พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดและการเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่สมบูรณ์มีผลต่อสิทธิของโจทก์ร่วม
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิของโจทก์แม้จะยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม
เมื่อลูกจ้างของจำเลยยอมให้ผู้ตายโดยสารไปในรถ. จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างจำเลยกระทำไปตามทางการที่จ้าง. จำเลยจะอ้างว่าผู้ตายไม่ได้เสียค่าโดยสาร. ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะขนส่ง. หาได้ไม่.
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา. รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1535. ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ.ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์. เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา. รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1535. ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ.ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์. เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานจำเลยหลังฝ่ายโจทก์สืบพยาน และสิทธิในการนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมของโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ถ้าศาลยอมรับฟังพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่สืบภายหลัง โดยที่จำเลยไม่ได้ถามค้านโจทก์ไว้ขณะโจทก์เบิกความคู่ความที่ได้นำพยานสืบก่อนจะเรียกพยานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ ถ้าโจทก์เพียงแต่ยื่นคำแถลงคัดค้านว่าคำสั่งศาลคลาดเคลื่อนด้วยกฎหมายขอโต้แย้งไว้ให้ศาลสูงวินิจฉัย โจทก์ไม่ได้ขอให้เรียกพยานที่เกี่ยวข้องของโจทก์มาสืบตามสิทธิที่มีอยู่ ดังนี้ จะว่าศาลไม่อนุญาตให้โจทก์นำพยานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์ โจทก์เอาสัญญากู้ซึ่งไม่มีข้อความอื่น นอกจากจำเลยเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ให้ ป. มากรอกข้อความแล้วเอามาฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยสู้ว่าสัญญากู้นั้นปลอมโจทก์จึงต้องนำสืบก่อน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์ โจทก์เอาสัญญากู้ซึ่งไม่มีข้อความอื่น นอกจากจำเลยเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ให้ ป. มากรอกข้อความแล้วเอามาฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยสู้ว่าสัญญากู้นั้นปลอมโจทก์จึงต้องนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้: สิทธิโจทก์บังคับคดีจำนองได้ก่อน แม้จำเลยที่ 1 ยังไม่ถูกบังคับคดี
การบังคับคดีต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ด้วยทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์ และโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับจำนองกับจำเลยที่ 2 ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ก็ให้จำเลยที่ 2 ไถ่จำนองเต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ และหากบังคับจำนองขายทรัพย์ที่จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 ขายใช้หนี้ได้จนครบ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องไถ่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อปัดป้องมิให้ตนต้องถูกบังคับจำนอง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ไถ่จำนอง ก็ต้องถูกบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดได้ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689,690 ว่าด้วยค้ำประกันมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วบทบัญญัติในลักษณะจำนองดังกล่าวแล้วก็จะไร้ผลและผิดหลักการจำนองเป็นประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิโจทก์ในการเรียกค่าเสียหาย และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควร
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ถ้าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถและเลิกสัญญาได้ เงินที่ส่งชำระมาแล้วยอมให้โจทก์ริบ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่จะชำระให้จนครบ ส่วนค่าเสียหายจำเลยยอมรับผิดชอบ รถที่คืนจำเลยยินยอมให้โจทก์จำหน่ายหากได้ราคาไม่ครบถ้วน จำเลยต้องชดใช้เงินที่ขาด ความตอนท้ายที่เกี่ยวกับการให้จำหน่ายรถนั้น เป็นวิธีการกำหนดและชดใช้ค่าเสียหายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อจำหน่ายรถ จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน แม้ยังไม่จำหน่ายรถ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งจำเลยต้องรับผิดอยู่แล้ว โดยพิสูจน์ได้จากพยานหลักฐาน
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้ จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไป โจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้ คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น
หากรถที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจากการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น เป็นข้อสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้า แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้ ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้องเพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว (ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511)
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้ จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไป โจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้ คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น
หากรถที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจากการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น เป็นข้อสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้า แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้ ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้องเพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว (ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จำนองโดยไม่ต้องบังคับคดีกับผู้กู้ก่อน
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ผู้จำนองค้ำประกันเงินกู้นั้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินโจทก์ ถ้าผิดสัญญาประนีประนอมนั้น ยอมให้โจทก์ยึดที่ดินที่จำนองค้ำประกันขายทอดตลาดได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดโจทก์ย่อมยึดที่ดินนั้นขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิของโจทก์เหนือเจ้าหนี้รายอื่น
ศาลพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนและให้จำเลยให้เงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์ จำเลยได้นำเงินมาวางศาลแล้วตามคำบังคับเพื่อชำระแก่โจทก์ ดังนี้ เจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาในคดีอื่นจะมายื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยหนี้ในเงินจำนวนนี้ ไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่จำเลยนำมาชำระเองเพื่อชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาให้พ้นจากความริบผิดชอบในหนี้จำนวนนี้ระงับสิ้นไป มิได้สงวนสิทธิหรือโต้แย้งการจะจ่ายไว้ประการใด และโจทก์ก็ได้ถือสิทธิขอรับเงินจำนวนนี้จากศาล ต้องถือว่า เป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: ศาลต้องพิจารณาหนี้สมยอมเพื่อคุ้มครองสิทธิโจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยไว้เพื่อขายชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งและว่า จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกแล้วเช่นนี้ แม้โจทก์จะยอมรับว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกและยอมรับว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาในคดีที่ผู้ร้องอ้างจริงก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคัดค้านอยู่ว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องอ้างมาขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นเป็นหนี้ที่เกิดจากการสมยอมกันระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ดังนี้ศาลไม่ชอบที่จะสั่งงดไต่สวนและอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้เลย เพราะคำพิพากษาในคดีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยนั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ซึ่งมิได้เป็นคู่ความด้วยในคดีนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องอ้างมาขอเฉลี่ยนั้น เป็นหนี้ที่ไม่ชอบไม่ควรอย่างใดก็ย่อมได้เพื่อศาลจะได้ไม่ยอมให้ผู้ร้องเฉลี่ย ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาไต่สวนคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องกับคำคัดค้านของโจทก์ แล้ววินิจฉัยสั่งไปตามประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลที่ถูกสั่งให้เป็นพับในชั้นศาลชั้นต้น ถือเป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับคืน แม้มีการพิพากษาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ค่าธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับไปทั้งสองฝ่ายและศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขเรื่องค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นสั่งแต่ประการใดดังนี้ค่าธรรมเนียมที่โจทก์เสียไปในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นก็ต้องพับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่ย่อมมีก่อนกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้เขตเทศบาลเปลี่ยนแปลง
แม้จะได้ความว่าเมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเป็นเหตุให้ที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์เข้าอยู่ในเขตเทศบาลก็ตาม ก็ไม่บังเกิดผลให้จำเลยได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เพราะสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยได้เกิดขึ้นก่อนวันประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และโจทก์ได้ใช้สิทธินั้นฟ้องจำเลยแล้ว