พบผลลัพธ์ทั้งหมด 169 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนสิทธิการเช่าและการนำสืบพยานนอกฟ้อง ศาลฎีกาพิจารณาจากเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โจทก์ให้จำเลยทำการค้าในตึกนี้ ต่อมาจำเลยได้ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้จำเลยแล้วนำไปยื่นคำขอต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โอนสิทธิการเช่าเป็นของจำเลย แล้วจำเลยยื่นคำขอโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้มีชื่อ ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอดังกล่าว ฟ้องของโจทก์เช่นนี้แปลความได้ว่า โจทก์ไม่มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยดังที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจนั้น จำเลยให้การโต้แย้งว่า โจทก์มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกเป็นของจำเลยหรือไม่ ดังนี้ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะนำสืบว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยสำคัญผิด ก็เป็นการสืบแสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยตามฟ้องหาใช่นำสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนสิทธิการเช่าที่โจทก์มีอยู่จากจำเลยผู้อาศัย แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยถอนคำขอที่จำเลยขอโอนสิทธิการเช่าแก่ผู้อื่น. ก็มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาบังคับแก่คดีไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า คำฟ้องต้องมีคำขอบังคับ แต่มิได้บัญญัติถึงขนาดว่าคำขอบังคับจะต้องให้ปรากฏไว้เฉพาะในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น คดีนี้โจทก์มีคำขอไว้ในคำฟ้องชัดแจ้งว่าขอให้ศาลพิพากษาให้สิทธิการเช่ากลับคืนมาเป็นของโจทก์ ถือได้ว่ามีคำขอบังคับในข้อนี้ไว้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนสิทธิการเช่าที่โจทก์มีอยู่จากจำเลยผู้อาศัย แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยถอนคำขอที่จำเลยขอโอนสิทธิการเช่าแก่ผู้อื่น. ก็มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาบังคับแก่คดีไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า คำฟ้องต้องมีคำขอบังคับ แต่มิได้บัญญัติถึงขนาดว่าคำขอบังคับจะต้องให้ปรากฏไว้เฉพาะในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น คดีนี้โจทก์มีคำขอไว้ในคำฟ้องชัดแจ้งว่าขอให้ศาลพิพากษาให้สิทธิการเช่ากลับคืนมาเป็นของโจทก์ ถือได้ว่ามีคำขอบังคับในข้อนี้ไว้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงและการฟ้องแย้ง สิทธิการเช่าช่วงเป็นของจำเลยหากจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าทั้งหมด การฟ้องแย้งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเช่าช่วงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถว และให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าที่อยู่ในตึกแถวนั้นจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าเช่าช่วงตึกแถวนั้น และฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าช่วง สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถว หากจำเลยนำสืบได้ว่า จำเลยเป็นผู้ออกค่าเช่าช่วงตึกแถวพิพาททั้งหมดสิทธิในการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทย่อมตกเป็นของจำเลยโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยจากตึกแถวพิพาท แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทกับบริษัท ก. นั้น เป็นคำฟ้องแย้งที่มีคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยต้องฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าโอนสิทธิการเช่า จำเลยไม่ใช่ตัวแทนโจทก์ เป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ของการเคหะแห่งชาติ และตกลงให้จำเลยจัดหาคนมารับโอนสิทธิการเช่าในราคา 150,000 บาท ถ้าจำเลยจัดหาคนรับโอนสิทธิการเช่าได้ราคาเกินกว่านั้น เงินส่วนที่เกินเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยจัดหาผู้รับโอนสิทธิการเช่าได้ในราคา 195,000 บาท แต่จำเลยส่งมอบเงินให้โจทก์เพียง 80,000 บาท ส่วนที่เหลือ 70,000 บาท จำเลยเอาไว้เป็นของตนเสีย การที่จำเลยโอนสิทธิการเช่าและรับเงินจากผู้รับโอนสิทธิการเช่าไว้ จึงเป็นการรับเงินจากบุคคลที่สาม ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาที่จะต้องชดใช้เงินแก่โจทก์ 150,000 บาทเท่านั้น มิใช่จำเลยได้รับมอบหมายหรือครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าจากบุคคลที่สาม ไม่ถือเป็นการรับเงินแทนโจทก์ เป็นเพียงการผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ของการเคหะแห่งชาติ และตกลงให้จำเลยจัดหาคนมารับโอนสิทธิการเช่าในราคา 150,000 บาท ถ้าจำเลยจัดหาคนรับสิทธิการเช่าได้ราคาเกินกว่านั้น เงินส่วนที่เกินเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยจัดหาผู้รับโอนสิทธิการเช่าได้ในราคา195,000 บาท แต่จำเลยส่งมอบเงินให้โจทก์เพียง 80,000บาทส่วนที่เหลือ 70,000 บาท จำเลยเอาไว้เป็นของตนเสีย การที่จำเลยโอนสิทธิการเช่าและรับเงินจากผู้รับโอนไว้ จึงเป็นการรับเงินจากบุคคลที่สาม ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาที่จะต้องชดใช้เงินแก่โจทก์ 150,000 บาทเท่านั้นมิใช่จำเลยได้รับมอบหมายหรือครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการเช่าช่วง สัญญาเป็นโมฆะ สิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ผู้เช่าห้องให้โจทก์เช่าช่วง โดยทำนิติกรรมหุ้นส่วนอำพรางการเช่าช่วงผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าเพราะผิดสัญญาผู้เช่ายอมออกจากห้อง. โจทก์ถูกบังคับให้ออกจากห้องเช่าด้วย ไม่เป็นการละเมิด ไม่ผิดกฎหมายโจทก์ไม่มีเอกสารเป็นหลักฐานการเช่า จึงอยู่ในห้องเช่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46-48/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ต้องผูกพันสิทธิการเช่าตลอดชีวิต
จำเลยทั้งสามต่างเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า ต่อมาโจทก์ได้ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวจากเจ้าของเดิม และได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วเช่นนี้ แม้ ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่จำเลยอ้างว่า เจ้าของที่ดินเดิมตกลงให้จำเลยทั้งสามเช่าที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดชีวิตของจำเลย จำเลยก็ไม่อาจยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะการเช่าที่พิพาทไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ที่ว่าผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนนั้น ก็ใช้บังคับเฉพาะการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำถูกต้องตามมาตรา 538เท่านั้น ข้อตกลงที่เจ้าของเดิมให้จำเลยทั้งสามเช่าตลอดชีวิตจึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยไม่อาจยกหรืออ้างสิทธิตามมาตรา 569 มาต่อสู้โจทก์ได้เช่นกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าโอนได้หากมีข้อตกลงในสัญญา แม้กฎหมายจำกัดสิทธิการโอน
กฎหมายมิได้ห้ามเด็ดขาดเสียทีเดียวว่าผู้เช่าจะโอนสิทธิการเช่าของตนมิได้ โดยได้มีบัญญัติยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544 ตอนท้ายว่า หากได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้ ก็ย่อมโอนกันได้ตามข้อตกลงนั้น และสิทธิการเช่าดังกล่าวก็มิใช่เป็นสิทธิเฉพาะ ตัวของผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน5 คน ทุกคน อยู่ในห้องเช่าพิพาทโดยน้องชายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมแบ่งให้อาศัยทำมาค้าขาย ต่อมาน้องชายจำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์จำเลย แต่จำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ โจทก์จำเลยได้สิทธิการเช่ามาในฐานะเจ้าของร่วมกัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338-339/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าของนิติบุคคล แม้หยุดประกอบกิจการ แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกห้าง ยังมีอำนาจฟ้องร้องได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เช่าตึกพิพาททำการค้าโจทก์อยู่ในตึกในฐานะบุคคลธรรมดาดูแลรักษาทรัพย์สินแทนห้าง เป็นบริวารของห้างแม้นานกว่า 10 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเป็นสัญญาเช่าขึ้นได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ทำการค้ามากว่า 10 ปี แต่ไม่ได้ชำระบัญชีจดทะเบียนเลิกห้างยังมีสภาพนิติบุคคลและฟ้องขับไล่ผู้โต้แย้งสิทธิการเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิร่วมกับผู้เช่าเดิม การแบ่งสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์
จ.และจำเลยมีสิทธิการเช่าห้องพิพาทร่วมกัน เมื่อ จ.ตาย สัญญาเช่าของ จ.ย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท (คือโจทก์) ที่จะมีสิทธิการเช่าร่วมกับจำเลย แต่ที่โจทก์จะให้นำสิทธิการเช่าดังกล่าวไปโอนให้บุคคลอื่นหรือขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาแบ่งกันระหว่างจำเลย กับทายาทของ จ. นั้น ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลนอกคดีต้องยินยอมด้วย กรณีไม่อาจบังคับตามคำขอได้
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาทแก่โจทก์
เมื่อสิทธิการเช่ามีราคา 95,000 บาท โจทก์ขอแบ่งสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ 12 ปี สิทธิการเช่าจึงมีราคา 76,000 บาท โจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 38,000 บาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 38,000 บาทแก่โจทก์