คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง 200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์สัญญา และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเพียงผู้เดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกร้องหนี้จากสัญญาค้ำประกัน: ผลกระทบจากการฟ้องคดีและผลการพิจารณาคดีต่อลูกหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันแทน และอายุความฟ้องละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างใช้ อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันทรัพย์สินแทน การฟ้องละเมิดอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไรผิดข้อบังคับอย่างไรและจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของส.ต้องรับผิดดังนี้ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลางโดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบจัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับแต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปนับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยเมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทนต่อมาส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่2เป็นผู้นำที่ดินมาจำนองดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ใช้ฟ้องคดีได้, สัญญาค้ำประกัน, การบังคับจำนองเฉพาะส่วนของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต และทรัสต์รีชีท เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534จำเลยที่ 4 ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้จำนวน 35,000,000บาท โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในหนี้ของจำเลยที่ 1 และขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 35,000,000 บาท ชัดแจ้งแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มอบอำนาจให้ ก. เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไป แม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย โจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ใช้ฟ้องได้, สัญญาค้ำประกัน, การบังคับจำนองเฉพาะส่วนของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญาค้ำประกันสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีชีทเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1เมื่อวันที่9กันยายน2534จำเลยที่4ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้จำนวน35,000,000บาทโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่1จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงตามคำฟ้องแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่4รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในหนี้ของจำเลยที่1และขอให้บังคับจำเลยที่4ใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน35,000,000บาทชัดแจ้งแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มอบอำนาจให้ก. เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไปแม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยโจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้, สัญญาค้ำประกัน, และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกัน ณ วันที่ 29 มกราคม 2531 เป็นเงิน 505,379.05 บาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย แสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้ว จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันที หากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีก ก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่ และในทางปฏิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่ การกระทำของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชี พร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1ได้รับหนังสือของโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท นั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า จำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน 300,000 บาท เท่านั้นหาใช่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่ 2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกันณวันที่29มกราคม2531เป็นเงิน505,379.05บาทให้เสร็จสิ้นภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือโดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วยแสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้วจึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1อีกต่อไปถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา859ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันทีหากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีกก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่และในทางปฎิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเงินเกินบัญชีแล้วหากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่การกระทำของโจทก์และจำเลยที่1ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำเลยที่1ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีพร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด15วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับหนังสือของโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน300,000บาทนั้นจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงดังนี้ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่าจำเลยที่2ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน300,000บาทเท่านั้นหาใช่จำเลยที่2ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน
of 50