พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การบรรยายการกระทำผิดต้องชัดแจ้งเพื่อให้จำเลยเข้าใจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทโดยโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ โดยกล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ จำเลยสมคบร่วมกันกระทำความผิดหมิ่นประมาทโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้ข่าว และกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์แก่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งใจก่อให้เกิดการลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ โดยให้ผู้สื่อข่าวนำข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์นั้น ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ และหนังสือพิมพ์ข่าวภาพได้ลงพิมพ์โฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์แล้ว ดังนี้ ถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข่าวอาชญากรรมผ่านหนังสือพิมพ์ อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้ แม้ไม่ได้ยืนยันความจริง
เสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์ต้องหาชั้นตำรวจว่ากระทำผิดอาญา กระทำอย่างไร้ความปราณี ดังนี้ มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาท จะว่าเป็นการเสนอข่าวตามวิสัยธรรมดาของหนังสือพิมพ์ มิได้ยืนยันตามข่าวนั้น หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดชอบเนื้อหาที่ลงพิมพ์ แม้เป็นจดหมายจากผู้อื่น การหมิ่นประมาทด้วยข้อความที่ทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการ จะแก้ตัวว่าข้อความที่ลงพิมพ์มีคนส่งมาจำเลยจึงลงไปไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งตรวจข่าวหนังสือพิมพ์: การตักเตือนและขอบเขตการไม่สังวรณ์
การให้คำตักเตือนว่าหนังสือพิมพ์ได้โฆษณาอันอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น เจ้าพนักงานการพิมพ์ไม่จำต้องระบุชื่อเรื่อง และเมื่อหนังสือพิมพ์ไม่สังวรณ์ ยังโฆษณาเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่องกับที่ได้มีการตักเตือนก็ตาม เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจสั่งให้หนังสือพิมพ์นั้เสนอเรื่องหรือข้อความไปให้ตรวจข่าวก่อนที่จะโฆษณาได้โดยชอบ
เมื่อมีกรณีพิพาทกันว่าเจ้าพนักงานการพิมพ์จะมีและใช้อำนาจโดยชอบสั่งให้ตรวจข่าวตามพ.ร.บ.การพิมพ์ว่าหนังสือพิมพ์ได้ลงเรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่นั้นคู่กรณีจะเสนอคดีต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
เติมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งให้ตรวจข่าวหนังสือพิมพ์โจทก์โดยไม่ชอบ ขอให้ศาลบังคับเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเสียและให้ใช้ค่าเสียหาย ต่อมาโจทก์สละคำขอให้ใช้ค่าเสียหาย และแม้จะปรากฎว่ากำหนดเวลาตรวจข่าวตามคำสั่งนั้นได้ผ่านล่วงเลยไปแล้วก็ตาม ศาลจะยังคงวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ตรวจข่าวต่อไปก็ได้
เมื่อมีกรณีพิพาทกันว่าเจ้าพนักงานการพิมพ์จะมีและใช้อำนาจโดยชอบสั่งให้ตรวจข่าวตามพ.ร.บ.การพิมพ์ว่าหนังสือพิมพ์ได้ลงเรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่นั้นคู่กรณีจะเสนอคดีต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
เติมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งให้ตรวจข่าวหนังสือพิมพ์โจทก์โดยไม่ชอบ ขอให้ศาลบังคับเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเสียและให้ใช้ค่าเสียหาย ต่อมาโจทก์สละคำขอให้ใช้ค่าเสียหาย และแม้จะปรากฎว่ากำหนดเวลาตรวจข่าวตามคำสั่งนั้นได้ผ่านล่วงเลยไปแล้วก็ตาม ศาลจะยังคงวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ตรวจข่าวต่อไปก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทผ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ต้องยืนยันความจริง มีเจตนาหมิ่นประมาทตามที่ใส่ความ
ความผิดฐานโฆษณาหมิ่นประมาทนั้นไม่จำเป็๋นที่จำเลยจะต้องยืนยันว่าข้อความนั้นเป็นความจริง เมื่อข้อความที่จำเลยโฆษนาเป็นการใส่ความเขาแล้วจำเลยก็ต้องมีผิดโฆษณาในหนังสือพิมพ์เป็นการหมิ่นประมาท ต้อง+ว่ามีเจตนาจงใจหมิ่นประมาทแล้ว เว้นแต่จะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้ ข้อความที่โฆษณาทั้งหมดมีหน้ากระดาษ ถึงแม้จะ+ข้อความอันเป็นการใส่ความอยู่เพียง 2 บรรทัดนับได้ว่ามีการหมิ่นประมาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดต่อข้อความหมิ่นประมาทที่ลงพิมพ์ แม้จะมีบรรณาธิการ
ผู้พิมพ์โฆษนาหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในข้อความใด ๆที่ลงพิมพ์ในหนังสือของตนในเมื่อตนรู้ถึงข้อความนั้น แม้ถึงว่าจะได้ตัวบรรณาธิการแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาหมิ่นประมาทในหนังสือพิมพ์ต้องกระทำโดยสุจริต หากพาดหัวกับเนื้อหาไม่ตรงกัน เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิด
การโฆษนากล่าวถึงการดำเนิรในโรงศาลต้องกระทำไปโดยสุจริตจึงจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลักษณอาชญาตามมาตรา 283(4) ในคดีหมิ่นประมาทศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อความที่กล่าวโฆษนานั้นทั้งหมดรวมกันจะดูฉะเพาะบางคำไม่ได้ แต่เมื่อลงโฆษนาข้อความพาดหัวไว้ตอนหนึ่งและแยกลงท้องเรื่องอีกตอนหนึ่งไม่ติดต่อกันแล้วศาลอาจจะพิเคราะห็ข้อความแยกจากกันได้ การโฆษนาหมิ่นประมาทนั้นจะต้องเกิดการเสียหายอาจทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นเกลียดชังผู้ถูกหมิ่นประมาทด้วย จึงจะเป็นการผิดกฎหมายบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในทางอาชญาในการที่หนังสือพิมพ์ของตนลงข่าวโฆษนาหมิ่นประมาทผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531-532/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการหนังสือพิมพ์ กรณีหมิ่นประมาทและการแสดงความคิดเห็น
อย่างไรเรียกว่าแสดงความคิดเห็น
จะยก 2 มาตรานี้มารวมกัน ขอให้ลงโทษผู้จัดการแลกรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ในทางอาชญาไม่ได้
กรมอากาศยานเป็นนิติบุคคล
จะยก 2 มาตรานี้มารวมกัน ขอให้ลงโทษผู้จัดการแลกรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ในทางอาชญาไม่ได้
กรมอากาศยานเป็นนิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในหนังสือพิมพ์ตามข้อมูลที่ได้รับ ไม่ถือเป็นหนังสือปลอม
ลงชื่อคนในหนังสือพิมพ์ตามเขาบอกยังไม่ผิดตามมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลฎีกายืนโทษ แต่แก้คำพิพากษาเรื่องการโฆษณาคำขออภัย
ป.อ. มาตรา 332 (2) ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำขออภัยโจทก์จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 2 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตาม ป.อ มาตรา 2 วรรคหนึ่ง