คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนความผิดประมวลรัษฎากรของพนักงานสอบสวนท้องที่
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจสอบสวนไว้ การสอบสวนความผิดตามประมวลรัษฎากรย่อมเป็นไปตามบทบญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นพนักงานสอบสวนท้องที่ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดตามประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ถูกกล่าวหาประพฤติชั่ว แม้เกี่ยวข้องงานบริษัทเอกชน นายกฯมีอำนาจสอบสวน/ปลดออกจากราชการ ศาลไม่ชี้ขาด
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือน โจทก์จะต้องปฏิบัติตนตามวินัยข้าราชการพลเรือนโดยต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่า ไม่รักษาชื่อเสียง อันขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วแล้ว แม้ขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ก็ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับคำร้องทุกข์ของพนักงานสอบสวน ไม่ผูกพันกับอำนาจสอบสวน คดีต่อเนื่องพิจารณาได้หลายท้องที่
การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไปเหตุนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับคำร้องทุกข์ของพนักงานสอบสวน ไม่ต้องมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นก็ได้
การพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ไว้จะมีอำนาจรับคำร้องทุกข์นั้นหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาปัญหาว่าพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดเรื่องนั้นด้วยหรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 มิได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนเสมอไป เหตุนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนในคดีใดเลย ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ในคดีนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีล้มละลาย และสิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองจะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าในทะเล: อำนาจสอบสวนและพิจารณาคดีเมื่อเกิดเหตุในทะเลหลวง
จำเลยใช้ปืนลูกซองยาวยิงจากเรือลำหนึ่งไปยังเรือผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 เส้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา (ฆ่า) แต่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่ พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าในทะเล: เจตนาเล็งเห็นผล แม้ไม่สำเร็จโทษ, อำนาจสอบสวน-พิจารณาคดีในทะเล
จำเลยใช้ปืนลูกซองยาวยิงจากเรือลำหนึ่งไปยังเรือผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 เส้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา (ฆ่า)แต่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีเช็ค: ความผิดเกิดขึ้นที่ใด, สถานที่รับเช็ค, เหตุผลสมควรเชื่อของพนักงานสอบสวน
จำเลยถูกกล่าวหาในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าจำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้บริษัทผู้เสียหายในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง แต่เมื่อบริษัทผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักโดยอ้างว่า จำเลยออกเช็คพิพาทให้บริษัทผู้เสียหายในท้องที่อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักเชื่อเช่นนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรค 2 และเมื่อสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
of 19