พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การอายัดทรัพย์ และการพิจารณาความเห็นแย้งของพนักงานอัยการ
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรับผิดในผลแห่งละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของตน โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยตรงตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 แล้ว แต่โจทก์ที่ 4 หลบหนีและยังไม่ได้ตัวมา ซึ่งคดีจะขาดอายุความ อันทำให้คำสั่งอายัดทรัพย์สินนั้นสิ้นผลลง จำเลยที่ 1 จึงแจ้งจำเลยที่ 2 ดำเนินการกับทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หาใช่เป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ดังที่โจทก์ทั้งสี่อ้าง
จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือความเห็นแย้งจากพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน วันที่ 18 เมษายน 2557 คณะกรรมการธุรกรรมประชุมและมีมติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินวินิจฉัยชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคสาม วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 คณะอนุกรรมการวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพอที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินและมีมติควรเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด และส่งเรื่องกลับไปให้เลขาธิการฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมคณะกรรมการแต่ไม่มีการเสนอความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนลาออกทำให้มีจำนวนไม่ครบ 9 คน วันที่ 6 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ 9 คน วันที่ 25 มีนาคม 2558 เลขาธิการฯ เสนอเรื่องความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา วันที่ 30 มีนาคม 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาความเห็นแย้งดังกล่าว โดยมีมติให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินโจทก์ทั้งสี่ตกเป็นของแผ่นดิน กรณีถือได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการฯ ตามมาตรา 49 วรรคสาม แล้ว
กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 แล้ว แต่โจทก์ที่ 4 หลบหนีและยังไม่ได้ตัวมา ซึ่งคดีจะขาดอายุความ อันทำให้คำสั่งอายัดทรัพย์สินนั้นสิ้นผลลง จำเลยที่ 1 จึงแจ้งจำเลยที่ 2 ดำเนินการกับทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หาใช่เป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ดังที่โจทก์ทั้งสี่อ้าง
จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือความเห็นแย้งจากพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน วันที่ 18 เมษายน 2557 คณะกรรมการธุรกรรมประชุมและมีมติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินวินิจฉัยชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคสาม วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 คณะอนุกรรมการวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพอที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินและมีมติควรเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด และส่งเรื่องกลับไปให้เลขาธิการฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมคณะกรรมการแต่ไม่มีการเสนอความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนลาออกทำให้มีจำนวนไม่ครบ 9 คน วันที่ 6 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ 9 คน วันที่ 25 มีนาคม 2558 เลขาธิการฯ เสนอเรื่องความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา วันที่ 30 มีนาคม 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาความเห็นแย้งดังกล่าว โดยมีมติให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินโจทก์ทั้งสี่ตกเป็นของแผ่นดิน กรณีถือได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการฯ ตามมาตรา 49 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึด/อายัดทรัพย์เพื่อชำระภาษีค้างชำระ: ระยะเวลา 10 ปี เริ่มนับเมื่อใด และการยึดทรัพย์เกินจำนวนหนี้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ ส. และ ม. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในนามคณะบุคคล ส. ป. และ ม. สำหรับปีภาษี 2539 ปีภาษี 2540 ปีภาษี 2541 (ครึ่งปี) และปีภาษี 2541 และถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ทั้งสามคนมิได้เสียภาษีอากรดังกล่าวแต่อย่างใด ภาษีอากรซึ่งต้องเสียย่อมถือเป็นภาษีอากรค้างตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคหนึ่ง แม้เพื่อให้ได้รับชําระภาษีอากรค้าง อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้ แต่เมื่อคดีนี้โจทก์ยังอุทธรณ์การประเมิน และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ได้นําคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ระยะเวลา 10 ปี ในการยึดและอายัดจึงยังไม่อาจเริ่มนับแต่วันแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ โดยหลังจากโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว โจทก์ ส. และ ม. อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ โดยโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2552 และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจําเลยขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง และได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การนับระยะเวลา 10 ปี จึงต้องนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อเจ้าพนักงานของจําเลยมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 วันที่ 20 กันยายน 2560 วันที่ 3 ตุลาคม 2560 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 จึงเป็นการมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำสั่งอายัดที่ให้อายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในบัญชีเงินฝากธนาคาร นั้น จำนวนเงินดังกล่าวเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ระบุจำนวนเต็มตามจำนวนหนี้ภาษีอากรค้างที่โจทก์และคณะบุคคลคงค้างชําระ ณ วันที่มีคำสั่งอายัดว่า ห้ามโจทก์และธนาคารจําหน่าย จ่าย โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นใด นอกจากนําส่งเป็นแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายจําเลยนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งอายัด และหรือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีเงินฝากเข้ามาในบัญชีภายหลังได้รับคำสั่งอายัด หาได้หมายความว่าเป็นจำนวนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ในขณะนั้นไม่ ทั้งได้ความจาก ส. นิติกรชํานาญการของจําเลยว่า เจ้าพนักงานของจําเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีที่เป็นคณะบุคคลไว้ 3 ราย มิใช่บังคับโจทก์เพียงผู้เดียว เมื่อรวมรายการทรัพย์สินที่ได้มีการยึดและอายัดไว้ทั้งหมดแล้ว พบว่าทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีที่ได้มีการยึดและอายัดไว้มีราคาประเมินรวม 153,357,884.52 บาท ซึ่งก็ยังมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะชําระหนี้ภาษีอากรค้าง ณ ปี 2561 ซึ่งมีจำนวน 920,047,432.25 บาท ซึ่งจําเลยก็ได้ให้การไว้เช่นนี้ แต่โจทก์ไม่ได้นําสืบโต้แย้งถึงการยึดและอายัดทรัพย์สินจำนวนและมูลค่าดังกล่าวให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จําเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์เกินกว่าจำนวนหนี้ภาษีอากรค้าง
โจทก์มีเงินภาษีที่ค้างชําระในฐานะที่เป็นบุคคลในคณะบุคคล ส. ป. และ ม. ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชําระร่วมกับ ส.และ ม. ทั้งหมด หาใช่รับผิดเพียง 1 ใน 3 ไม่
คำสั่งอายัดที่ให้อายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในบัญชีเงินฝากธนาคาร นั้น จำนวนเงินดังกล่าวเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ระบุจำนวนเต็มตามจำนวนหนี้ภาษีอากรค้างที่โจทก์และคณะบุคคลคงค้างชําระ ณ วันที่มีคำสั่งอายัดว่า ห้ามโจทก์และธนาคารจําหน่าย จ่าย โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นใด นอกจากนําส่งเป็นแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายจําเลยนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งอายัด และหรือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีเงินฝากเข้ามาในบัญชีภายหลังได้รับคำสั่งอายัด หาได้หมายความว่าเป็นจำนวนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ในขณะนั้นไม่ ทั้งได้ความจาก ส. นิติกรชํานาญการของจําเลยว่า เจ้าพนักงานของจําเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีที่เป็นคณะบุคคลไว้ 3 ราย มิใช่บังคับโจทก์เพียงผู้เดียว เมื่อรวมรายการทรัพย์สินที่ได้มีการยึดและอายัดไว้ทั้งหมดแล้ว พบว่าทรัพย์สินของผู้ค้างชําระภาษีที่ได้มีการยึดและอายัดไว้มีราคาประเมินรวม 153,357,884.52 บาท ซึ่งก็ยังมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะชําระหนี้ภาษีอากรค้าง ณ ปี 2561 ซึ่งมีจำนวน 920,047,432.25 บาท ซึ่งจําเลยก็ได้ให้การไว้เช่นนี้ แต่โจทก์ไม่ได้นําสืบโต้แย้งถึงการยึดและอายัดทรัพย์สินจำนวนและมูลค่าดังกล่าวให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จําเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์เกินกว่าจำนวนหนี้ภาษีอากรค้าง
โจทก์มีเงินภาษีที่ค้างชําระในฐานะที่เป็นบุคคลในคณะบุคคล ส. ป. และ ม. ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชําระร่วมกับ ส.และ ม. ทั้งหมด หาใช่รับผิดเพียง 1 ใน 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน: มาตรการทางแพ่งมีผลเหนือกว่าการบังคับคดีสามัญ
มาตรการทางแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มุ่งป้องปรามมิให้มีการนำทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป จึงมิใช่การดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป แม้ตามมาตรา 56 และ 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะบัญญัติให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลตามมาตรา 277 ป.วิ.พ. กับการบังคับคดี: ศาลไม่สามารถวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินและมีคำสั่งอายัดได้
โจทก์ยื่นคำร้องโดยมุ่งประสงค์ขอให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยทั้งสองกับบุคคลอื่นมาให้ถ้อยคำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 277 โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายสินค้าแล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 กับบุคคลอื่นอันเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ทรัพย์สินใดเป็นของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ซึ่งมาตรา 277 บัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือวัตถุพยานซึ่งอยู่ในความยึดถือหรืออำนาจของผู้นั้นเพื่อให้ได้ความเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเรียกบุคคลผู้เคยเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นและพนักงานบัญชีของจำเลยที่ 1 มาให้ถ้อยคำและทำการไต่สวนเกี่ยวกับการขายสินค้าและการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าวอันเป็นการอนุญาตตามคำร้องของโจทก์แล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีคำสั่งใด ๆ ตามคำร้องของโจทก์อีก ส่วนการที่ตามทางไต่สวนจะได้ข้อเท็จจริงเป็นประการใดเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องไปดำเนินการขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 298 ต่อไป โดยมาตรา 277 หาได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการมีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไปเสียทีเดียวดังที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของจำเลยที่ 1 และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งสองดังกล่าวโดยให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหายมานั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์สินในคดีฟอกเงิน: เจ้าหนี้สามัญบังคับคดีขัดต่อกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นมาตรการทางกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และกำหนดมาตรการทางแพ่งในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป แม้มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การดำเนินการทางศาลตามหมวดนี้ให้ยื่นต่อศาลแพ่งและให้นำป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แม้ว่าหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องจะเป็นการอายัดไว้ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากให้เจ้าหนี้สามัญยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราว ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่จนไม่มีมีเหตุที่จะทำการไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินจะมีผลทางกฎหมายโดยนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินเป็นต้นไป โจทก์ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดี ไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปมาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในคดีฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไปได้ และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้สิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยเป็นเจ้าของ ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินดังกล่าวตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญไม่อาจดำเนินการบังคับคดีในคดีนี้เพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีฟอกเงินดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยส่งเงินที่อายัดตามคำพิพากษาไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดีแล้วสละสิทธิ โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะได้รับจากการบังคับชำระหนี้เอาจากบริษัท ก. และหลักประกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ให้แก่โจทก์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1 แล้ว การอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง เมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. ตกลงกันได้ จำเลยที่ 1 ขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยที่ 1 เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนครบถ้วนและโจทก์ตกลงตามข้อเสนอจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจากจำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จึงขอยุติการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และขอให้มีคำสั่งยกเลิกเพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งยกเลิกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ย่อมมีผลให้การบังคับคดีตามคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำเนินไปแล้วถูกเพิกถอนไปด้วยเหตุเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (6) อันเป็นการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 292 (1) และ (5) ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคสี่ บัญญัติให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขออายัดเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้จากโครงการที่เกิดจากการกระทำความผิดมูลฐาน แม้ผู้กระทำผิดถูกฟ้องในความผิดอื่น ก็สามารถบังคับตามกฎหมายป้องกันฟอกเงินได้
ข้อเท็จจริงตามทางวินิจฉัยของศาลแขวงดุสิตปรากฏชัดแจ้งว่า กลุ่มจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นเอกชน ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานรัฐกระทำการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และมาตรา 157 แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 มิได้เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดได้เพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของเจ้าพนักงาน เพียงแต่กรมควบคุมมลพิษโจทก์ในคดีดังกล่าวเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นคดีฉ้อโกงที่มีโทษต่ำกว่า ทั้งยังเป็นคดียอมความได้ เช่นนี้เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) แม้โจทก์จะเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 19 ที่เป็นเอกชนในฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความผิดมูลฐานที่มีการกระทำเกิดขึ้น ก็หาเป็นเหตุเปลี่ยนแปลงการกระทำความผิดมูลฐานให้แปรเปลี่ยนไปไม่