พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาซื้อขายที่ดิน: การอนุมัติจากผู้จัดการมรดกทั้งหมดเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ร่วมกันมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินมัดจำให้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะผู้จัดการมรดกของ ว.ทั้ง 5 คน อนุมัติหรือให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนับแต่วันที่ผู้ขายแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมรายนี้แก่ผู้ซื้อ ดังนี้เป็นการตกลงให้สัญญามีผลบังคับต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวเป็นผลสำเร็จอันเป็นสาระสำคัญในการก่อให้เกิดความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดที่ขาดสาระสำคัญแห่งคดี และผลของการประนีประนอมยอมความที่ทำให้มูลละเมิดระงับ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรชายและเป็นลูกจ้างผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ขับชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิด แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ผู้แทนเจ้าของรถยนต์บรรทุกยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของโจทก์ พนักงานสอบสวนได้บันทึกข้อตกลง และให้โจทก์จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นผลทำให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 425, 850, 852 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้
หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ผู้แทนเจ้าของรถยนต์บรรทุกยินดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของโจทก์ พนักงานสอบสวนได้บันทึกข้อตกลง และให้โจทก์จำเลยทั้งสองลงชื่อไว้ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นผลทำให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 425, 850, 852 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์ ศาลสามารถลงโทษได้หากไม่ต่างกันในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาวิ่งราวทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ก็ตามแต่ การวิ่งราวทรัพย์หรือยักยอก ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริตเช่นเดียวกัน คงแตกต่าง กันแต่ เพียงเอาทรัพย์ไปโดยวิธีการฉกฉวย เอาซึ่งหน้า หรือด้วยวิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีอ้างฐาน ที่อยู่จำเลยจึงมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนซื้อขายภายในเวลาที่กำหนด โดยมีกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องการขายที่ดินโดยเร็วเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนอง ได้ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินดังกล่าว ต่อมา ม. เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ แม้โจทก์เป็นผู้ติดต่อ ม. มาซื้อที่ดินจากจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญานายหน้ามีข้อความระบุว่า "มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันทำสัญญานี้... ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" อันมีความหมายว่า เมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์จำต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย เป็นกรณีที่คู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ผ่อนเวลาออกไปอีก และเมื่อครบกำหนด 10 วันตามสัญญาแล้ว โจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ จึงถือว่าสัญญานายหน้าสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา นายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นอันสิ้นสุด
จำเลยตกลง ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "...มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้...ถ้า พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" ดังนี้เห็นได้ ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้อง จด ทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่ อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อ ที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่ เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตาม สัญญาโจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือ ว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายในเวลาที่กำหนด ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียนณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง"ดังนี้เห็นได้ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้องจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตามสัญญา โจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ ผู้ซื้อไม่พร้อมรับมอบ ถือผิดสัญญา ผู้ขายริบเงินมัดจำได้
สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้า และติดสวิตช์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถือกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และมีสิทธิริบเงินมัดจำตามมาตรา 378(2).(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดินมีสาระสำคัญเรื่องสาธารณูปโภค หากจำเลยไม่จัดให้ถือเป็นผิดสัญญา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชัดว่า คู่สัญญาตกลงเช่าซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีน้ำ ไฟฟ้า ถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำพร้อม ในราคาตารางวาละ 1,100 บาท ราคาที่ดินซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคดังกล่าวตารางวาละประมาณ 400-500 บาทเท่านั้น แสดงว่าที่ตกลงเช่าซื้อกันเกินเลยไปกว่าราคาแท้จริงตารางวาละ 600-700 บาทก็เพราะคู่สัญญาถือเอาการสาธารณูปโภคดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาที่จำเลยจะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จทันโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยยังไม่ดำเนินการในเรื่องสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ถือเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ, เลิกสัญญาโดยปริยาย, ค่าใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน หรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าซื้อทราบล่วงหน้า แต่การที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันแล้ว โจทก์ยังยอมรับชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยมิได้ทักท้วง ย่อมแสดงว่า ในทางปฏิบัติโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญต่อไป เมื่อจำเลยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาในสัญญา จะถือว่าจำเลยผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อยกเลิกเพิกถอนไปไม่ได้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน
การที่โจทก์ยึดรถคันเช่าซื้อคืนเพราะเหตุที่จำเลยไม่ชำรค่าเช่าซื้องวดต่อมา และจำเลยยินยอมให้ยึดโดยไม่ได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคันเช่าซื้อคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่โจทก์ยึดรถคันเช่าซื้อคืนเพราะเหตุที่จำเลยไม่ชำรค่าเช่าซื้องวดต่อมา และจำเลยยินยอมให้ยึดโดยไม่ได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคันเช่าซื้อคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกเติมข้อความในพินัยกรรมแบบธรรมดาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งนี้ตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว เมื่อการตกเติมข้อความในพินัยกรรมไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลให้ข้อความที่ตกเติมเท่านั้นไม่สมบูรณ์ส่วนข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะไม่ว่าข้อความที่ตกเติมจะเป็นข้อสาระสำคัญหรือไม่ก็มีผลเหมือนกัน