คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ไม่เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันและเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57 นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่และการป้องกันตัวโดยบันดาลโทสะในคดีพยายามฆ่า
ผู้เสียหายเป็นนายอำเภอท้องที่ที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายมีคำสั่งให้สถานบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีดนตรีบรรเลงและสถานที่เล่นสนุกเกอร์ของจำเลยหยุดบริการ เพราะเปิดเกินเวลาและให้พนักงานของจำเลยไปตามจำเลยมาเพื่อรับทราบคำสั่ง ซึ่งทางราชการได้สั่งให้สถานบริการในท้องที่ที่เกิดเหตุต้องหยุดให้บริการในเวลา 1 นาฬิกา โดยขณะที่ผู้เสียหายออกคำสั่งดังกล่าวก่อนเวลา 1 นาฬิกาที่จำเลยจะต้องปิดสถานบริการตามคำสั่งของทางราชการเป็นอันมากคำสั่งของผู้เสียหายที่ให้จำเลยปิดสถานบริการจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยคำสั่งทางราชการ ดังนี้ การใช้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้อยู่ในความปกครองหรือสั่งการย่อมเป็นการผิดวิสัย เว้นแต่จะขอร้องกันเป็นการส่วนตัววิธีปฏิบัติที่ผู้เสียหายทำไปบ่งชัดว่าไม่ใช่การสั่งการในฐานะเจ้าพนักงาน การกระทำของผู้เสียหายดังกล่าวมาทั้งหมดจึงมิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนายอำเภอผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ออกคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิดสถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการกำหนดอันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของจำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามกำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลักจำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจำเลยราษฎรในความปกครองของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการติดต่อท่าเรือและศุลกากรไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่ง
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัท ส. เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัท ฟ. เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า ส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัท ฟ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงออกเสมือนตัวแทนและการผูกพันตามสัญญาจ้าง
ว.เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลย เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย ซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่า ว.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลย และเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิด ว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย หรือรู้แล้วยอมให้ ว.เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ว.บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว.เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ.และพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จัดหาสถาบันการเงิน - การบอกกล่าวให้แก้ไขก่อนฟ้องผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1ตามสัญญาเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้จัดหาสถาบันการเงินมาให้โจทก์ผ่อนชำระเงิน แต่ในสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่า ถ้าหากจำเลยที่ 1 หาสถาบันการเงินให้โจทก์ผ่อนชำระไม่ครบตามจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องผ่อนชำระแล้ว จำเลยที่ 1จะต้องหาสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือหาสถาบันการเงินมาเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ในระยะเวลาใด ดังนั้นก่อนที่โจทก์จะถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 จัดหาสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือจัดหาสถาบันการเงินมาเพิ่มเติมเพื่อให้โจทก์ผ่อนชำระเงินเสียภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรเมื่อโจทก์ยังมิได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 จัดหาสถาบันการเงินเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: ศาลไม่อาจบังคับจำเลยจดทะเบียนแทนโจทก์
กรณีศาลพิพากษาว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความมิใช่พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ จึงไม่จำต้องออกคำบังคับจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนให้แก่โจทก์ กรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมนั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำบังคับดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยและหน้าที่ของทนายความ
ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายเวลากำหนดยื่นฎีการวมสองครั้งแล้วต่อมาทนายโจทก์อ้างว่าต้องเดินทางไปจัดการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินที่จังหวัดระนองเมื่อเสร็จธุรกิจแล้วเช้ามือของวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาทนายโจทก์ขับรถยนต์กลับกรุงเทพมหานครแต่รถยนต์ออกจากจังหวัดระนองไปได้ประมาณ20กิโลเมตรเศษก็เกิดอุบัติเหตุตกคูน้ำข้างถนนต้องนำรถยนต์ไปซ่อมทนายโจทก์นั่งรถยนต์โดยสารเข้ากรุงเทพมหานครทำฎีกาใหม่ไปยื่นต่อศาลหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ดังนี้ถึงแม้ว่ารถยนต์ส่วนตัวของทนายโจทก์จะเกิดเสียหายในวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาแต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา10 เปิดโอกาสไว้หรือแจ้งต่อกรรมการโจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เพื่อให้ตัวความไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นเองฉะนั้นเหตุการณ์ตามที่ทนายโจทก์กล่าวอ้างจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประธานอนุกรรมการมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน หากละเลยจนเกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทานเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นอนุกรรมการไปตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎร แล้วทำรายงานมาให้จำเลยที่ 1ลงชื่อร่วม เป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนแก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปตามรายงานของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เอาใจใส่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับแต่งตั้งเป็นความประมาทเลินเล่อแล้วจำเลยที่ 1 จะอ้างว่ามีภารกิจติดราชการอื่นแล้วละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคดีใหม่: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 218/2534 ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.2 มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้
of 71