันได้ เป็นการสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากข้อความในสัญญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้เช่าดัดแปลงตึกแถวที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา ผู้ให้เช่ารู้เห็นและยังคงเก็บค่าเช่าตลอดมาเป็นเวลา 5 ปี ถือได้ว่าผู้ให้เช่าสละข้อห้ามตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จึงจะยกเอาเหตุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดัดแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรมาบอกเลิกสัญญาไม่ได้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยแก้ไขการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว มิฉะนั้นจะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามหนังสือบอกกล่าวก่อนเมื่อจำเลยไม่จัดการแก้ไขจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยไม่จัดการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าวในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิดำเนินการแก้ไขตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ