คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: เงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากรเป็นทางแก้เฉพาะแล้ว ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. เพิ่มเติมได้
ป. รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาทบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีที่ค้างไว้โดยเฉพาะ แล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่า เมื่อมีกฎหมายเฉพาะกำหนดเงินเพิ่มสำหรับหนี้ภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ร.บ.ศุลกากรและประมวลรัษฎากร บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ และของเงินภาษีที่ต้องชำระแต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับ ซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงจะนำป.พ.พ.มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ไม่ได้.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน แม้มีกฎหมายอนุญาต ทั้งนี้มีเงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากรเพียงพอแล้ว
เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น โจทก์จะเรียกเอาดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีอีกไม่ได้เพราะ ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีค้างชำระอยู่แล้วและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระจึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยซ้ำซ้อนจากเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล: ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนเมื่อมีเงินเพิ่มตามกฎหมายแล้ว
เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้นโจทก์จะเรียกเอาดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีอีกไม่ได้เพราะป.รัษฎากรมาตรา89ทวิบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ1ต่อเดือนของภาษีค้างชำระอยู่แล้วและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระจึงนำป.พ.พ.มาตรา224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกดอกเบี้ยเงินเพิ่มภาษี: กฎหมายภาษีอากรได้กำหนดโทษปรับ (เงินเพิ่ม) เพียงอย่างเดียว ไม่อำนวยสิทธิให้เรียกดอกเบี้ยเพิ่มได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรมาหักลดหย่อนผิดกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรที่ไม่ถูกต้องมาหักลดหย่อน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2). ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19)ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้กรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการ หรือ ยื่นรายการต่ำกว่าที่ควร และการเรียกเงินเพิ่ม
แม้จะมีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีให้ทรัพย์สินกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตกเป็นของรัฐ ก็หาเป็นเหตุให้หนี้ค่าภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระระงับลงไม่ กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจกำหนดเงินได้สุทธิของจอมพลสฤษดิ์แล้วทำการประเมินภาษีเงินได้ กองมรดกต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระภาษีและเงินเพิ่มภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน มิใช่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลย แต่เป็นการทวงถาม หรือเตือนจำเลยให้ชำระหนี้ และกรณีไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354,355 และ 203 วรรคสองโจทก์ฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 โดยไม่จำต้องรอให้ ครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับ หนังสือแจ้งการประเมินก่อน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ปัญหาว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆไม่ใช่เงินฝากของจอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิง วิจิตรา จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่ชอบเสียก่อน แล้วจึงฎีกาต่อไปว่าเงินฝาก ในธนาคารดังกล่าว ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จำเลยฎีกา เพียงว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆ ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จึงไม่ชอบ เพราะไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่วินิจฉัยให้
เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายในการบริจาคการกุศลเป็นส่วนหนึ่งของเงินได้ เพราะจะต้องมีเงินได้เสียก่อนแล้วจึงจะสามารถนำไปจ่ายได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำยอดเงินค่าใช้จ่าย ดังกล่าวไปรวมเข้ากับยอดเงินและมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น แล้วกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจึงเป็นการชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นทายาทคนหนึ่งของจอมพลสฤษดิ์ มีหน้าที่แสดงรายการเงินได้ของจอมพลสฤษดิ์ โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการโอนกิจการและเงินได้ที่ซ่อนเร้น การประเมินและเงินเพิ่ม
เงินที่โจทก์ได้รับจาก อ. เป็นค่าตอบแทนส่วนหนึ่งในการโอนกิจการซื้อขายที่ดินรวมทั้งหนี้สินและทรัพย์สินตามสัญญาจ่ายเงิน 2 ฉบับ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา40(8)
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินแล้ว แต่เสียภาษีไม่ถูกต้อง และยื่นรายการไม่ครบ โดยไม่ได้นำเงินเดือนที่ได้รับปีละ 6,000 บาท เข้าไปด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องปกปิดรายได้ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงให้เสียภาษีน้อยลง จึงไม่สมควรลดเงินเพิ่มให้
of 15