คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่ผู้ตายนับถือ
จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดการทำศพโดยทำพิธีศพของผู้ตายตามแบบพิธีที่ผู้ตายนับถือซึ่งถูกต้องสมควรแก่จารีตประเพณีท้องถิ่น นับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือ จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพของผู้มีส่วนได้เสียทางศาสนา: กรณีผู้ตายเปลี่ยนศาสนาและมีพิธีศพตามหลักศาสนาใหม่
ผู้ตายได้อยู่กินเป็นภริยาจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 กว่าปี และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับแต่นั้น จนถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2540 ขณะมีอายุ 65 ปี จำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีศพของผู้ตายตามประเพณีที่ผู้ตายนับถือ แม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี นับได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุดอันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศพผู้ตายได้มีการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลาม จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่เปลี่ยนไปได้
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 นับได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือจึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งแทนการชำระค่าธรรมเนียมศาล และการกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมหลังคำสั่งศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่กำหนด แต่จำเลยได้เลือกใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในระหว่างเวลาที่จำเลยยังสามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระตามคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ แม้การยื่นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจะพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าก็ตาม กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์แทนการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยและปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วในระหว่างนั้น เมื่อคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาล กรณีเช่นนี้ นับได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้กำหนดเวลาเพื่อให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการเพิกถอนคำขอจดทะเบียน
แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า DAI แต่โจทก์ก็ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย จำเลยเคยติดต่อค้าขายกับโจทก์จึงทราบดีว่า คำว่า DAI เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยกลับลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนำไปขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยเอง การที่จำเลยมายื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DAi ของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า DAi ดีกว่าจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า DAi กับห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี การกันที่ดินส่วนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ก่อนขายทอดตลาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนจะมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังเวนคืนและการเช่า กรณีที่ดินส่วนหนึ่งถูกเวนคืนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการรื้อถอน
เดิมที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5906 พร้อมตึกแถวสองชั้นรวม 12 คูหา เป็นกรรมสิทธิของ จ. เมื่อปี 2475 กรุงเทพมหานครได้เวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าว เป็นเหตุให้ที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 5906 พร้อมตึกแถวสองชั้นห้องเลขที่ 185 บางส่วน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวถูกเวนคืนไปอยู่ในแนวเขตของถนนแก้วซึ่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร แต่กรุงเทพมหานครก็มิได้ให้ผู้ถูกเวนคืนดำเนินการรื้อถอนตึกแถวสองชั้นเลขที่ 185 ในส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่ถูกเวนคืน และส่งมอบการครอบครองที่ดินในส่วนที่ถูกเวนคืนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 5906 พร้อมตึกแถวสองชั้นรวม 12 คูหา จาก น. ผู้รับมรดกของ จ. โจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนและกรรมสิทธิ์ในตึกแถวสองชั้นรวม 11 คูหา กับตึกแถวสองชั้นเลขที่ 185 ที่จำเลยทั้งสองเช่าจาก น. ด้วย การที่กรุงเทพมหานครยังมิได้ดำเนินการฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนตึกแถวสองชั้นเลขที่ 185 ที่ปลูกสร้างบนที่ดินในส่วนที่ถูกเวนคืนซึ่งล้ำไปอยู่ในแนวเขตของถนนแก้วอันเป็นถนนสาธารณะ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิการเช่าจาก น. ผู้ให้เช่าเดิมและได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินทำประโยชน์ สิทธิครอบครองย่อมเกิดขึ้นก่อนสิทธิปฏิรูปที่ดิน การจัดให้ผู้ไม่สิทธิครอบครองเข้าทำประโยชน์จึงไม่ชอบ
ป. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1778 การที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์จัดให้ ป. ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงขัดต่อหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์ข้อ 1 ข. (1) เพราะขณะโจทก์จัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์นั้นเป็นการกระทำภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันออกประกาศอันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป. ได้มอบการครอบครองให้จำเลยไปแล้ว ป. จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดิน การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดย ป. สละการครอบครองให้ มิได้ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และข้อต่อสู้หนี้ที่นำมาหักกลบลบไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้มีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง เนื่องจากยังไม่ได้เป็นคู่ความ
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่าก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป เป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
of 424