พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักล้างสัญญาจะซื้อขายด้วยพยานบุคคล และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาประกันหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาจะซื้อขายไม่ถูกต้องและไม่มี ผลใช้บังคับตามกฎหมาย ไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสุดท้าย จำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยหลังจากจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้แล้วและช.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทไปยังจำเลยร่วมก่อนแล้ว การที่จำเลยร่วมรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทาง ให้โจทก์ต้องเสียเปรียบก่อนรับโอนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำ โดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้ระยะเวลาครอบครองเดิมสิ้นสุดลง และต้องนับระยะเวลาใหม่
ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2530 ส. เจ้าของที่ดินพิพาทเดิม จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ย่อมใช้ยันผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองปกปักษ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาก็ตาม ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่มี อยู่แล้วนั้นย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ใหม่ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททางทะเบียน แต่เมื่อนับถึงวันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ ของบริษัทล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัทล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัทล.ชำระหนี้เป็นเงิน15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวจำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิด ร่วมกับบริษัทล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระณวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์ เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาค้ำประกันนั้น โจทก์และส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.โดยยอมเข้าร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ความรับผิดระหว่างโจทก์กับส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ โดยยอมร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการ ที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกัน ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิด ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 โจทก์และส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส. ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ ค้ำประกันให้ ส.ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของส.ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัทล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัทล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตาม แต่โจทก์ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน 200,000 บาท และดอกเบี้ย ที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกชำระหนี้แทนการโอนทรัพย์สิน การรับโอนทรัพย์สินโดยสุจริต และผลของการรับรองจากศาล
คำสั่งศาลจังหวัดสกลนครในคดีก่อนเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ามีการกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้อย่างไร จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้อย่างไรจึงจะถูกต้อง และมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นแห่งคดี ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการชำระเงินโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกก่อน จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบ การโอนสิทธิโดยสุจริต และสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ได้มี การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็น ผู้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การออกหนังสือ น.ส.3 ก. ดังกล่าวจึงไม่ชอบและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออก โดยชอบ เมื่อ น.ส.3 ก. ออกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 7 จะอ้าง สิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจ ถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมายนั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์แต่จะบังคับให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้ ส่วนการขอให้เพิกถอนชื่อ จำเลยที่ 7 ออกจาก น.ส.3 ก. แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียน น.ส.3 ก. แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: การโอนที่ดินโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่เข้าข่ายการเพิกถอน
พฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่า การโอนขายที่ดินพิพาทเกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสามน่าเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 1รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้จำเลยที่ 2 จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายประมาณ 2 เดือนก็ตามผู้ร้องหาอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้โดยชอบ แม้การโอนจะได้กระทำขึ้นภายหลังมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิด
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องแสดงให้พอใจศาลว่า การโอน กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ผู้คัดค้านเพิ่งทราบว่า จำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายและถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายหลัง จากจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้าน ไม่รู้ถึงการที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาก่อนจะจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้ ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลายประมาณ 1 ปี และหนี้ที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายเป็นหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันในมูลหนี้ที่เกิด จากบุคคลอื่นขายลดเช็คแก่โจทก์พฤติการณ์น่าเชื่อว่าการโอน ทรัพย์สินได้กระทำโดยสุจริต และการที่ผู้คัดค้านชำระค่าที่ดิน ให้จำเลยบางส่วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วยังต้องนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารก่อนจึงรับโอนกรรมสิทธิ์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และการวินิจฉัยสุจริตของผู้รับโอน
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้เช่นผู้ร้องหามีอำนาจที่จะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลได้ไม่
ผู้คัดค้าน (จพท.) มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อร้องขอต่อศาลขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ หากแต่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอต่อผู้คัดค้านให้ใช้อำนาจตามมาตรา 114 ดังนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าสมควรจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการโอนหรือไม่
ผู้คัดค้าน (จพท.) มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อร้องขอต่อศาลขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ หากแต่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอต่อผู้คัดค้านให้ใช้อำนาจตามมาตรา 114 ดังนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าสมควรจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการโอนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ครอบครองรถยนต์โดยสุจริต: การประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์คันพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา1382 หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาทที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาทที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสิ้นสุดลงได้เมื่อเจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบังคับคดี
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตผู้ร้องก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภารจำยอมตาม แนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์ แล้วนั้น ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่ เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือ มาตรา 1394 ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้