คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินบริคณห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกสินบริคณห์: การยินยอมของภริยาผู้มีส่วนรับพินัยกรรมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิคัดค้าน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 ที่บัญญัติว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนนั้นถ้าปรากฏว่า ภริยาหรือสามีรู้เห็นยินยอมในการที่อีกฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดทั้งตนเองก็เป็นผู้มีส่วนรับพินัยกรรมมากกว่าคนอื่นและได้รับผลแห่งพินัยกรรมมาหลายปีแล้วดังนี้ ผู้รับพินัยกรรมคนอื่นย่อมจะไม่มีสิทธิมาคัดค้านในข้อที่ว่าสามีหรือภริยาทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยภริยาในกรณีสามีหายสาบสูญและไม่แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
สามีภริยาอยู่กินด้วยกัน เกิดบุตรหลายคน สามีได้ไปเมืองเมกกะตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามเอเชียบูรพา คือราว 10 ปีมาแล้ว ไม่ได้กลับมาเลย และไม่ปรากฎว่าได้ส่งข่าวคราวถึงภริยาเลย ดังนี้ หากภริยาไปกู้เงินผู้อื่นเขามาใช้จ่ายก็ย่อมจะถือได้ว่าขณะที่ภริยากู้เงินเขานี้ เป็นการไม่แน่นอนว่าสามียังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว กรณีต้องต้องด้วย ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 39(1) ภริยาย่อมทำการอันผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้โดยมิต้องได้รับอนุญาตจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกันอยู่และละทิ้งกันโดยไม่ให้ความอุปการะ ทำให้ภริยามีสิทธิจัดการสินบริคณห์ได้
สามีภริยาแยกกันอยู่ประมาณ 8 ปี เนื่องจากเกิดทะเลาะกันต่างไม่พอใจอยู่รวมกัน ภริยาจึงแยกไปอยู่ที่อื่น อันเป็นความพอใจของสามี ส่วนสามีคงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม ตลอดเวลาที่แยกกันอยู่สามีไม่ได้ให้ความอุปการะส่งเสียเงินทองเลี้ยงดูภริยาอย่างใดเลยดังนี้ ถือได้ว่าสามีได้สละละทิ้งภริยาตาม ป.พ.พ.ม.39(2) แล้ว ภริยาจึงย่อมทำการผูกพันส่วนของตนในสินบริคนห์ได้โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกันอยู่และการสละละทิ้งภริยา ทำให้ภริยามีสิทธิจำหน่ายสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
สามีภริยาแยกกันอยู่ประมาณ 8 ปี เนื่องจากเกิดทะเลาะกันต่างไม่พอใจอยู่รวมกัน ภริยาจึงแยกไปอยู่ที่อื่น อันเป็นความพอใจของสามี ส่วนสามีคงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม ตลอดเวลาที่แยกกันอยู่สามีไม่ได้ให้ความอุปการะส่งเสียเงินทองเลี้ยงดูภริยาอย่างใดเลย ดังนี้ ถือได้ว่าสามีได้สละละทิ้งภริยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 39(2) แล้ว ภริยาจึงย่อมทำการผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกสินบริคณห์ให้บุตรต้องมียินยอมจากสามี หากศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาข้อกฎหมายใหม่
ภรรยาเอาที่ดินและบ้านเรือน อันเป็นทรัพย์สินบริคณห์ไปทำหนังสือยกให้แก่บุตร ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยสามีได้รู้เห็นยินยอมด้วยครั้นภายหลังบุตรถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยึดทรัพย์นั้น สามีจะไปร้องขอให้ปล่อยทรัพย์โดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ ไม่ได้
สามีร้องขัดทรัพย์ โดยอ้างว่าภรรยาเอาสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรโดยตนมิได้รู้เห็นยินยอม สัญญายกให้จึงใช้ไม่ได้ ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมในการยกให้แล้ว ให้ยกคำร้อง สามีกลับคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์อีกว่า สามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 อีก ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรส เมื่อไม่ใช่สินบริคณห์ทั้งแปลง
สามีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน โดยอ้างว่าเป็นที่สินบริคณห์ของโจทก์และภรรยาทั้งแปลงแม่ยายและภรรยาเอาไปชายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของภรรยาและแม่ยายร่วมกัน จึงไม่ใช่บริคณห์ทั้งแปลงและไม่ปรากฎว่าส่วนของภรรยามีเท่าไร สามีก็บอกล้างนิติกรรมทั้งฉะบับตามที่ฟ้องไม่ได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินสินบริคณห์: การร่วมกันเป็นเจ้าของและผลกระทบต่อการบอกล้างนิติกรรม
สามีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน โดยอ้างว่าเป็นที่สินบริคณห์ของโจทก์และภรรยาทั้งแปลงแม่ยายและภรรยาเอาไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของภรรยาและแม่ยายร่วมกัน จึงไม่ใช่บริคณห์ทั้งแปลงและไม่ปรากฏว่าส่วนของภรรยามีเท่าไรสามีก็บอกล้างนิติกรรมทั้งฉบับตามที่ฟ้องไม่ได้ จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากสินบริคณห์ของภรรยา: เจ้าหนี้ต้องขอแยกส่วนก่อนยึด
ตามมาตรา 41 หญิงมีสามีจะทำการผูกพันถึงสินบริคณห์ได้ก็แต่เฉพาะที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น ฉะนั้นถ้าหนี้ที่หญิงมีสามีก่อขึ้น ไม่เป็นหนี้ร่วมตามที่ระบุไว้ในป.ม.แพ่งฯมาตรา 1482 แล้ว เจ้าหนี้ของหญิงมีสามีจะยึดสินบริคณห์มาชำระหนี้ตนไม่ได้ จำต้องร้องขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงมีสามีก่อน เพื่อเอาชำระหนี้แก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากสินบริคณห์ของภริยา: สิทธิของเจ้าหนี้และขอบเขตการบังคับ
ตามมาตรา 41 หญิงมีสามีจะทำการผูกพันถึงสินบริคณห์ได้ก็แต่เฉพาะที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น ฉะนั้นถ้าหนี้ที่หญิงมีสามีก่อขึ้น ไม่เป็นหนี้ร่วมตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 แล้ว เจ้าหนี้ของหญิงมีสามีจะยึดสินบริคณห์มาชำระหนี้ตนไม่ได้ จำต้องร้องขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงมีสามีก่อน เพื่อเอาชำระหนี้แก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า: สามีจัดการสินบริคณห์แทนภรรยาได้ และความรับผิดชอบต่อค่าเสียหายพิเศษ
สามีเอาบ้านของภรรยาอันเป็นสินบริคณห์ ไปให้ผู้อื่นเช่าอยู่อาศัยนั้น ต้องถือว่าสามีเป็นผู้จัดการตามอำนาจของกฎหมาย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1468 ฉะนั้น เมื่อภรรยาผู้เป็นเจ้าของได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ให้เข้าอยู่ในบ้านเช่านั้นได้ ก็เท่ากับสสามีผู้มีอำนาจจัดการได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯ ให้เข้าอยู่ด้วย สามีจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ มาตรา16 (6)
ผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่าบ้านกับผู้เช่า ให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปภายในกำหนดและยังบอกกล่าวไปชัดแจ้งว่าถ้าผู้ให้เช่าเข้าบ้านเช่านี้นตามกำหนดไม่ได้ ก็จะทำให้ผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบบ้านอีกหลังหนึ่ง ที่ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ให้แก่ผู้ซื้อได้ตามกำหนดและจะถูกผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เช่าได้ทราบความเสียหายเป็นพิเศษของผู้ให้เช่าแล้ว ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาไม่ออกจากบ้านเช่าภายในกำหนด ทำให้ผู้ให้เช่าผิดสัญญากับผู้ซื้อและถูกผู้ซื้อปรับเอาเท่าใด ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิเรียกเอาจากผู้เช่าได้เท่าจำนวนที่เสียไปได้
of 15