คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างพนักงานเกษียณอายุ: จ่ายตามจำนวนวันที่ทำงานจริง ไม่ใช่ทั้งเดือน
โจทก์เกษียณอายุในวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ย่อมพ้นสภาพความเป็นลูกจ้างของจำเลยนับแต่วันดังกล่าว จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันนั้นให้แก่โจทก์อีกต่อไปทั้งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างทั้งเดือนให้แก่พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเพียง 18วัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาทำงานเกิน
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่เฝ้าหรือดูแล สถานที่หรือทรัพย์สิน กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 36(6) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างธรรมดาให้แก่โจทก์สำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างต่างชาติภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีข้อตกลงจ้างงานพิเศษ ก็ไม่อาจละเลยสิทธิขั้นพื้นฐาน
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า "นายจ้าง ลูกจ้างลูกจ้างประจำ" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาว ต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะ อยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาคลอดและค่าจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
การที่โจทก์คลอดบุตรระหว่างที่จำเลยปิดงานอันเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22วรรคสามนั้น ถึงแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตรในช่วงเวลาดังกล่าว โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลยเพราะจำเลยปิดงานซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานชั่วคราวตามมาตรา 5 วรรคหกแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในเมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยในระหว่างนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ เพราะการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นการที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงเวลาที่จำเลยปิดงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างช่วงปิดงานและลาคลอด: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานและลูกจ้างไม่ได้ยื่นใบลาคลอด
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยมาแล้วเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยกับลูกจ้างตกลงกันได้ จึงเปิดงานและเริ่มรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน โจทก์คลอดบุตรเมื่อวันที่29 เมษายน 2528 และจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2528 โดยโจทก์มิได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบของจำเลยดังนี้ การปิดงานของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 22 วรรคสาม กรณีที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงแรกระหว่างจำเลยปิดงานนั้นแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตร โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลยในระยะเวลาช่วงแรกดังกล่าว ส่วนในช่วงที่สองนับแต่วันที่จำเลยเปิดงานจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบเกี่ยวกับการลาคลอดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีวันลาคลอดอันพึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 18 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิการได้รับค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ยตามคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาป่วย กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างหลังเกษียณอายุและสิทธิการบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ระเบียบของจำเลยกำหนดไว้ว่าลูกจ้างทุกคนจะครบเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อลูกจ้างหลายคน อายุครบ 55 ปีแล้ว จำเลยยังคงจ้างให้ทำงานต่อไป จึงถือว่าเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด การที่จำเลยเพิ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงชื่อรับทราบในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2529 ว่าจะให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีออกจากงานทั้งหมด และให้ออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2529 ในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2529 การเลิกจ้างมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ในวันที่ 15 มีนาคม 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุที่ยังคงจ้างงานต่อ และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ระเบียบของจำเลยกำหนดไว้ว่าลูกจ้างทุกคนจะครบเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อลูกจ้างหลายคน อายุครบ 55 ปีแล้ว จำเลยยังคงจ้างให้ทำงานต่อไปจึงถือว่า เป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด การที่จำเลยเพิ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงชื่อรับทราบในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2529 ว่าจะให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีออกจากงานทั้งหมด และให้ออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2529 ในวันรุ่งขึ้นนั้นเองจึงเป็น การบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2529 การเลิกจ้าง มีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ในวันที่ 15 มีนาคม 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่างประเทศและขอบเขตสิทธิ: ลูกจ้างโพ้นทะเลไม่สามารถเรียกร้องสิทธิจากคู่มือพนักงานไทยได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษ โดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้
of 17