พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การชำระหนี้ในสัญญากู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือประกอบ
ผู้กู้เขียนลงบนเอกสารกู้ว่าได้ชำระหนี้เสร็จแล้วแต่ไม่ลายเซ็นชื่อผู้ให้กู้นั้น ยังไม่เรียกว่าแทงเพิกถอนอันชอบด้วยกฎหมาย
ลักษณพะยาน การกู้ยืมเงินที่มีเอกสารจะฟังพะยานบุคคลที่นำมาสืบว่าได้ใช้เงินแล้วไม่ได้ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.8 คดีที่คนบังคับอังกฤษเปนคู่ความ ๆ จะฎีกาได้แต่ปัญหากฎหมายเท่านั้น
ลักษณพะยาน การกู้ยืมเงินที่มีเอกสารจะฟังพะยานบุคคลที่นำมาสืบว่าได้ใช้เงินแล้วไม่ได้ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.8 คดีที่คนบังคับอังกฤษเปนคู่ความ ๆ จะฎีกาได้แต่ปัญหากฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13288/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐาน ผู้เช่าช่วงถือเป็นบริวารลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ แต่ผู้ร้องเช่าช่วงบ้านพิพาทจากจำเลยโดยไม่มีสัญญาเช่าต่อโจทก์หรือจำเลย ผู้ร้องจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ การเช่าช่วงดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย การต่อเติมห้องครัวและห้องน้ำที่อ้างเป็นไปเพื่อความสะดวกในการใช้ทรัพย์สินของผู้ร้อง ไม่ใช่การปลูกสร้างใหม่ จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาอันไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) จึงไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาไถ่ทรัพย์ขายฝากต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้นสิทธิในการไถ่ขาดอายุ การครอบครองหลังครบกำหนดถือเป็นการละเมิด
แม้การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝาก กฎหมายจะมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับกันได้ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการขยายเวลาไถ่โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้รับไถ่ไว้โดยผู้แทนของโจทก์ตามความประสงค์ของนิติบุคคลซึ่งย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 กรณีการทำหลักฐานเป็นหนังสือในการขยายกำหนดเวลาไถ่ จึงเป็นสาระสำคัญ มิฉะนั้นไม่อาจบังคับกันได้ หาใช่เป็นเพียงแบบพิธีที่ต้องทำกันภายหลังครบกำหนดเวลาขายฝากดังที่จำเลยฎีกาไม่ แม้จำเลยนำสืบว่า ป. บุตรจำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยให้เป็นผู้เจรจาตกลงได้ติดต่อกับ ส. ประธานกรรมการของโจทก์ ทางแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีข้อความที่ ป. ขอไปพบ ส. เพื่อทำสัญญาและนำของขวัญไปมอบให้ ส. ที่ให้โอกาสต่อสัญญาอีก 1 ปี ก็เป็นข้อความที่เกิดจากการส่งข้อความของ ป. แต่ฝ่ายเดียว โดยที่ ส. มิได้ตอบรับหรือปฏิเสธ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสนทนาโดยการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 8 ที่บัญญัติให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้วมาใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาไถ่จำเลยมิได้ชำระสินไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ทรัพย์สินซึ่งขายฝากทำให้โจทก์เสียหายจึงเป็นการละเมิด การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การบังคับคดี และสิทธิในการยึดถือทรัพย์
ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป