พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนค้าขายเช็คชำระหนี้: เช็คเป็นประกันคืนทุน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์จำเลยตกลง เข้า หุ้นส่วนกันประกอบกิจการค้าขายโทรศัพท์โจทก์เป็นผู้ลงทุนด้วย เงิน จำเลยลงทุนด้วย แรง จำเลยได้ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนค่าหุ้นทั้งหมดมอบให้แก่โจทก์ไว้ต่อมาจึงเปลี่ยนเช็ค พิพาทให้โจทก์แทน ถึง กำหนดชำระเงินตาม เช็คโจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 5-6 เดือน แสดงว่าโจทก์ทราบถึงฐานะ ของจำเลยดี ว่าไม่ สามารถใช้ เงินตาม เช็ค ได้ ประกอบกับโทรศัพท์ที่ลงทุนซื้อ มาก็ยังขายไม่ได้ ดังนี้เช็ค พิพาทจึงเป็นเพียงเช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วย กันโดย มุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไรปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตาม กำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตาม เช็ค พิพาทการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินยังไม่เกิดเมื่อห้างหุ้นส่วนไม่เสร็จและไม่มีกำไร จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไร เช่นนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเสริมการขายและการตอบแทนไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลตัดสินว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้สิน
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แจ้งชัดมาแสดงโดยตรงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนกันการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการดำเนินการให้บริษัท บ. เพิ่มส่วนลดให้โจทก์พนักงานของบริษัทบ. ไม่นำฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มไปขายในท้องที่ที่โจทก์ขายอยู่ และบริษัท บ. ให้ของแถมเพื่อให้โจทก์นำไปแจกแก่ลูกค้าของโจทก์อีกต่อหนึ่งซึ่งทำให้โจทก์มีกำไรจากการซื้อสินค้าจากบริษัท บ. ไปขายมากขึ้น ล้วนแต่เป็นการส่งเสริมการขายเพื่อทำให้บริษัท บ. ขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทางการค้า แม้โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยร้อยละห้าของกำไรที่ได้จากการขายฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนซื้อฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มจากบริษัท บ. ไปขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไร แต่เป็นเรื่องจำเลยดำเนินการให้โจทก์มีกำไรจากกิจการค้ามากขึ้น และโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเสริมการขายและการตอบแทนไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แจ้งชัดมาแสดงโดยตรงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการแผนกเวชภัณฑ์ของบริษัท บ. ดำเนินการให้บริษัท บ. เพิ่มส่วนลดให้โจทก์พนักงานของบริษัท บ. ไม่นำฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มไปขายในท้องที่ที่โจทก์ขายอยู่ และบริษัท บ. ให้ของแถมเพื่อให้โจทก์นำไปแจกแก่ลูกค้าของโจทก์อีกต่อหนึ่งซึ่งทำให้โจทก์มีกำไรจากการซืสินค้าจากบริษัท บ. ไปขายมากขึ้น ล้วนแต่เป็นการส่งเสริมการขายเพื่อทำให้บริษัท บ. ขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทางการค้า แม้โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยร้อยละห้าของกำไรที่ได้จากการขายฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์ม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนซื้อฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มจากบริษัท บ. ไปขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรแต่เป็นเรื่องจำเลยดำเนินการให้โจทก์มีกำไรจากกิจการค้ามากขึ้นและโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินอันเกิดจากกิจการค้านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางภาษีของหุ้นส่วนและทายาทในกรณีห้างหุ้นส่วนเลิก และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๖ วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน ๒ คน คือ ห. กับจำเลยที่ ๑เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ ๑ แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๗๗ และ ๘๔ ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๐๕๕(๕) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๘
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๒๕ เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๙ ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น ๑๕ วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา ๘๙ ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๗๗ และ ๘๔ ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๐๕๕(๕) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๘
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๒๕ เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๙ ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น ๑๕ วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา ๘๙ ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษี, การประเมินภาษีที่ถูกต้อง, และขอบเขตการคำนวณเงินเพิ่มภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 2 เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว แม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามป.รัษฎากร มาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามป.พ.พ. มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามป.รัษฎากร มาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามป.พ.พ. มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนและทายาทในหนี้ภาษีจากการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ หากศาลไม่วินิจฉัยประเด็นแสดงตนเป็นหุ้นส่วน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ได้แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มาด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ และโจทก์ก็มิได้คัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คคืนเงินค้างชำระหุ้นส่วน: การโอนเช็คด้วยเจตนาฉ้อฉลทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีอาชีพเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ จำเลยที่ 2ว.และส.เข้าหุ้นส่วนกันสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์โดยว. ลงทุนด้วยเงินสดจำเลยที่ 2 และ ส. ลงทุนด้วยแรงงานโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการสร้างภาพยนตร์นั้น ส่วนโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ ว.20เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนที่ว. นำมาลงและเป็นทนายความประจำสำนักงานภาพยนตร์ของ ว. จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง มอบให้ว.โดยมีข้อตกลงว่าว. จะบังคับให้ใช้เงินตามเช็คได้ต่อเมื่อภาพยนตร์ที่ร่วมกันสร้างได้ฉายทาง โทรทัศน์ จนมีกำไร เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกให้แก่ ว. ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน เมื่อ ว. ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่จัดการชำระบัญชีกันให้ถูกต้อง แล้วกลับโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์รู้ถึงข้อตกลงในการเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นการยืมมือโจทก์ฟ้อง ย่อมถือว่าโจทก์กับ ว. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการปลูกสร้างอาคาร: การร่วมประกอบกิจการและการเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่3 เพื่อทำการปลูกสร้างตึกแถวใหม่ในที่ดินดังกล่าว แล้วจะเสนอขายแก่บุคคลภายนอกทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายห้อง โดยในสัญญามีข้อตกลงว่า ถ้าเกิดความจำเป็นต้องฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมจำเลยที่ 2 จะฟ้องขับไล่เอง และจะไม่เรียกร้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับค่าทดแทนใด ๆ ที่จะให้ผู้เช่าเดิม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดแสดงว่าจำเลยที่ 1 ผู้จะขายได้ร่วมประกอบกิจการในการปลูกสร้างตึกแถวใหม่กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน แม้ในสัญญาจะซื้อจะขายจะกำหนดต่อไปอีกว่า ผู้จะขายจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายตึกแถวใหม่อีกร้อยละหกสิบของกำไรสุทธิก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ผู้ซื้อจะยอมเพิ่มเติมให้จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายยอมรับแต่ผลกำไรอย่างเดียว ไม่ต้องร่วมรับผิดเมื่อขาดทุนด้วย จึงไม่ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายกลายเป็นห้างหุ้นส่วนไปได้.