พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า และการกำหนดระยะเวลาชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งขอให้บุตรเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของจำเลย โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่ วันฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้เปลี่ยนผู้ปกครองบุตรจากโจทก์เป็นจำเลย และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฟ้องแย้ง แต่ไม่ได้ระบุว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ดังนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรและการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังหย่า โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์จำเลยฟ้องแย้งขอให้บุตรเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของจำเลย โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันฟ้องด้วยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้เปลี่ยนผู้ปกครองบุตรจากโจทก์เป็นจำเลย และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฟ้องแย้งแต่ไม่ได้ระบุว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ดังนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอน แต่หากมีหลักฐานการแบ่งทรัพย์สินโดยสุจริต ศาลต้องรับฟังพยาน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้องแต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้ หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า และอำนาจคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกแทนบุตรผู้เยาว์
เมื่อผู้ตายหย่ากับผู้คัดค้านได้ตกลงกันให้ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามบันทึกหลังทะเบียนการหย่าข้อตกลงนี้เป็นแต่เพียงการกำหนดภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 มิใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ภายหลังการหย่ายังอยู่กับผู้ตายและผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดามารดาเมื่อบิดาตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ย่อมตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1566 ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์และมีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกแทนผู้เยาว์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าและอำนาจคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้เยาว์
เมื่อผู้ตายหย่ากับผู้คัดค้านได้ตกลงกันให้ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามบันทึกหลังทะเบียนการหย่า ข้อตกลงนี้เป็นแต่เพียงการกำหนดภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1522 มิใช่ข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1520 อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ภายหลังการหย่ายังอยู่กับผู้ตายและผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดามารดา เมื่อบิดาตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ย่อมตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา1566 ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์และมีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกแทนผู้เยาว์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5627/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า พิจารณาจากเหตุแห่งการหย่า ความสามารถและฐานะของคู่สมรส
ในคดีหย่า แม้โจทก์จำเลยตกลงหย่ากันระหว่างพิจารณาแต่การที่ จำเลยจะมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์หรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่า มีเหตุแห่งการหย่าหรือไม่ และเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของโจทก์ หรือไม่เมื่อโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งร้างจำเลยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์
ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นั้นฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะน้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริต ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่าย เมื่อโจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย และจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอโจทก์ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูจำเลย มาตลอดและอยู่ในฐานะที่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูจำเลยได้จึงมี หน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย
ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นั้นฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะน้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริต ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่าย เมื่อโจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย และจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอโจทก์ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูจำเลย มาตลอดและอยู่ในฐานะที่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูจำเลยได้จึงมี หน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสต้องแบ่งเท่ากัน แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัย มาตรา 1533 ดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัย มาตรา 1533 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังแยกกันอยู่ แม้ยังไม่ได้หย่า ถือว่าสินสมรสยังไม่ถูกแบ่ง
การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากัน เพียงแต่แยกกันอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ฉะนั้นเมื่อที่นาและยุ้งข้าวเป็นสินสมรสจึงต้องแบ่งให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1533 โจทก์ฟ้องขอหย่ากับจำเลยและขอแบ่งสินสมรส เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว แม้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.