คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ มีผลผูกพันทางกฎหมายได้
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานหลักฐานการใช้เงินกู้ – หลักฐานเป็นหนังสือเป็นสำคัญ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การรับว่าได้กู้เงินไปจริงแต่ต่อสู้ว่าได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์หมดแล้ว จำเลยทวงถามขอให้คืนสัญญากู้ โจทก์ว่าหายการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้อง เป็นการฉ้อโกงและเป็นความเท็จ สัญญากู้จึงใช้ไม่ได้ ตกเป็นโมฆะดังนี้ จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินกู้นอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน การมอบโฉนดหรือยอมรับในฟ้องยังไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
การที่จะให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ได้ จะต้องปรากฏว่า จำเลยได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อเพื่อจะชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นให้โจทก์จึงจะได้ เพียงแต่จำเลยได้มอบโฉนดที่ให้ลูกหนี้เอาไปค้ำประกันโจทก์หรือจำเลยฟ้องลูกหนี้ในอีกคดีหนึ่งได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยอมค้ำประกันลูกหนี้ต่อโจทก์เท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนหนึ่งว่า 'จำเลยต้องรับผิดทั้งในทางพฤตินัยและนิตินัย' เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีความหมายถึงข้อความในเอกสาร จ.7- จ.8 ถ้าโจทก์มุ่งจะให้หมายถึงเอกสาร จ.7- จ.8 ถ้าบรรยายเพียงเท่านี้ก็เป็นเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าทำได้ทั้งทางวาจาและหนังสือ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
การบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่า ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้รับคำบอกกล่าวด้วยวาจาแล้ว ก็ย่อมใช้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การบอกกล่าวด้วยวาจาใช้ได้
การบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่า ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้รับคำบอกกล่าวด้วยวาจาแล้ว ก็ย่อมใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้โดยการทำสัญญากู้ใหม่ ถือว่ามีการยินยอมเป็นหนังสือในตัวแล้ว
ในการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ซึ่งกระทำกันโดยลูกหนี้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมให้เจ้าหนี้ใหม่นั้นเพียงเท่านี้ ก็ถือได้ว่ามีการยินยอมเป็นหนังสืออยู่ในตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีคำว่า 'กู้ยืม' โดยตรง หนังสือลงลายมือชื่อลูกหนี้ก็ใช้ได้
การกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 มิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมเงินเป็นหลักฐานในเอกสาร
เมื่อโจทก์มีหนังสืออันอาจแสดงความเป็นหนี้ลงลายมือชื่อลูกหนี้ ก็อาจเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงข้อความบนสลากสุราแม่โขงเข้าข่ายความผิดฐานปลอมหนังสือตามประมวลกฎหมายอาญา
สลากสุราแม่โขงที่มีข้อความคำว่า " นครสวรรค์ ปิดที่ขวดสุราแม่โขง ซึ่งเป็นข้อแสดงว่าเป็นสุราที่โรงงาน สุราแม่โขง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่งมาขายเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ นั้น คำว่า " นครสวรรค์ " ดังกล่าว ย่อมเป็นหนังสือตามความหมายของ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 6 ข้อ 17,18,ผู้ใดปลอมขึ้น จึงผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือ แม้ไม่ระบุชื่อโดยตรง ก็ถือเป็นความผิด หากพิสูจน์ได้ว่าหมายถึงผู้เสียหาย และไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย
หมิ่นประมาทเขาทางหนังสือ แม้ในหนังสือจะมิได้กล่าวเจาะจงถึงผู้เสียหายโดยตรง คือกล่าวว่าเป็นการสุดแสนจะ ทนดูพวกมหาดไทยเล่นสกปรกต่อไป ฯลฯ นั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า พวกมหาดไทยนั้นจำเลยหมายถึงผู้เสีย หายดังนี้ จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย.
การที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 283 นั้น จะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต อันต้องด้วยลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่งตามมาตรา 283 ถ้าเป็นเรื่องใส่ความโดยปราศจากความจริงแล้วไม่เป็นข้อแก้ตัว./
of 16