พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับของจำเลยทำให้สัญญากู้ที่ไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลย
จำเลยให้การรับว่าสัญญากู้ท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยทำให้กับผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีภาระจะต้องพิสูจน์และส่งอ้างเอกสารสัญญากู้นั้นเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญากู้ที่โจทก์อ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยว่ามีการกู้กันจริงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่ห้ามมิให้รับฟังตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง จำเลยอ้างว่าการกู้เงินยังไม่บริบูรณ์เพราะจำเลยยังมิได้รับเงินกู้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับของจำเลยทำให้สัญญากู้ที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ หากจำเลยพิสูจน์การไม่ได้รับเงินกู้ไม่ได้
เมื่อจำเลยให้การรับว่าสัญญากู้ท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยทำให้กับผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีภาระจะต้องพิสูจน์และส่งอ้างเอกสารสัญญากู้นั้นเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญากู้ที่โจทก์อ้างนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยว่ามีการกู้กันจริง จึงไม่มีกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ที่ห้ามมิให้รับฟังตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง จำเลยอ้างว่าการกู้เงินยังไม่บริบูรณ์เพราะจำเลยยังมิได้รับเงินกู้ก็ต้องมีภาระการพิสูจน์ เมื่อจำเลยไม่อาจพิสูจน์ให้ศาลเชื่อฟังได้ตามข้ออ้าง ศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้ไปแล้วไม่ใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานนอกเหนือจากที่ให้การ และการรับรองสัญญากู้เงิน
จำเลยได้กู้เงินจากโจทก์ไปจำนวน 32,000 บาท ตามเอกสารหมายจ.2 จำเลยก็เบิกความยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2จริง จำนวน 32,000 บาท สัญญากู้ตามฟ้องจึงไม่เป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความเองโดยจำเลยมิได้ยินยอม มิใช่เอกสารปลอมดัง ที่จำเลยให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง20,000 บาท และชำระหนี้ให้โจทก์แล้วเป็นการนำสืบในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การไว้และมิใช่เป็นการนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยจึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ดอกเบี้ย: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องได้รับการตกลงยินยอมจากลูกหนี้
สัญญากู้เป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อตามสัญญากู้ไม่มีเงื่อนไขให้จำเลยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ได้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ แม้จะมีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จำเลยจะเรียกเก็บได้เกินกว่าที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ แต่จำเลยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงใหม่โดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยหาได้ไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดไป 1 วัน คำเบิกความของช. ไม่ควรรับฟังและจำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ยเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าที่ถูกต้องควรคำนวณอย่างไร เป็นดอกเบี้ยเท่าใด และคำขอ ช.ไม่ควรรับฟังอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการคิดดอกเบี้ยในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทเท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาทโดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกต่อไป ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาทโดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกต่อไป ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้น ก็มีความหมายว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิ เช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยง ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้ มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคงมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่านับแต่วันถัด จากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 อีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระเสร็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดจำเลยที่ 3-4 ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึก ต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาทแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงิน ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท เท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกัน มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และ ที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชี จะ ต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิด ร่วม กับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ ลูกหนี้ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงิน เกิน บัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย ที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดย ไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตาม ยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดย ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่าง โจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์ แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กันอีกต่อไปถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึก เพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีก นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดย ไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุด สัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ผลของการสิ้นสุดสัญญาและการหักเงินจากบัญชีประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัดไม่เดินต่อไป แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบัญชีเดินสะพัดหยุดเดิน ย่อมชอบหักเงินฝากชำระหนี้ได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้ มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการ ปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้อง ปฏิบัติ ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการ หัก ทอน บัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้น เมื่อ ครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่า คู่สัญญา ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและ เรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัด ไม่ เดิน ต่อไปแสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สิ้นสุด ลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็น หลักฐาน แสดง ว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชี ต่อไป อีก แสดง ว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตาม กำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช. นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระ หนี้ย่อมเป็นการ ผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง โดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช. ชำระหนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าสินค้าเป็นสัญญากู้ และน้ำหนักพยานหลักฐานในการพิสูจน์สัญญากู้
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เมื่อจำเลยขอรับเช็คคืน แล้วทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้บัญญัติมิให้ศาลยอมรับฟังพยานที่เป็นพี่น้องกับคู่ความฝ่ายที่อ้าง โจทก์มี บ. น้องของโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความยืนยันตรงกับโจทก์ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำนวน 170,000 บาท ส่วนจำเลยเองมีแต่เพียงตัวจำเลยเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนว่ารับสินค้าของโจทก์ไปขาย แล้วโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นครูการที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่มีการกรอกข้อความนั้น ผิดวิสัยของบุคคลที่มีความรู้ทั่ว ๆ ไปคำพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ดีกว่าพยานจำเลย