คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยที่ 3กับพวก แต่จำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเมื่อขณะจำเลยที่ 3 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเงินเท่าใด และยังไม่แน่นอนว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 3 หรือไม่ การโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เป็นการโอนโดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ต่อไป จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ไม่สมบูรณ์และการคืนสัญญา การอ้างสัญญาหายไม่ปลดความรับผิด
การที่จำเลยอ้างว่ามีการชำระหนี้หมดสิ้นกันแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมคืนสัญญา โดยอ้างว่าหายนั้น มิใช่เหตุที่ทำให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากความรับผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 250,000 บาท ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองเคยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 150,000 บาท ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1 มาขอกู้อีก100,000 บาท รวมเป็นเงินต้นที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปจำนวน 250,000 บาทเป็นการนำสืบที่มาของจำนวนเงินที่กู้เป็นเรื่องรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือและการประเมินสภาพหนี้สินก่อนล้มละลาย
ลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ42.8 เท่ากับว่าเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอย่างมาก การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาในสภาวะที่กิจการขาดทุน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสดำเนินธุรกิจไปตามปกติในทางการค้าซึ่งอาจจะมีกำไรได้ในภายหลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมนั้นลูกหนี้มีหนี้สินกับเจ้าหนี้อื่นใดมาก่อน อีกทั้งการกู้ยืมตลอดจนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่เจ้าหนี้ได้กระทำขึ้นก่อนที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย 5 ถึง6 ปี และในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องลูกหนี้ จึงยังไม่พอฟังว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4226/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: การวินิจฉัยพยานหลักฐานหนี้สิน
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีหนี้สินกันอยู่จริงหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าหนี้นั้นบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่วินิจฉัยประเด็นหนี้สินหากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ตกตามมาตรา 1754 หากกองมรดกเป็นเจ้าหนี้
อายุความตามมาตรา1754ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา1754เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมผู้ตายไปแม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความเพราะคดีนี้ไม่ได้เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การหักล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้นปัญหาว่าความจริงจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่อาจนำสืบหักล้างประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายได้พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบปรากฎชัดว่าจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินคือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทไทยประเมินราคา จำกัดได้ประเมินราคาไว้สูงถึง36,775,820บาทแม้จะเป็นการประเมินราคาของเอกชนแต่ก็เป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ในการขอกู้เงินจากธนาคารและต่อมาธนาคารได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ในวงเงิน13,000,000บาทแสดงถึงความเชื่อถือของธนาคารและจำเลยที่2และที่3มีหนังสือสัญญาขายที่ดินนำสืบว่ามีราคาเกือบ2,000,000บาทแม้หนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นสำเนาเอกสารแต่ก็รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารต้นฉบับที่ถูกต้องแล้วจึงรับฟังได้ข้อนำสืบของจำเลยที่2และที่3มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ส่วนจำเลยที่1แม้ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้แต่เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นหนี้ร่วมที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้แก่โจทก์ได้คดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่1ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ขณะ ช. พนักงานของผู้เสียหายในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายนำยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยดีว่าไม่สามารถชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้ แต่ยอมรับเช็คพิพาทไว้เพื่อจะได้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเท่านั้นการสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเพื่อประกันหนี้ในทางแพ่งที่ต้องรับผิดไว้ก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและโกงเจ้าหนี้
การที่ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและชำระหนี้แก่จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์ได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 สำหรับปัญหาที่ว่าจำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264และมาตรา265หรือไม่นั้นจากคำเบิกความของป. และท. จะเห็นได้ว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่าท. ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่ากหรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของป.กับท. แล้วนำเอกสารดังกล่าวฟ้องเรียกเงินกู้ก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้แต่ตามข้อเท็จจริงในคดีปรากฎว่าท. ยอมรับว่าเคยกู้เงินจากจำเลยและยังค้างชำระหนี้อยู่ใกล้เคียงกับจำนวนตามที่จำเลยฟ้องจริงแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่จริงเมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ระหว่างจำเลยกับป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของป. ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
of 48