พบผลลัพธ์ทั้งหมด 856 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท - การระบุตัวบุคคล - การพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสิบเป็นผู้แทนครูและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลงบทความในหนังสือพิมพ์ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นบรรณาธิการหมิ่นประมาทโจทก์สิ้นโดยบรรยายฟ้องว่า กรรมการจำนวนหนึ่งได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เลิกจ้าง ส. เลขาธิการคุรุสภาอ้างว่าเป็นคนสร้างความแตกแยกคนในกระทรวงศึกษาธิการหลายคนได้ยินข่าวผู้แทนครูในคณะกรรมการจำนวนหนึ่งเสนอเลิกจ้าง ส. ถึงกับส่ายหน้าและทุเรศในพฤติการณ์ที่แสดงออก... การแบ่งสัดส่วนจำนวนกรรมการอำนวยการที่ครูหลายกรมยังไม่มีส่วนร่วม...นั้น การที่คำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่า กรรมการจำนวนหนึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดบ้าง ไม่ได้ระบุว่ากรรมการอำนวยการซึ่งเป็นโจทก์ทั้งสิบคนมีพฤติการณ์เช่นนั้นทั้งหมดและไม่อาจทราบได้ว่าเป็นกรรมการอำนวยการคนใด ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความเพียงว่า ผู้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภาจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ใดบ้าง ส่วนข้อความในหนังสือพิมพ์ที่ว่า เข้ามาเพื่อคิดถึงผลประโยชน์ของตนเอง ไม่เคยรักษาผลประโยขน์ของส่วนรวมนั้น ก็เป็นการเท้าความถึงกรรมการอำนวยการที่ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นผู้ใด คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำเท็จ สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้เป็นก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. ก็ต้องรับผิด
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า"ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ.เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม
จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต
จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไข ป.อ. มาตรา326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตาม ป.อ.มาตรา 326 เดิม
จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต
จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไข ป.อ. มาตรา326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตาม ป.อ.มาตรา 326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดใส่ความว่า 'ยักยอกและตามตัวไม่พบ' เป็นการหมิ่นประมาท แม้กล่าวตอบคำถามและมีเหตุขัดแย้ง
โจทก์ร่วมถูกร้องเรียนว่ายักยอกเอาเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาราชการแทนโจทก์ร่วมได้แจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวของจำเลยทำให้สมุห์บัญชีธนาคารเข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการและหนีไปจึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมแม้จำเลยกล่าวออกไปโดยถูกถามแต่จำเลยย่อมสำนึกในการกระทำและเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อีกทั้งปรากฏว่าสาเหตุที่มีการระงับการจ่ายเงินเดือนเพราะโจทก์ร่วมไม่ยอมลงชื่อในหลักฐานการจ่ายเงินเดือน หาใช่เพราะโจทก์ร่วมยักยอกและตามตัวไม่พบไม่ และจำเลยกับโจทก์ร่วมก็มีเหตุขัดแย้งไม่พอใจในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการกันอยู่ การกล่าวข้อความของจำเลยจึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต แต่มีเจตนาใส่ความโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดใส่ความผู้อื่นว่ายักยอกเงิน เป็นการหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ. เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทพี่น้องร่วมสายเลือดเป็นเหตุให้เรียกคืนการให้ทรัพย์สินได้
โจทก์ยกที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นน้องสาวโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยด่าว่าโจทก์ว่า "ได้พี่ฉิบหายไอ้ชาติชั่ว เห็นเมียดีกว่าน้อง มึงออกจากที่ดินของกู มึงจะมีที่ดินทำมาหาแดกหรือไม่ เป็นเรื่องของมึงไปเย็ดกันที่อื่นกูไม่ให้เย็ดกันที่นี่" ถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าโจทก์ดังกล่าวหมายความว่าโจทก์เป็นคนชั่ว คนเลวทราม คบไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจ และเป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
ข่าวในหนังสือพิมพ์มีข้อความว่า "กูละเบื่อ ศาลสั่งจำคุกภูมิ ศรีธัญรัตน์บก.นสพ. ประชาธิปไตย ฐานเบี้ยวเช็ค"มีความหมายว่า โจทก์ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยถูกศาลพิพากษาจำคุกเพราะเป็นคนไม่ตรง คดโกงออกเช็คโดยคดโกง มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวถ้อยคำสบประมาทต่อหน้า: ความผิดฐานดูหมิ่น vs. หมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้ พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คนร.ส.พ.ทำงานกันอย่างนี้หรือ" โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตาม ป.อ. มาตรา 393 และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นซึ่งหน้า vs. หมิ่นประมาท: การวิจารณ์การทำงานต่อหน้าผู้ถูกวิจารณ์
จำเลยกับ อ. ไปหาโจทก์ร่วมที่ห้องทำงานเพื่อให้โจทก์ร่วมลงนามในหนังสือรับรองการเบิกค่ารักษาพยาบาลของจำเลย โจทก์ร่วมให้ จ. นำไปตรวจสอบจึงเกิดการโต้เถียงกัน จำเลยพูดขึ้นว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไรคุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คน ร.ส.พ. ทำงานกันอย่างนี้หรือ"ต่อหน้าโจทก์ร่วมในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ เป็นการสบประมาททำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้า จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 แต่ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นและวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมและกล่าวถึงโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากมีการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงต่อภริยาและบุพการีถือเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้
จำเลยด่าว่าภริยาและมารดาของภริยาต่อหน้าบุคคลอื่นว่า"ซื้อหมาอ้วนมาตัวหนึ่งราคา 100,000 บาท วัน ๆ ไม่ทำอะไร นอนอยู่แต่หน้าเตา โคตรเง่าเหล่าอีหมวยกูไม่เอามาทำพันธุ์อีกแล้ว"คำว่าหมาอ้วนหมายถึงภริยาส่วนคำว่าอีหม่วยหรืออีม่วยหมายถึงมารดาของภริยา ถ้อยคำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทภริยาและบุพการีของภริยาอย่างร้ายแรงตามกฎหมายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นภริยาจึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาท: ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความรู้สึกผูกพันของจำเลย
โจทก์ทั้งสองเคยตกลงจะแบ่งที่ดินปลูกบ้านให้จำเลยแล้วภายหลังกลับใจไม่ยกให้ โดยขอให้จำเลยลงนามในหนังสือตกลงไม่รับส่วนแบ่งที่ดิน ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเกิดโทสะพลุ่งพล่านผสมกับความน้อยใจจึงได้กล่าววาจาประชดประชันโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาด้วยอารมณ์ได้แม้ถ้อยคำดังกล่าวจะหยาบคายไม่น่าฟัง แต่จำเลยก็หาได้กล่าวดูหมิ่นหมิ่นประมาทว่าโจทก์ทั้งสองคนใดคนหนึ่งเป็นหมาโดยตรงแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงหาใช่เจตนาทำให้โจทก์ทั้งสองต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงอย่างไรไม่จึงไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพูดว่า "เป็นลูกหมา" แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยได้พูดว่าโจทก์ "พูดจากลับกลอก" และ"พูดหมา ๆ" แต่เมื่อได้ความว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำพูดต่อเนื่องกับคำพูดของจำเลยที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นเรื่องการนำสืบรายละเอียด ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์นำสืบว่าจำเลยได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวได้