คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอมยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับบริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและหลักการบริวาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท และขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลย ไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวาร และทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลา ที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่า ไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนด เวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้อง และเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องหย่า ไม่ถือเป็นความสมัครใจแยกกันอยู่ เหตุฟ้องหย่าไม่สมบูรณ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรงโดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะ ไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่ โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์จำเลย ก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลย นับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ ก็ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะ แยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่ วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ ของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทเลินเล่อของธนาคารและผลกระทบต่อความรับผิดทางละเมิด สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบความรับผิดทางละเมิด
มูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดเกิดจาก การกระทำประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของ จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออกแต่เช็คฉบับดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บยังธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย โดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ แล้วจำเลยร่วมเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินตามเช็คไป ส่วนการที่จำเลยร่วม และ น. ได้ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงได้ดำเนินคดีกับจำเลยร่วมและ น. ฐานฉ้อโกงแล้วต่อมาโจทก์ จำเลยร่วม และ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้จำเลยร่วมและ น. ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาต่อไปนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของฝ่ายจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการละเมิดไม่ เพราะเป็น คนละเรื่องกันโดยแท้ ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่พ้น ความรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่กำหนด หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักเงินจากบัญชีฝากจึงเป็นการผิดสัญญา
โจทก์กับพวกเคยถูกจำเลยฟ้องและตกลงทำสัญญาประนีประนอม ยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์กับพวกยอมร่วมกันชำระเงินจำนวน 17,188,274.38 บาท ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในต้นเงิน 13,400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยโจทก์กับพวกจะชำระทั้งหมดภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัด ยอมให้จำเลยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของโจทก์กับพวกชำระหนี้จนครบศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและ คำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของ โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจาก ที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจะอ้างว่าเป็น การหักกลบลบหนี้มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้อง ปฏิบัติต่อกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทตามฟ้องชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์หนังสือแก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่ต่อมาโจทก์และจำเลยทำหนังสือผ่อนชำระหนี้กันโดยข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยจะขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ไปจนครบรวม 10 งวดโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ ส่วนที่นำหนี้อื่นมารวมผ่อนชำระด้วยก็เพียงเพื่อความสะดวกไม่ต้องทำหนังสือหลายฉบับ ทั้งมิได้มีการเพิ่มเติมลูกหนี้แต่อย่างใด เพราะโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว และตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น จำเลยจะต้องผ่อนชำระหนี้จนครบ 10 งวด โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ถ้าหากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายทันทีจึงเป็นเงื่อนไขในการ ที่โจทก์จะระงับคดีอาญาให้แก่จำเลย และตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองในทันที ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหากไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนและสละข้อเรียกร้องทั้งหมด
บันทึกข้อตกลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า วันนี้คู่กรณีทั้งสามฝ่ายได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันโดยฝ่าย ช.(จำเลยที่ 1) ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ม-3558 ภูเก็ต โดยรับซ่อมให้อยู่ ในสภาพใช้การได้ดีเหมือนเดิม และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์สี 14 นิ้วที่ได้รับความเสียหายครั้งนี้ และในวันที่ 31 มกราคม 2537 จะนำเงินมาชำระค่าซ่อมรถยนต์ตู้ล่วงหน้าก่อนจำนวน 30,000 บาทคู่กรณีทั้งสามฝ่ายสามารถตกลงกันได้ จึงได้มอบรถยนต์ให้ต่างฝ่ายต่างรับคืนไปถูกต้องแล้วแต่เวลานี้ ข้อความในบันทึกดังกล่าวแสดงเพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายและตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยรับซ่อมรถยนต์ตู้และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์เท่านั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระและวิธีการชำระตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยแจ้งชัดว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีเฉพาะตัวผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง โดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนี-ประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2นั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแยกความรับผิดชอบ การบังคับคดีเฉพาะผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้งโดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2 ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้นส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญา แต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับ ดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำกัดเฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชย ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัส
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน 424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่ 46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบ ชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ. 2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
of 68