คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหน้าที่รัฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ - ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด - การประเมินค่าเสียหาย - ดอกเบี้ย
กรมพิธีการทูตจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลย ย่อหย่อน ไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ จนจำเลยที่ 1 เคยนำรถไปจอดค้างคืนที่บ้านของตนเอง รวมทั้งสามารถนำรถออกไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวโดยพลการทั้งที่ขัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์การใช้รถราชการ เข้าลักษณะที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถอันเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการการ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปเฉี่ยวชนจนทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยประมาท จึงถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ไม่สามารถเดินได้ตามปกติโดยหลังเกิดเหตุภายหลังการรักษาทำให้ขาข้างขวาสั้นกว่าขาข้างซ้าย ถือว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ-สัญญาซื้อขาย: ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากเอกสารปลอมและการแบ่งความรับผิดกับผู้ขาย
เมื่อปรากฏว่าบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ต้องส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถให้แก่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครเมื่อได้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายหรือผลิตหรือประกอบรถขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย โดยต้องจัดส่งเอกสารประกอบหนังสือแจ้ง คือ บัญชีรับและจำหน่ายรถใบเสร็จรับเงินอากรขาเข้า ใบรับรองการนำเข้า สำเนาใบขนสินค้าขาเข้า บัญชีแสดงรายการสินค้าหรืออินวอยซ์ ทั้งต้องจัดส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถของแต่ละเดือนให้นายทะเบียนกรุงเทพมหานครทราบ แสดงว่าหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมีอยู่ที่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครครบถ้วนแล้ว เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถใหม่จึงสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าหลักฐานของผู้ยื่นคำขอตรงกับที่บริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์แจ้งมาหรือไม่ การที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกขั้นตอนรวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายทะเบียนมิได้ตรวจสอบทั้งที่ปรากฏข้อพิรุธของเอกสารอย่างชัดเจน จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อมีการออกใบคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 5 ทำให้โจทก์ทั้งสองหลงเชื่อเอกสารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกสารที่ออกโดยถูกต้องจึงตกลงซื้อรถยนต์คันพิพาท เมื่อมีการตรวจพบในภายหลังว่าเอกสารที่จำเลยที่ 5 นำไปยื่นต่อนายทะเบียนเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 2 จึงมีประกาศยกเลิกการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทและแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งใบคู่มือจดทะเบียนและแผ่นป้ายทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียน จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ใช้รถยนต์คันพิพาททั้งที่ชำระเงินค่ารถไปครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในผลแห่งละเมิดที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ ต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินค่ารถจำนวน 1,350,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น เท่ากับโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องเสียค่าเช่ารถมาใช้แทนรถยนต์คันพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในความเสียหายส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246 แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในการรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถใหม่เป็นเอกสารปลอม ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย แต่โดยเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้ละเมิดอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แม้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจำนวนเดียวกันแต่ก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสองเต็มจำนวนได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในหน่วยงานของรัฐ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเอกสารต่างๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ในการกระทำและความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15805/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสบคบกันเรียกรับทรัพย์สินจากผู้ค้าแผงลอยโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยริมบาทวิถีถนนราชดำเนินกลางด้านทิศใต้ ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เรียกรับเงินจากผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายวางแผงขายสลากกินแบ่งรัฐบาลบนบาทวิถีโดยละเว้นไม่กระทำการในตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้เสียหาย โดยมิชอบด้วยหน้าที่และโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำซึ่งไม่ใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุน ตาม ป.อ. มาตรา 86
สภาพทางเท้าปูตัวอิฐตัวหนอนไปจนถึงขอบบันไดอาคารมีลักษณะเป็นผืนเดียวกันไม่มีการแบ่งแยกชัดเจนว่าทางเท้าของกรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดที่จุดใด การตั้งวางแผงลอยขายของต่างๆ มีทั้งส่วนที่อยู่ใต้ชายคาอาคารและส่วนที่ล้ำออกมานอกชายคาอาคารผู้เสียหายตั้งแผงลอยขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่บนทางเท้า อันถือว่าเป็นถนนตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางบ้างเมือง พ.ศ.2535 แล้ว
ในการพิจารณาคดีของศาล หากมีพยานคู่แต่ไม่สามารถนำสืบได้ในคราวเดียวกัน ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานคู่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13894/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐสั่งจ่ายเงินขาดบัญชี และการทุจริตยักยอกเงินของหน่วยงาน
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงิน 4,912,961.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มิได้ดำเนินการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายในคดีดังกล่าว เพราะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ไปก่อนแล้วนั้น ไม่ใช่การโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มีผลผูกพันโจทก์ร่วมว่า จำเลยร่วมกันทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปจำนวน 4,496,323.83 บาท ว่ามีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9368/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตประมูลงานก่อสร้าง, บิดเบนข้อเท็จจริง, เบียดบังผลประโยชน์, มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 รับราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลหัวลำ ช่วยราชการองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยที่ 2 เป็นกำนันตำบลซับจำปา และเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจผลการปฏิบัติและตรวจรับงานตามสัญญาจ้าง โดยจำเลยทั้งสองทราบแต่แรกแล้วว่างานจ้างเหมาก่อสร้างถนนตามสัญญามีความยาว 1,350 เมตร การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกไปตรวจสอบการก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหายเพราะหากจำเลยที่ 1 ไปตรวจย่อมทราบได้ว่าถนนที่ก่อสร้างเสร็จมีความยาวเพียงประมาณ 1,024 เมตร การที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทำหลักฐานเท็จด้วยเจตนาพิเศษที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาและเป็นการกระทำโดยสุจริต ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาต้องจ่ายเงินค่าจ้างเกินไป และมีผู้ได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นค่าก่อสร้างที่เกินไปจากความจริง แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะนำเงินค่ารับจ้างส่วนที่รับเกินไปมาคืน ก็เนื่องมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาแจ้งเรียกเงินคืน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง แม้เกิดละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 และที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 และที่ 9 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐหลายคน กรณีทุจริตเบิกจ่ายเงิน ความรับผิดจำกัดเฉพาะส่วน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาการอนุมัติเบิกจ่ายเงินและในชั้นตรวจจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์ก่อนที่จะเก็บฎีกาไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินสุขาภิบาล พ.ศ.2531 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงนามโดยมิได้มีการตรวจสอบตามระเบียบดังกล่าว อันทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินไปใช้ส่วนตัวโดยทุจริต จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์คาบเกี่ยวก่อนและหลังวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 8 วรรคสี่ ที่บัญญัติเป็นคุณแก่เจ้าหน้าที่มาใช้บังคับต่อการทำละเมิดหลังวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มีผลใช้บังคับ ส่วนการทำละเมิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 432

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8692/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: มูลละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ vs. ผิดสัญญาจ้างแรงงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอ้างถึงการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพียงประการเดียว ดังจะเห็นได้จากข้อหาหรือฐานความผิดหน้าฟ้อง โจทก์ระบุว่าผิดสัญญาจ้างแรงงาน ละเมิด เรียกค่าเสียหาย และบรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดำเนินงานตามที่โจทก์มอบหมาย อนุมัติ และให้ความเห็นชอบ และระบุถึงการปฏิบัติงานของจำเลยว่าเป็นการผิดข้อบังคับองค์การสะพานปลา เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น แม้ว่าผู้อำนวยการโจทก์จะทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 เกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เหตุคดีนี้เกิดเมื่อเดือนเมษายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบอ้างว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์โดยสั่งยกเลิกผลการประกวดราคาดังกล่าว เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่แล้วแต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวจึงเท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์สั่งยกเลิกผลการประกวดราคา เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
of 12