พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงที่ดินจากสัญญาจะซื้อจะขาย แม้สัญญาไม่เป็นหนังสือ แต่มีการชำระเงินและส่งมอบการครอบครองแล้ว
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องพิจารณาคำฟ้องตลอดทั้งเรื่อง มิใช่ถือเอาข้อความในคำฟ้องตอนใดตอนหนึ่งมาวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายใจความว่า ผ.เสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงซื้อในราคา 3,000 บาท ได้ชำระราคาให้ ผ.รับไปแล้ว และ ผ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และโจทก์ได้บรรยายข้อความต่อไปว่า ผ.รับปากว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในภายหลัง แต่แล้วก็หายหน้าไปเลย โดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ คำฟ้องดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้ ผ.จะรับเงินค่าที่ดินไปจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ผ.ก็ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ เพียงแต่ให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง คำฟ้องดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
ผ.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยได้รับเงินค่าที่ดินพิพาทแล้วและได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาแม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อมีการชำระหนี้กันแล้วก็มีผลใช้บังคับกันได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้ ผ.จะถึงแก่ความตายแล้วกว่า 30 ปี โจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ผ.ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 และมาตรา 193/27คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายใจความว่า ผ.เสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงซื้อในราคา 3,000 บาท ได้ชำระราคาให้ ผ.รับไปแล้ว และ ผ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และโจทก์ได้บรรยายข้อความต่อไปว่า ผ.รับปากว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในภายหลัง แต่แล้วก็หายหน้าไปเลย โดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ คำฟ้องดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้ ผ.จะรับเงินค่าที่ดินไปจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ผ.ก็ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ เพียงแต่ให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง คำฟ้องดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
ผ.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยได้รับเงินค่าที่ดินพิพาทแล้วและได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาแม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อมีการชำระหนี้กันแล้วก็มีผลใช้บังคับกันได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้ ผ.จะถึงแก่ความตายแล้วกว่า 30 ปี โจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ผ.ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 และมาตรา 193/27คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย-สิทธิยึดหน่วง-การบังคับทายาทให้โอนกรรมสิทธิ์-อายุความไม่ขาด
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องพิจารณาคำฟ้องตลอดทั้งเรื่องมิใช่ถือเอาข้อความในคำฟ้องตอนใดตอนหนึ่งมาวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายใจความว่าผ. เสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ตกลงซื้อในราคา3,000บาทได้ชำระราคาให้ผ. รับไปแล้วและผ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและโจทก์ได้บรรยายข้อความต่อไปว่าผ. รับปากว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในภายหลังแต่แล้วก็หายหน้าไปเลยโดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้คำฟ้องดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้ผ.จะรับเงินค่าที่ดินไปจากโจทก์ทั้งสองแล้วผ. ก็ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เพียงแต่ให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลังคำฟ้องดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง ผ.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริงโดยได้รับเงินค่าที่ดินพิพาทแล้วและได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาแม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือแต่เมื่อมีการชำระหนี้กันแล้วก็มีผลใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์แม้ผ.จะถึงแก่ความตายแล้วกว่า30ปีโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของผ. ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241และมาตรา193/27คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979-4982/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย+คำพิพากษาตามยอมผูกพันผู้จัดการมรดกและผู้รับพินัยกรรม ต้องโอนทรัพย์มรดกให้ตามสัญญา
แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่ล. เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ทั้งห้าก่อนที่ล. จะถึงแก่ความตายเป็นสัญญาจะซื้อจะขายมีเพียงบุคคลสิทธิโจทก์ทั้งห้ายังไม่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนที่จะมีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1ที่2กับจำเลยที่3ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้างถึงสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นที่โจทก์ทั้งห้าได้ฟ้องกองมรดกของล. โดยทายาทผู้รับมรดกและจ.ผู้จัดการมรดกคนเดิมของล. ให้โอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ทั้งห้าแม้ต่อมาจ. ถูกศาลชั้นต้นเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งให้จำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวก็ยังมีผลผูกพันถึงจำเลยที่1ที่2และจำเลยที่3ผู้ได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของล.เพราะจ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมกระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดกของล. จำเลยที่1และที่2ผู้จัดการมรดกคนใหม่จึงต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกับจ. ที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกของล. ให้แก่ทายาทหรือมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ที่เจ้ามรดกได้ก่อไว้ก่อนตายด้วยส่วนจำเลยที่3ผู้รับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของล. เป็นผู้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมจึงต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดที่เกี่ยวกับที่ดินที่รับโอนมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600,1601และ1651(2)จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องจัดการโอนที่ดินพิพาทตามที่ล.เจ้ามรดกทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ทั้งห้าและศาลได้พิพากษาให้โอนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แม้โจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2จัดการโอนที่ดินพิพาทด้วยแต่เจตนาการฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็เพื่อต้องการให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของล. โอนที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทมาตามพินัยกรรมแล้วจึงมีหน้าที่ต้องจัดการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าได้แม้จำเลยที่3จะเป็นวัดเพราะเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่3ปฏิบัติการชำระหนี้ของเจ้ามรดกที่ก่อไว้ก่อนตายมิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดที่ธรณีสงฆ์หรือศาสนสมบัติกลางอันจะต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา34
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การมอบอำนาจ, และผลของการผิดสัญญา
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ 3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม 30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้อง ส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข.แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับ เป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน หากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้
ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์ การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้
นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้ว ยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วย การที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข.โดยโจทก์ที่ 4 เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1 และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2 ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดิน หรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น" จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่า ในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆ ก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภาระจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้ว การที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้อง ส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข.แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับ เป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน หากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้
ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์ การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้
นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้ว ยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วย การที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข.โดยโจทก์ที่ 4 เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1 และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2 ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดิน หรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น" จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่า ในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆ ก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภาระจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้ว การที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: เจตนาซื้อฝ่ายเดียวยังไม่ผูกพันคู่สัญญา
ตามสัญญาข้อ 15 ระบุว่า ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายในราคาไร่ละ 1,200,000 บาท ภายในกำหนด 1 ปีนับจากวันโอน มีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาฉบับนี้ หากผู้จะซื้อไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวข้างต้น ผู้จะซื้อหรือผู้รับโอนยินยอมให้ผู้จะขายจดทะเบียนเป็นภารยทรัพย์เป็นทางกว้างอย่างน้อย 8 เมตร ตรงตามขนาดและสภาพของถนนที่เป็นอยู่เดิม โดยต้องจดทะเบียนภาระจำยอม ณ หอทะเบียนกรมที่ดินภายในกำหนด1 เดือน นับแต่ผู้จะซื้อปฏิเสธการซื้อที่ดินดังกล่าว หรือ 1 ปี นับจากวันที่ 18 เมษายน2532 และมีข้อความในวงเล็บว่า สำหรับที่ดินข้างเคียงที่ยังไม่มีการซื้อขายนี้ ปรากฏตามผังหมึกสีเขียวท้ายสัญญานี้ ดังนี้ ตามสัญญาข้อดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินข้างเคียงที่ดินจำนวน 8 โฉนดที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วในข้อ 1 ถึงข้อ 14 โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยยอมตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แต่อย่างใด คงมีแต่ข้อความว่าโจทก์ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายโดยมีเงื่อนไขว่าจะซื้อภายใน1 ปี นับจากวันโอนที่ดินจำนวน 8 โฉนด ที่จะซื้อจะขายกันโดยมีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายหมาย จ.1 ข้อความในสัญญาข้อ 15 จึงเป็นเพียงคำมั่นของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่แสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินจากจำเลยเท่านั้นต่อเมื่อจำเลยได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป และคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงโจทก์ผู้ให้คำมั่นแล้ว จึงจะมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงความจำนงจะทำการขายที่ดินให้โจทก์ สัญญาข้อ 15 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 จึงยังไม่เกิดผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: คำมั่นสัญญาฝ่ายเดียวไม่ผูกพันจนกว่าจำเลยแสดงเจตนาจะขาย
ตามสัญญาข้อ15ระบุว่าผู้จะซื้อ(โจทก์)สัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงของผู้จะขาย(จำเลย)ในราคาไร่ละ1,200,000บาทภายในกำหนดหนึ่งปีนับจากวันโอนโดยตามสัญญาข้ออื่นไม่มีความตอนใดระบุว่าจำเลยยอมตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ข้อความในสัญญาข้อ15จึงเป็นเพียงคำมั่นของโจทก์ฝ่ายเดียวที่แสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินของจำเลยเท่านั้นต่อเมื่อจำเลยได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไปและคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงโจทก์ผู้ให้คำมั่นแล้วจึงจะมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาได้เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้แสดงความจำนงจะขายที่ดินแก่โจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฎิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: คำมั่นซื้อฝ่ายเดียวยังไม่ผูกพันจนกว่าจำเลยแสดงเจตนาขาย
ตามสัญญาข้อ15ระบุว่าผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายในราคาไร่ละ1,200,000บาทภายในกำหนด1ปีนับจากวันโอนมีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาฉบับนี้หากผู้จะซื้อไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวข้างต้นผู้จะซื้อหรือผู้รับโอนยินยอมให้ผู้จะขายจดทะเบียนเป็นภารยทรัพย์เป็นทางกว้างอย่างน้อย8เมตรตรงตามขนาดและสภาพของถนนที่เป็นอยู่เดิมโดยต้องจดทะเบียนภารจำยอมณหอทะเบียนกรมที่ดินภายในกำหนด1เดือนนับแต่ผู้จะซื้อปฏิเสธการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือ1ปีนับจากวันที่1818เมษายน2532และมีข้อความในวงเล็บว่าสำหรับที่ดินข้างเคียงที่ยังไม่มีการซื้อขายนี้ปรากฏตามผังหมึกสีเขียวท้ายสัญญานี้ดังนี้ตามสัญญาข้อดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินข้างเคียงที่ดินจำนวน8โฉนดที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วในข้อ1ถึงข้อ14โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยยอมตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แต่อย่างใดคงมีแต่ข้อความว่าโจทก์ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายโดยมีเงื่อนไขว่าจะซื้อภายใน1ปีนับจากวันโอนที่ดินจำนวน8โฉนดที่จะซื้อจะขายกันโดยมีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายหมายจ.1ข้อความในสัญญาข้อ15จึงเป็นเพียงคำมั่นของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่แสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินจากจำเลยเท่านั้นต่อเมื่อจำเลยได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไปและคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงโจทก์ผู้ให้คำมั่นแล้วจึงจะมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงความจำนงจะทำการขายที่ดินให้โจทก์สัญญาข้อ15ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมายจ.1จึงยังไม่เกิดผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยขายที่ดินให้โจทก์ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คโดยที่สัญญายังไม่สมบูรณ์ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คก่อนเงื่อนไขไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย & การทำละเมิด: ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับสัญญาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและมีข้อสัญญาว่าจำเลยยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำสัญญา การที่โจทก์ไถหน้าดินของจำเลย ออกไปถมที่ดินของโจทก์เป็นการทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขายและการที่จำเลยยอมให้โจทก์เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม