พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การทราบตัวผู้รับผิดจากการสอบสวนภายใน
การที่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยบางรายการให้ชัดเจน แสดงว่าโจทก์ได้ทราบรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแล้วว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอธิบดีโจทก์ได้ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด ก็ฟังได้ว่าต้องเป็นช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปเรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐาน การสอบสวนต้องแจ้งสิทธิและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ในคดีอาญามีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา เพราะจะต้องบอกให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยเป็นพยาน แล้วโจทก์จะอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นการมิชอบ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำรับซึ่งปรักปรำและเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเรื่องเพื่อสอบสวนการเรียกร้องเงินโดยมิชอบของข้าราชการ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องส่วนได้เสีย
จำเลยและผู้เสียหายต่างทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดินแห่งเดียวกันการที่มีผู้ไปติดต่อขอรับมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินดังกล่าวโดยได้ไปติดต่อกับผู้เสียหายก่อนแล้วจึงไปสอบถามจำเลยในลักษณะที่มีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายได้เรียกเอาเงินจากผู้ไปติดต่อ อันเป็นการมิชอบ จำเลยจึงแจ้งเรื่องให้ ศ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งของตนและของผู้เสียหายทราบเพื่อจะได้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปนั้น เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สินและการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบมูลหนี้และข้อสงสัยในการสอบสวนคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลอย่างรอบคอบ
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินจึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สิน และการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรมการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความแล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบ คำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงาน
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม มาตรา 124แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตาม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับ มอบหมายตาม มาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 แต่ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้อง ส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืนและต้อง ให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถาม พยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่น การพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ ดุลพินิจ ดำเนินการไปตามที่เห็นสมควร โดย คำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณี การที่จำเลยที่ 14ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้ บังคับ โดย จำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานซึ่ง เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดย ไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้วส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้ อำนาจโดยชอบจะถือว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ กรณีที่โจทก์ได้ ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้วโจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14โดย ไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดย ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคดีอาญาโดยอัยการพิเศษประจำเขต, การสอบสวนเพิ่มเติม, และเจตนาใส่ร้าย - ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า"การที่อัยการเขต8(หมายถึงตัวโจทก์)สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่าจำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญและเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่และว่าจำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้นเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณแต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการและจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่าการที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจเมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความเห็นของตนแม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้างแต่ก็เห็นได้ว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งฟ้องคดีอาญา, การสอบสวนเพิ่มเติม, อำนาจสั่งคดีของอัยการ, และการวินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับพฤติการณ์น่าสงสัย
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึงตัวโจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณ แต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลย จำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่าได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา 218,219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาได้หลายกระทง แม้แจ้งข้อหาแรกไปแล้ว หากสอบสวนพบความผิดอื่นเพิ่มเติม โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง