พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เนื่องจากราคาที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าววรรคสุดท้าย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย คำพิพากษานั้นย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. หลักฐานขัดแย้ง ฟังไม่ได้ว่าขาดคุณสมบัติ
++ เรื่อง ขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852-1915/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุผลเฉพาะเจาะจง นอกเหนือจากราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ได้ราคาต่ำเกินสมควรนอกจากจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม แล้ว ยังจะต้องอ้างด้วยว่าการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593-1594/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินร่วม การครอบครอง และการโอนที่ดิน การซื้อขายที่ไม่ได้ทำตามแบบ และสิทธิการฟ้องเพิกถอน
ทรัพย์สินพิพาทได้มาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยาต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยไม่อาจแยกได้ว่าฝ่ายใดประกอบอาชีพมีรายได้มากน้อยแตกต่างกันอย่างไรการที่จำเลยที่ 1 มีรายได้มากก็เนื่องจากโจทก์ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านดูแลโจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมทรัพย์สินพิพาทด้วย และสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่ทำตามแบบ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ไว้ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท (น.ส.3 ก.) จากจำเลยที่ 3แล้วได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 โอนการครอบครอง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้ายึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจึงได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 3 เมื่อโอนการครอบครองแล้วก็สิ้นสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิใด ๆ แต่กลับเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินและทรัพย์สินให้โจทก์กึ่งหนึ่งและให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ก. ระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้มีคำขอนั้นเป็นการรับรองสิทธิของโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทเสียก่อนที่จะนำไปสู่การบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งให้โจทก์จึงไม่เป็นการเกินคำขอ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของหนังสือ น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางทะเบียนให้จึงบังคับให้ตามคำขอในส่วนนี้ไม่ได้
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่ทำตามแบบ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ไว้ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท (น.ส.3 ก.) จากจำเลยที่ 3แล้วได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 โอนการครอบครอง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้ายึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจึงได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 3 เมื่อโอนการครอบครองแล้วก็สิ้นสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิใด ๆ แต่กลับเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินและทรัพย์สินให้โจทก์กึ่งหนึ่งและให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ก. ระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้มีคำขอนั้นเป็นการรับรองสิทธิของโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทเสียก่อนที่จะนำไปสู่การบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งให้โจทก์จึงไม่เป็นการเกินคำขอ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของหนังสือ น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางทะเบียนให้จึงบังคับให้ตามคำขอในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงหมดพยานกับการดำเนินกระบวนพิจารณา: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณา
ทนายจำเลยแถลงหมดพยาน กรณีมิใช่ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยต่อ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทนายจำเลยแถลงหมดพยานมิใช่แถลงขอเลื่อนคดี เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถูกต้องแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อทนายจำเลยแถลงหมดพยานจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์นั้น เมื่อคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และจำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผิดระเบียบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทนายจำเลยแถลงหมดพยานมิใช่แถลงขอเลื่อนคดี เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถูกต้องแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อทนายจำเลยแถลงหมดพยานจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์นั้น เมื่อคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และจำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผิดระเบียบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุตามกฎหมาย
ผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจริง ที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้คัดค้านทำหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งมอบอำนาจให้ ส. ไปยื่นภายในกำหนดแล้ว ก็ปรากฏว่า ส. ไม่ได้ไปยื่นหนังสือเนื่องจากไปถึงล่วงเวลา ดังนี้ จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายด้วย เมื่อผู้คัดค้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย ผู้คัดค้านจึงเสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายบริการและการเพิกถอนการจดทะเบียน แม้เป็นคำสามัญและใช้กับบริการต่างประเภท
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกัน แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการของโจทก์มีคำว่า PLACE กับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า อาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารนั้นที่เรียกกันว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลย จึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองและอาจเรียกขานเครื่องหมายบริการทั้งสองว่าโอเรียนเต็ลเหมือนกัน เครื่องหมายบริการทั้งสองต่างใช้คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ แม้ตัวอักษร O ตัวแรกในเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรตัวอื่น และลายเส้นตัวอักษรแต่ละตัวมีความหนาบางประสมกันแตกต่างจากเครื่องหมายบริการของจำเลยที่มีขนาดตัวอักษรและความหนาของลายเส้นเสมอกันทุกตัว ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ยังเป็นคำ คำเดียวกันเรียกขานเหมือนกันเป็นจุดสำคัญอยู่ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงนับว่าคล้ายกับเครื่องหมายบริการของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการของโจทก์อยู่ใกล้ชิดกับโรงแรมที่ใช้เครื่องหมายบริการของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงนับได้ว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายบริการ ORIENTAL ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและโอกาสสับสนในเชิงธุรกิจ
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกันโดยแม้จะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการ ของโจทก์มีคำว่า PLACEกับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วย แต่ก็ได้ความว่าอาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ใช้คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารที่เรียกว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยจึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองที่ต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่แม้ขนาดและลายเส้นตัวอักษรจะแตกต่างกันก็เป็นเพียงในรายละเอียดเล็กน้อยที่มีเสียงเรียกขานเหมือนกัน จึงนับว่าเครื่องหมายทั้งสองคล้ายกัน
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7616/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกรอการลงโทษและการเพิกถอนการรอการลงโทษเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมประพฤติ คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 1 ปี แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 4 ไว้ 1 ปี ต่อมาจำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ลงโทษจำคุกที่รอไว้แก่จำเลยที่ 4 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นอันถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยที่ 4 จะฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำสั่งศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หาทำให้คดีของจำเลยที่ 4 ซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นไม่ถึงที่สุดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบตามกฎหมาย เนื่องจากจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินจริง
จำเลยมิใช่ผู้มิสิทธิครอบครองที่พิพาท ฉะนั้น การออก น.ส.3 ก. เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองและ ได้ทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการออก น.ส.3 ก. ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามสิทธิของโจทก์ จะบังคับให้จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโอนสิทธิครอบครอง ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247