คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า, ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างเหมาผลงาน การบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ
จำเลยจ้างโจทก์ว่าความ โจทก์ทำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไปยื่น ศาลนัดไต่สวนและยังไม่ได้รับประทับฟ้อง จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เป็นผลให้โจทก์ต้องหยุดดำเนินคดีให้จำเลย โจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์
ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากสัญญาจ้างเหมาและผลของการบอกเลิกสัญญา
ข้อสัญญาที่ให้สิ่งของและสัมภาระต่าง ๆ ของผู้รับจ้างซึ่งนำเข้าไปไว้ในบริเวณที่ก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา เพราะผู้รับจ้างผิดสัญญานั้น เป็นข้อสัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และข้อสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นอีก ถ้าหากในสัญญาระบุตัวทรัพย์สินไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นย่อมโอนไปทันที่ตามผลแห่งสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการนับหรือชั่งตวงวัดอีก
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 นั้น หมาย ถึงทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น มาตรา 251 นี้หาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 220 เป็นบทบัญญัติถึงรายละเอียดแห่งการมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 อีกต่อหนึ่งว่า การบังคับชำระหนี้ในฐานะมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 จะบังคับได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องวัดในสภาพนิติบุคคลจากสัญญาจ้างเหมา แม้จะไม่ได้ระบุผู้แทนชัดเจน วัดต้องรับผิดหากไม่โต้แย้ง
ในช่องคู่ความในฟ้องใส่ว่า วัดเป็นจำเลยที่ 1 ในคำบรรยายฟ้องมีความรวมๆ ว่าจำเลยจ้างเหมาโจทก์ โดยมิได้บรรยายว่าวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นได้ทำสัญญาว่าจ้างโดยใครเป็นผู้แทน คำฟ้องเช่นนี้ก็ถือว่า โจทก์ได้ฟ้องวัดในสภาพนิติบุคคลให้มีความรับผิดขอบตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ด้วย และวัดก็มิได้โต้แย้งว่าวัดมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ จึงไม่มีประเด็นว่าวัดไม่ต้องรับผิดเพราะมิได้เป็นคู่สัญญาแต่ประการใด
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่ทำไม่เสร็จตามกำหนด และการขยายเวลาสัญญา
ทำสัญญาจ้างทำถนนโดยกำหนดเวลาที่ต้องทำให้เสร็จไว้ถ้าทำช้ากว่ากำหนดให้ปรับวันละ 500 บาท หรือผู้จ้างจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ และมีข้อสัญญาไว้อีกข้อหนึ่งด้วยว่า ผู้ว่าจ้างจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้ โดยต้องบอกล่วงหน้า 15 วัน ครั้นผู้รับจ้างทำไม่เสร็จตามกำหนด ได้ขอขยายเวลาต่อไปและตกลงยอมเสียค่าปรับวันละ 700 บาท แทนอัตราวันละ 500 บาท หากทำไม่เสร็จตามกำหนดที่ขยายออกไป ผลที่สุดก็ทำไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ขยายให้ ดังนี้ หาทำให้สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาหมดไปไม่ และกรณีเช่นนี้ไม่ต้องบอกล่วงหน้า 15 วันเพราะกำหนดที่ต้องบอกล่วงหน้านั้นหมายถึงบอกเลิกในระหว่างอายุสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาว่าความ: ค่าจ้างต้องจ่ายเมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุด แม้วิธีการสิ้นสุดคดี
ข้อความในสัญญาจ้างว่าความตอนหนึ่งมีความชัดเจนว่า "ค่าจ้างทั้งสิ้นเป็นเงิน 9,000 บาท จ่ายเป็น 3 งวด ๆ ที่ 1 จ่าย 3,000 บาท หลังวันทำสัญญา 7 วัน งวดที่ 2 จ่ายในระหว่างคดี 3,000 บาท งวดที่ 3 อีก 3,000 บาท เมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดเป็นอันหมดเงินค่าจ้าง " ข้อความแห่งสัญญาดังกล่าวเป็นการจ้างเหมาทั้งหมด เมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยจนคดีเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว แม้จะถึงที่สุดโดยวิธีใดที่ศาลใดก็ตามจำเลยก็ต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มตามจำนวนที่กล่าวไว้ในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาว่าความ: ค่าจ้างต้องจ่ายเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ด้วยวิธีใดก็ตาม
ข้อความในสัญญาจ้างว่าความตอนหนึ่งมีความชัดเจนว่า"ค่าจ้างทั้งสิ้นเป็นเงิน 9,000 บาท จ่ายเป็น 3 งวดๆ ที่ 1 จ่าย 3,000 บาท หลังวันทำสัญญา 7 วัน งวดที่ 2 จ่ายในระหว่างคดี 3,000 บาท งวดที่ 3 อีก3,000 บาท เมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดเป็นอันหมดเงินค่าจ้าง" ข้อความแห่งสัญญาดังกล่าวเป็นการจ้างเหมาทั้งหมดเมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยจนคดีเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วแม้จะถึงที่สุดโดยวิธีใดที่ศาลใดก็ตามจำเลยก็ต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มตามจำนวนที่กล่าวไว้ในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจ้างเหมา: ตัวแทนจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเหมา สร้างสุขศาลาจากจำเลย ซึ่งเป็นสาธารณะสุขจังหวัด โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว แต่ตามคำบรรยายฟ้องและคำพยานโจทก์ได้ความชัดเจนว่าจำเลยทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำสุขศาลานั้นจำเลยเป็นแต่เพียงตัวแทนของกรมสาธารณะสุขเท่านั้น ดังนี้จำเลยจึงหาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวไม่ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: สัญญาจ้างเหมามีผลผูกพันกับตัวการ แม้จะอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทน
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนเชิดไว้ในมาตรา 821 ว่าบุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน จึงเป็นบทบัญญัติถึงความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการ บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจฟ้องตัวการให้รับผิดได้ แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจกล่าวอ้างว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้รับจ้างในสัญญาจ้างเหมาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของบริษัท จ. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาจ้างเหมากับโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6177/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการในคดีสัญญาจ้างเหมา: การไม่ละเลยประเด็นผิดสัญญาแม้ไม่ใช่ Turn-Key
คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างเหมาคดีนี้ไม่ใช่แบบ Turn - Key แต่เป็นสัญญา Design Built จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า แม้ไม่ใช่สัญญาจ้างเหมาแบบ Turn - Key ผู้ร้องกระทำผิดสัญญาหรือไม่ เพราะข้ออ้างหลักของคำเสนอข้อพิพาท คือ ผู้ร้องกระทำผิดสัญญา มิใช่ว่าเมื่อสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่ใช่สัญญาแบบ Turn - Key เสียแล้วจะต้องตัดประเด็นอื่น ๆ ไปเสียทั้งหมดซึ่งจะทำให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ตนก่อ อันจะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น และการที่คำเสนอข้อพิพาทอ้างว่าผู้ร้องทำงานล่าช้า ตอกเสาเข็มไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานวิชาช่าง แล้วขนย้ายคนงานและวัสดุออกไปจากสถานที่ก่อสร้าง อันเป็นการผิดสัญญา ก็หมายความว่าผู้ร้องละทิ้งงานนั่นเอง ดังนั้น ที่คณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดสัญญาเพราะละทิ้งงาน จึงอยู่ในประเด็นที่คณะอนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ ไม่เป็นการวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท
ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างเอกชนกับเอกชนสมัครใจตกลงกัน ข้อสัญญาไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และเมื่อฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากไม่ได้วินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ การยอมรับและการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
of 12