คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเมื่อสามีไม่ได้ยินยอม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs. การเพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีสินสมรสต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
ป.วิ.พ.มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่มีประเด็นและคำขอซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสซ้ำกับคดีเดิมที่มีประเด็นและคำขอเดียวกัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดปราจีนบุรี โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกโดยยกข้ออ้างว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขาย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยและคำขอบังคับอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหาประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมเฉพาะส่วน: สิทธิของผู้ร้องสอด
โจทก์มิได้ฟ้องว่าหนี้เงินกู้ยืมของจำเลยตามฟ้องเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด เมื่อผลแห่งคำพิพากษาผูกพันเฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสเฉพาะส่วนของจำเลย ไม่กระทบกระเทือนส่วนของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเป็นจำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส และการวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์และฎีกาที่ไม่เป็นสาระ
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1 จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือส่วนแบ่งอีกจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ.และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่172 เดิมมีชื่อ ส.ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ.สามีเป็นเจ้าของ ส.และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ.มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้น บ.และ ส.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ.ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส.
โจทก์มิได้ฟ้อง ส.กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ บ.เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส.กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส.กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่า นางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ.ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ตามสัดส่วนของตน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิมนายถนอม นายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การยักย้ายมรดก, สิทธิการรับมรดก, การวินิจฉัยนอกฟ้อง, การแบ่งมรดก
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกา ขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือ ส่วนแบ่งอีกจำนวน1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ. และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 172เดิมมีชื่อ ส. ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ. สามีเป็นเจ้าของส. และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ. มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้นบ. และ ส. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ. ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. โจทก์มิได้ฟ้อง ส. กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของบ. เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส. กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส. กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวก ดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ ตามสัดส่วนของตน โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิม นายถนอมนายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดินจากการโอนที่ดินโดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อผู้มีสิทธิในมรดก/สินสมรส
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น. ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส.กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดย ค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อนน.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534 ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบ แล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้องค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดก และได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนี-ประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
of 86