คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลในชั้นพิจารณาทำให้สิทธิอุทธรณ์ระงับ และประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนแล้ว แถลงหมดพยานศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงงดสืบพยานโจทก์ และนัดฟังคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นคำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ทนายจำเลยรับทราบ คำสั่งในวันนั้น และยังมีโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ก่อนฟังคำพิพากษา แต่ก็มิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (2)
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการมิชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้เถียงว่าจำเลยเช่าที่พิพาทจากโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยเช่าที่พิพาทจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่โต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ในศาลอุทธรณ์เช่นเดียวกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม มาตรา 228 (3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานเสร็จ ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องโต้แย้งทันที หากไม่โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์/ฎีกาจะขาดเสีย
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จและอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวในวันที่3 พฤศจิกายน 2524 และอ่านคำพิพากษาในวันที่ 18 เดือนเดียวกัน โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งแล้วมิได้โต้แย้ง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ เจ้าพนักงานประเมินต้องออกหมายเรียก หรือสั่งให้นำหลักฐานมาแสดงก่อน จึงจะประเมินได้ ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุ อันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตาม ความจริง หรือไม่บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง มาแสดงการใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมิน จะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมา เจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123 แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521 เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้ว มี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข. ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12 พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้น ต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523 หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523 ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบ เจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน 2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความ: นายทะเบียนถูกศาลรับเรื่องแม้ไม่ยื่นคัดค้านทันเวลา มีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้ศาลจะไม่รับคำคัดค้านของพันตรี พ. ในฐานะนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอเมืองนครพนม เพราะมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นคำคัดค้านภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ถือได้ว่าพันตรี พ. ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีของผู้ร้องโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) จึงเป็นคู่ความในคดี มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล แม้มิได้โต้แย้งก่อน หากไม่มีเวลาพอสมควรในการโต้แย้ง
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยมอบฉันทะให้เสมียนทนายไปยื่นคำร้องแทน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วนัดฟังคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้น เห็นได้ว่าโจทก์ย่อมไม่มีเวลาเพียงพอจะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยหากคำสั่งไม่ถึงที่สุด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: คำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์สละสิ้น
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย นัดฟังคำพิพากษา 10 วันต่อมา จำเลยไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณานี้ จึงอุทธรณ์ขอสืบพยานต่อไปไม่ได้
of 18