พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์และครอบครอง
โรงเรือนซึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 109 หรือ 1312 โจทก์ซื้อที่ดินซึ่งมีบ้านพิพาทปลูกอยู่ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและตก เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โจทก์อีกเมื่อโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเอง กรณีไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ ดังนี้โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างติดที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินเหนือสิ่งปลูกสร้างโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง แต่ในหนังสือขายที่ดินระบุว่าไม่มีสิ่งปลูกสร้างดังนี้ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเองเช่นนี้ จึงไม่เป็นครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใดโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง: ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอน แม้จำเลยอ้างสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป
ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์ จำเลยเช่าที่ดินจากอ. กับพวกเจ้าของที่ดินเดิม ต่อมาโจทก์ประสงค์จะใช้ที่ดินได้บอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินกับจำเลยให้จำเลยรื้อถอนห้องแถวและขนย้ายทรัพย์สินกับบริวาร และใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า ห้องแถวไม่ใช่ของจำเลย จำเลยไม่ได้ละเมิดโจทก์ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ห้องแถวเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์ตกลงขายที่ดินให้ผู้ร้องสอดแล้ว โดยตกลงให้ตึกแถวของผู้ร้องสอดตั้งอยู่ในที่เดิมได้ โจทก์มีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย คำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังกับจำเลยรื้อถอนห้องแถวและขนย้ายทรัพย์สินกับบริวารออกไปจากที่ดินเช่นนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องสอด คำร้องของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นคำร้องเพื่อขอคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องสอดอันเกิดจากข้อพิพาทคดีนี้ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ซึ่งแม้คำร้องสอดจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นคู่ความร่วม แต่เนื้อหาแห่งคำร้องก็เป็นการขอเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แล้วศาลย่อมพิจารณาคำร้องสอดตามเนื้อหาที่ปรากฏนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น: กรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อก่อสร้างเสร็จ
สัญญาที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวทำกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังคงเป็นของผู้ร้องทั้งสอง กรรมสิทธิ์ในตึกแถวย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 ทันทีเมื่อก่อสร้างเสร็จ เนื่องจากเป็นส่วนควบกับที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาบังคับคดีเพื่อชำระหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ การใช้ประโยชน์ทางสาธารณะ และอำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตัดซอยพิพาทขึ้นมาเพื่อทำการจัดสรรที่ดินและสร้างอาคารพาณิชย์ออกขาย โจทก์เชื่อตามคำประกาศโฆษณาของจำเลยว่าซอยพิพาทเป็นทางสาธารณะจึงซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ที่จำเลยจัดสรร ทั้งจำเลยได้ยอมให้โจทก์กับผู้ซื้อรายอื่น ๆ ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นใช้ซอยพิพาทโดยปรกติสุขมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ซอยพิพาทจึงเป็นทั้งทางสาธารณะและทางภารจำยอม นอกจากซอยพิพาทแล้ว โจทก์ไม่มีทางอื่นใดจะอาศัยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก ซอยพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นอีกด้วย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ให้เป็นที่เข้าใจโดยชัดแจ้งแล้วในการต่อสู้คดี จำเลยก็ยกเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ได้ถูกต้องทั้งสามข้อหา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสวนหย่อมและซุ้มอาคารขายอาหาร เพราะจำเลยไม่ได้เป็นผู้ปลูกสร้าง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: การซื้อขาย, การเช่า, และการเพิกถอนสัญญาเช่า
โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.ส่วนจำเลยที่1เป็นน้องของส.จำเลยที่ 1 ได้ให้ จ. เช่าตึกแถวพิพาทเลขที่ 2-3 ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทมีกำหนด 20 ปี เมื่อ จ. อยู่ในตึกแถวพิพาทได้14-15 ปี ก็ได้โอนการเช่าให้จำเลยที่ 2 ด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2ณ ที่ว่าการอำเภอด้วยมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี 7 เดือน โจทก์ที่ 2จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับการเช่าตึกแถวระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความว่าตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง และโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกจากตึกแถวพิพาท แต่ได้ถอนฟ้องเสีย ดังนี้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบที่ดินและตึกแถวพิพาทคืนแก่โจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับตึกแถวเลขที่ 2-3 จึงหาใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ เพราะมูลเหตุที่ฟ้องเป็นคดีนี้มได้เกิดมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับมูลคดีอาญาที่โจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว
โจทก์ทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทมาเมื่อปี 2519 และพบว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอาตึกแถวพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 เช่าเมื่อปี 2520 โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และนับแต่ถูกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ยังคงให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทอยู่ตลอดมา เช่นนี้ แม้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเกิน 1 ปี จะขาดอายุความแล้ว แต่การละเมิดของจำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องยังไม่ขาดอายุความ
ส.เช่าที่ดินจากท.20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2500 แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เก็บกินผลประโยชน์ สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดลงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 สัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองลงวันที่ 5 กันยายน 2520 เป็นการทำสัญยาเช่าภายหลังจากที่สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้มอบหมายหรือยินยอมในการให้เช่า จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยที่ 2 จะสุจริตและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทมาเมื่อปี 2519 และพบว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอาตึกแถวพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 เช่าเมื่อปี 2520 โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และนับแต่ถูกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ยังคงให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทอยู่ตลอดมา เช่นนี้ แม้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเกิน 1 ปี จะขาดอายุความแล้ว แต่การละเมิดของจำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องยังไม่ขาดอายุความ
ส.เช่าที่ดินจากท.20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2500 แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เก็บกินผลประโยชน์ สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดลงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 สัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองลงวันที่ 5 กันยายน 2520 เป็นการทำสัญยาเช่าภายหลังจากที่สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้มอบหมายหรือยินยอมในการให้เช่า จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยที่ 2 จะสุจริตและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์, สิทธิการเช่า, และการเพิกถอนสัญญาเช่า
โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาในข้อหาฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับการเช่าตึกแถวระหว่างจำเลยทั้งสองและศาลในคดีอาญาพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบที่ดินและตึกแถวพิพาทคืนโจทก์ มูลเหตุที่ฟ้องมิได้เกิดมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับมูลคดีอาญา คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา โจทก์ทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทมาเมื่อปี2519 และพบว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอาตึกแถวพิพาทไปให้จำเลยที่ 2เช่าเมื่อปี 2520 โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และนับแต่ถูกฟ้องจำเลยที่ 1ก็ยังคงให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทอยู่ตลอดมา เช่นนี้แม้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเกิน 1 ปี จะขาดอายุความแล้ว แต่การละเมิดของจำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องยังไม่ขาดอายุความ ส. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทั้งสามและเป็นพี่จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินจาก ท.20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2500 แล้วปลูกตึกแถวพิพาทมอบให้จำเลยที่ 1 เก็บกินผลประโยชน์ สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดลงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 สัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองลงวันที่5 กันยายน 2520 เป็นการทำสัญญาเช่าภายหลังจากที่สิทธิของจำเลยที่ 1หมดไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามซึ่งได้เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยซื้อที่ดินพิพาทจาก ท. และได้รับยกให้ตึกแถวพิพาทจาก ส. เมื่อ พ.ศ. 2519 ได้มอบหมายหรือยินยอมในการให้เช่าดังกล่าว จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยที่ 2 จะสุจริตและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิอาศัยที่ไม่จดทะเบียน, และอำนาจฟ้องขับไล่
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทน แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไปเพราะได้รับยกเว้นตาม ป. รัษฎากร
จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย
ข้อตกลงที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบกโดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นเข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้.
จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย
ข้อตกลงที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบกโดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นเข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโอนตามที่ราชพัสดุ สิทธิอาศัยไม่บริบูรณ์ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทนแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไป เพราะได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกองทัพบกที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบก โดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้