คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณและการจ่ายเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานโดยทุจริต
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คดีเงินบำเหน็จพนักงานโรงงานสุรา ไม่ใช่ข้อพิพาทจากสัญญาเช่า แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงาน ค่าจ้าง เงินชดเชย เงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล และค่าทำศพ และบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุรา พ.ศ. 2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทเงินบำเหน็จจากข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่จากสัญญาเช่า
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันเป็นข้อผูกพันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่า และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดงานค่าจ้างเงินชดเชยเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพและบำเหน็จพนักงานและคนงานโรงงานสุราพ.ศ.2501 ก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าดังกล่าว หากแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวมิได้มีมูลฐานมาจากสัญญาเช่า แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จสงเคราะห์พนักงานถึงแก่กรรมเป็นสิทธิของทายาท ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
สิทธิในเงินบำเหน็จเพื่อสงเคราะห์พนักงานไฟฟ้านครหลวงตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตายของพนักงาน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พนักงานมีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย เงินจำนวนนี้จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานระบุให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของพนักงานที่ตาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้การไฟฟ้านครหลวงจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพนักงานถึงแก่กรรม: สิทธิของทายาท ไม่ใช่ทรัพย์มรดก
สิทธิในเงินบำเหน็จเพื่อสงเคราะห์พนักงานไฟฟ้านครหลวงตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตายของพนักงาน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พนักงานมีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย เงินจำนวนนี้จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานระบุให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของพนักงานที่ตาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้การไฟฟ้านครหลวงจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ: ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษ
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า"เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง"เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพและเงินค่ากะเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้างหรือไม่ และมีผลต่อการคำนวณเงินบำเหน็จอย่างไร
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า'เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง'เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โครงสร้างค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ, ดุลยพินิจเลื่อนขั้น, และสิทธิเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง
มติคณะรัฐมนตรีเรื่องโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้ด้วยว่าในการปรับอัตราเงินเดือนนั้นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องคำนึงถึงฐานะและความสามารถทางการเงินประกอบด้วยโดยให้ได้รับเพิ่มขึ้นไม่เกินไปกว่าตารางปรับค่าจ้างเงินเดือนโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนดังกล่าวเป็นอัตราขั้นสูงที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะพิจารณาปรับให้ลูกจ้างของตนได้มิใช่อัตราตายตัวที่รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะต้องปรับแก่ลูกจ้างของตนเมื่อปรากฏว่ากิจการโรงงานกระสอบของจำเลยขาดทุนจำเลยย่อมมีอำนาจปรับค่าจ้างเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างต่ำกว่าขั้นสูงของโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนได้. ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยการเลื่อนขั้นเงินเดือนมิใช่เป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่โจทก์จะได้รับเสมอไปกรณีย่อมต้องอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาว่าควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้หรือไม่ด้วยเมื่อจำเลยต้องปิดกิจการโรงงานกระสอบโดยที่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในเงินเดือนที่ยังไม่ได้พิจารณาเพิ่มให้หาได้ไม่และศาลไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยใช้ดุลยพินิจเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ได้. โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะโรงงานกระสอบขาดทุนจนต้องปิดกิจการกรณีจึงต้องด้วยข้อบังคับโรงงานกระสอบกระทรวงการคลังว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ11ซึ่งโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จอย่างมากไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180วันตามข้อ11.3แต่โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปแล้วสูงกว่าสิทธิอันพึงได้แม้นำเอาค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จก็ยังได้ไม่เท่ากับเงินที่โจทก์ได้รับไปแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเพิ่มอีกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมา ขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วยลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงานโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว
of 18