คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ ไม่ขัดต่อข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
แม้จำนวนเงินตามเช็คที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจะเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คที่จำเลยค้างชำระโจทก์แต่เงินจำนวนนี้ก็เป็นดอกเบี้ยที่คิดจากมูลหนี้เดิมที่เกิดจากการซื้อขายและค่าจ้างทำของที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตามสัญญา มิใช่มูลหนี้เดิมมาจากการกู้ยืมเงินจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ตามที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ ดอกเบี้ยดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะเพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, อัตราดอกเบี้ย, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไป และศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่ไม่ใช่เบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญาได้อีกข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้นมิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญาและการไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น
++ เรื่อง ยืม จำนอง
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 209 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินควร
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจเงินทุนและข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.การประกอบธรุกิจเงินทุนฯ มาตรา8 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน และตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการปรับอัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีตามสัญญา
โจทก์ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่นั้น ย่อมสุดแท้แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้กู้ หากในสัญญาระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้หากผู้ให้กู้ไม่แจ้ง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยได้
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกัน ผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้ และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม
of 32