พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีสัญญาเงินกู้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปแล้วไม่ชำระหนี้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ ลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมท้ายฟ้องไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย สัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คดีมีประเด็นเพียงว่า จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องหรือไม่การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว เป็นการนำสืบนอกประเด็นข้อพิพาท รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ - มูลหนี้ - การแปลงหนี้ - หลักประกัน - ความรับผิด
จำเลยยอมตกลงว่าจะใช้เงินที่โจทก์เสียไปคืนให้แก่โจทก์หากบุตรโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศตามที่จำเลยชักนำ โดยจำเลยยอมทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน เมื่อบริษัทจัดหางานไม่สามารถส่งบุตรโจทก์ไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยก็ต้องรับผิดใช้หนี้ให้โจทก์ตามที่ตกลงทำสัญญากู้ไว้ จะอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันหาได้ไม่ เพราะการกู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้ไม่จำต้องรับเงินไปจากผู้ให้กู้เสมอไป ผู้กู้อาจตกลงยอมรับเอาหนี้สินอย่างอื่นมาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกัน: อำนาจฟ้องจำเลยผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
แม้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปจากโจทก์จะเป็นเงินของภริยาโจทก์แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ผู้ให้กู้และจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์เจ้าหนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อหนี้ทุนและเบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้ องค์ประกอบการใช้สิทธิของเจ้าหนี้
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ.ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญา ต. ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ต.ได้ แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม้ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ.ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แต่ชอบคิดดอกเบี้ยตามวันปฏิทินเมื่อผิดนัด
กำหนดวันชำระคืนเงินกู้ไว้ตามวันปฏิทินการไม่ชำระหนี้เป็นผิดนัดคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ได้ตั้งแต่วันถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่: สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีและจำนอง - ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์และบังคับจำนอง โดยฟ้องกล่าวถึงจำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์และจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกิน บัญชีไว้กับโจทก์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2514 จำนวนเงินไม่เกิน 20,000 บาท กำหนดชำระภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญากำหนดส่งดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดยอมให้คิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นเข้ากับเงินที่เบิกเกินบัญชีโดยเสียดอกเบี้ยตามวิธีและอัตราดังกล่าวตามสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งในเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยโจทก์ร้อยละสิบสี่ต่อปี และบรรยายต่อไปว่าเมื่อจำเลยนำสัญญาจำนองและเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแก่โจทก์รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์คิดเพียงวันที่ 7 กันยายน 2520 เป็นเงิน 63,256.29 บาท ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนับแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2514 ตลอดมาจนถึงวันที่ 7 กันยายน 2520 โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละสิบสี่ต่อปี และคิดดอกเบี้ยที่ผิดนัดทบเข้ากับต้นเงินเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวม 63,256.29 บาท ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนที่ว่าจำเลยเบิกเงินจากโจทก์เมื่อไร จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยจากยอดต้นเงินเท่าใด คิดจากวันไหนถึงวันไหน นั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบ เมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์ไม่บรรยายข้อความดังกล่าวในคำฟ้องและไม่แสดงบัญชีเดินสะพัด ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องชัดเจน สัญญาเงินกู้และจำนองไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดบางส่วนต้องสืบเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์และบังคับจำนอง โดยฟ้องกล่าวถึงจำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ และจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2514 จำนวนเงินไม่เกิน 20,000 บาท กำหนดชำระภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญากำหนดส่งดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนด ยอมให้คิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นเข้ากับเงินที่เบิกเกินบัญชีโดยเสียดอกเบี้ยตามวิธีและอัตราดังกล่าวตามสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งในเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยโจทก์ร้อยละสิบสี่ต่อปี และบรรยายต่อไปว่าเมื่อจำเลยนำสัญญาจำนองและเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแก่โจทก์รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์คิดเพียงวันที่ 7 กันยายน 2520 เป็นเงิน 63,256.29 บาท ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนับแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2514 ตลอดมาจนถึงวันที่ 7 กันยายน 2520 โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละสิบสี่ต่อปี และคิดดอกเบี้ยที่ผิดนัดทบเข้ากับต้นเงินเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวม 63,256.29 บาท ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนที่ว่าจำเลยเบิกเงินจากโจทก์เมื่อไร จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยจากยอดต้นเงินเท่าใด คิดจากวันไหนถึงวันไหนนั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบ เมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน แม้โจทก์ไม่บรรยายข้อความดังกล่าวในคำฟ้องและไม่แสดงบัญชีเดินสะพัด ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้จากการประมูลแชร์: ความผูกพันและหลักฐานการใช้เงิน
โจทก์เป็นนายวงแชร์ จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นด้วยและเป็นผู้ประมูลได้ จำเลยจึงทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ระบุจำนวนเงินกู้เท่ากับเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องส่งเป็นรายเดือนต่อไปจนครบ โดยยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงกันให้หนี้ค่าแชร์ระหว่างกันผูกพันกันในรูปหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้โดยมีค่าแชร์กันจริง สัญญากู้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะกู้ยืม จำเลยจะพ้นความรับผิดต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่เกิดจากหนี้ค่าแชร์ การพิสูจน์การใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นนายวงแชร์ จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นด้วยและเป็นผู้ประมูลได้ จำเลยจึงทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ระบุจำนวนเงินกู้เท่ากับเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องส่งเป็นรายเดือนต่อไปจนครบ โดยยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงกันให้หนี้ค่าแชร์ระหว่างกันผูกพันกันในรูปหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้โดยมีหนี้ค่าแชร์กันจริงสัญญากู้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะกู้ยืม จำเลยจะพ้นความรับผิดต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้จากค่าสินสอด แม้ไม่จดทะเบียนสมรส ก็มีผลผูกพัน
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลย โดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว จำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้