คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความตาม ป.พ.พ.
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำไว้กับโจทก์เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฝ่ายเดียว โดยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงโจทก์หาได้ลงลายมือชื่อ โดยมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 ไม่ จึงไม่ทำให้มูลหนี้-เดิมระงับสิ้นไปเกิดเป็นมูลหนี้ใหม่ คือมูลหนี้เงินที่ต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆตามหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2)ที่แก้ไขใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ที่แก้ไขใหม่ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดคือวันที่ 4 เมษายน 2523ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์ ซึ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี หนี้ตามคำขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทซึ่งจำเลยที่ 3 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: การอ้างเหตุเปลี่ยนแปลงจากคำให้การเดิมในชั้นอุทธรณ์
จำเลยให้การว่า ว.กับพวกมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเสียงข้างมากมิใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ ว.กับพวกลงลายมือชื่อฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ว.กับพวกไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารโจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการตามข้อบังคับธนาคารโจทก์ ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งทนายความให้ฟ้องคดีนั้น เป็นอุทธรณ์ที่อ้างเหตุเรื่องอำนาจฟ้องแตกต่างไปจากคำให้การจึงเป็นการการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการกำหนดโทษที่เหมาะสมในคดีไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสิบเอ็ดได้ร่วมกันทำไม้พยุงอันเป็นไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือมิฉะนั้นจำเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกได้รับไว้โดยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้หวงห้ามของกลางดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นคำฟ้องที่บรรยายครบองค์ประกอบความผิดแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในความผิดฐานใด และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนั้น ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนไม่ และบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 86 ก็มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงหาจำต้องระบุอ้างมาในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดคนร่วมกันมีไม้พยุงเกินกว่า4 ลูกบาศก์เมตร โดยไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูป อันเป็นข้อหาฐานความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคสอง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในทางพิจารณาซึ่งเป็นความผิดอันรวมอยู่ในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ แต่มีโทษเบากว่า ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ยังคงวางโทษเท่ากับโทษที่ศาลชั้นต้นวางมาในฐานเป็นตัวการในความผิดทั้งสองกระทง โดยมิได้กำหนดโทษให้น้อยลงในฐานเป็นผู้สนับสนุน จึงเป็นการวางโทษที่หนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 8 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกา และจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาให้ได้ลดโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7ที่ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา73 วรรคสอง จำคุกคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.อ.มาตรา 86 และมาตรา 73 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ส่วนอัตราโทษยังคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 เป็นเพียงลูกจ้างขนไม้ไปตามคำสั่งของนายจ้าง โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการหากต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจะต้องออกจากราชการ จึงมีเหตุที่ศาลจะรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษทางอาญาที่เปลี่ยนแปลงหลังกระทำผิด: การใช้กฎหมายที่เบากว่าแก่จำเลย
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 35 นั้น ปรากฎว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84 แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: ผลของการลาออกและการมอบอำนาจ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนด ให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส. เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการ เปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะ ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4705/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด: ไม่อาจเปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดีได้
ศาล พิพากษา ถึงที่สุด และ กำหนด วิธีการ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา แล้ว จึง ไม่อาจ จะ เปลี่ยน หรือ กำหนด วิธีการ บังคับคดี ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4704/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด การเปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดี
ศาลพิพากษาถึงที่สุด และกำหนดวิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้วจึงไม่อาจจะเปลี่ยนหรือกำหนดวิธีการบังคับคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยเจตนาทุจริต และการใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิดบัญญัติวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิดกับจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกรณีมติที่ประชุมใหญ่และการเพิกถอนกรรมการ แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่แล้ว ความรับผิดทางละเมิดยังคงอยู่
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงมติถอดถอนกรรมการของโจทก์ที่ 1 ชุดเดิมซึ่งมีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 รวมอยู่ด้วย แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับได้ลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการของโจทก์ที่ 1 และจำเลยร่วมกันทำรายงานประชุมไม่ตรงต่อความจริงขอให้พิพากษาว่ารายงานการประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ชอบกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ และให้จำเลยขอขมาโจทก์ทั้งสามในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำละเมิด แม้ต่อมา ช.ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ที่ 1ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 กับพวก ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ ช.ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นโดยได้มีการลงมติถอดถอนกรรมการชุดซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมติที่ประชุมใหญ่ที่พิพาทกันในคดีนี้ แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่แทนกับมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้ความรับผิดฐานละเมิดตามฟ้องระงับไป ศาลจึงชอบที่จะพิจารณาคดีต่อไปจนสิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกรณีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและการทำรายงานการประชุมที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการอีกครั้งโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ศาลยังคงพิจารณาคดีได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงมติถอดถอนกรรมการของโจทก์ที่ 1 ชุดเดิมซึ่งมีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 รวมอยู่ด้วย แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับได้ลงมติเปลี่ยนแปลง อำนาจกรรมการของโจทก์ที่ 1 และจำเลยร่วมกันทำรายงานประชุมไม่ตรงต่อความจริงขอให้พิพากษาว่ารายงานการประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ชอบกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ที่ 1ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ และให้จำเลยขอขมา โจทก์ทั้งสามในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำละเมิด แม้ต่อมา ช. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 กับพวก ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ ช. ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยได้มีการลงมติถอดถอนกรรมการชุดซึ่งได้รับแต่งตั้ง จากมติที่ประชุมใหญ่ที่พิพาทกันในคดีนี้ แล้วตั้งกรรมการ ชุดใหม่แทนกับมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนเรียบร้อย แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้ความรับผิดฐานละเมิดตามฟ้อง ระงับไป ศาลจึงชอบที่จะพิจารณาคดีต่อไปจนสิ้นกระแสความ
of 40