คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังยกเลิกการล้มละลาย: ศาลขาดอำนาจเมื่อลูกหนี้พ้นสภาพ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งลูกหนี้ (จำเลย)โอนขายให้ผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและผู้ร้องฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (จำเลย) ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ (จำเลย) ต่อไปลูกหนี้ (จำเลย) พ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22,24 และ 114 ที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ต้องจำหน่ายคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังการยกเลิกการล้มละลาย และผลกระทบต่อการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งลูกหนี้ (จำเลย)โอนขายให้ผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและผู้ร้องฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (จำเลย) ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ (จำเลย) ต่อไปลูกหนี้ (จำเลย) พ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22,24 และ 114 ที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ต้องจำหน่ายคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดก การเพิกถอนการโอนที่ดิน และการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นบัญชีพยานจำเลยในวันสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน บัญชีพยานดังกล่าวอ้างตัวจำเลยทั้งสามซึ่งแม้เป็นกรณีจำเลย ขาดนัดยื่นคำให้การ กฎหมายก็ยังให้จำเลยเบิกความเป็นพยานตนเองได้ และปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานตามกำหนด เพราะทนายจำเลยติดการประชุมสภาจังหวัด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ให้จำเลยยื่นบัญชีพยาน โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88วรรคสามจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยอ้างว่ายังบกพร่องอยู่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต โจทก์แถลงคัดค้าน แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพิกถอนคำสั่ง แล้วสั่งใหม่ว่า สำเนาให้โจทก์ โจทก์แถลงคัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตใหม่ โจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งนี้ไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหลานเจ้ามรดก มีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ เจ้ามรดกมีที่ดิน 3 แปลงได้ยกให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตาย โจทก์ครอบครอง ตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนที่ดินทั้ง 3 แปลง แก่ จำเลยที่ 3 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นของโจทก์ และเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นมรดกและเจ้ามรดกมิได้ยกให้โจทก์แต่โจทก์เป็นทายาท มีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ระหว่างจำเลยเฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิรับมรดก และให้โอนที่ดิน ที่เพิกถอนนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดก การเพิกถอนการโอนที่ดิน และประเด็นการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นบัญชีพยานจำเลยในวันสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนบัญชีพยานดังกล่าวอ้างตัวจำเลยทั้งสามซึ่งแม้เป็นกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกฎหมายก็ยังให้จำเลยเบิกความเป็นพยานตนเองได้และปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานตามกำหนดเพราะทนายจำเลยติดการประชุมสภาจังหวัดการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีพยานโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสามจึงชอบแล้ว จำเลยยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยอ้างว่ายังบกพร่องอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตโจทก์แถลงคัดค้านแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพิกถอนคำสั่งแล้วสั่งใหม่ว่าสำเนาให้โจทก์โจทก์แถลงคัดค้านเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตใหม่โจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งนี้ไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหลานเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์เจ้ามรดกมีที่ดิน3แปลงได้ยกให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโจทก์ครอบครองตลอดมาเกินกว่า10ปีแล้วจำเลยที่1ที่2โอนที่ดินทั้ง3แปลงแก่จำเลยที่3ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นของโจทก์และเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยเมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นมรดกและเจ้ามรดกมิได้ยกให้โจทก์แต่โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยเฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิรับมรดกและให้โอนที่ดินที่เพิกถอนนั้นแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่เป็นสินสมรส เนื่องจากผู้ซื้อรู้ถึงข้อพิพาทและสถานะเจ้าของร่วม
เมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งสมรสกันมาตั้งแต่พ.ศ.2475โดยยังมิได้หย่าร้างกันดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามป.พ.พ.มาตรา1475 จำเลยที่3เป็นบุตรของจำเลยที่1เคยทราบว่ามารดาและพี่ชายเคยถูกโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินบางแปลงมาแล้วแสดงว่าจำเลยที่3ทราบดีว่าโจทก์ก็ยังเป็นภริยาจำเลยที่1อยู่นอกจากนี้ในวันโอนที่ดินแปลงพิพาทก็ได้ทราบจากพนักงานที่ดินแล้วว่าโจทก์เคยอายัดที่ดินแปลงนี้ไว้แต่หมดอายุแล้วแต่จำเลยที่3ก็ยังฝืนรับซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จึงส่อถึงเจตนาอันไม่สุจริตฉะนั้นเมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จำเลยที่1จะขายที่ดินแปลงนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์หรือโจทก์ให้สัตยาบันเสียก่อนการขายนั้นจึงจะสมบูรณ์การที่จำเลยที่1ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่3โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสเนื่องจากผู้ซื้อไม่สุจริตและไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม
เมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งสมรสกันมาตั้งแต่พ.ศ.2475โดยยังมิได้หย่าร้างกันดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1475. จำเลยที่3เป็นบุตรของจำเลยที่1เคยทราบว่ามารดาและพี่ชายเคยถูกโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินบางแปลงมาแล้วแสดงว่าจำเลยที่3ทราบดีว่าโจทก์ก็ยังเป็นภริยาจำเลยที่1อยู่นอกจากนี้ในวันโอนที่ดินแปลงพิพาทก็ได้ทราบจากพนักงานที่ดินแล้วว่าโจทก์เคยอายัดที่ดินแปลงนี้ไว้แต่หมดอายุแล้วแต่จำเลยที่3ก็ยังฝืนรับซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จึงส่อถึงเจตนาอันไม่สุจริตฉะนั้นเมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จำเลยที่1จะขายที่ดินแปลงนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์หรือโจทก์ให้สัตยาบันเสียก่อนการขายนั้นจึงจะสมบูรณ์การที่จำเลยที่1ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่3โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงนี้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง ย่อมถือว่าเป็นการเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของที่ดินด้วย
คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มุ่งประสงค์บังคับถึงสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกอยู่ในที่ดินที่พิพาทกันด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิเสธว่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ โจทก์จะเพิกถอนเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ และมิได้ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำสืบ ทั้งสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่าหากมีการเพิกถอนใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินนั้นแล้วย่อมรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองแล้วให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนด ดังนี้ ย่อมหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: พิจารณาเจตนาลูกหนี้ให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบ
การที่ลูกหนี้โอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังที่ลูกหนี้ถูกฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว 15 วัน และให้ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงไปแต่ผู้เดียว โดยที่ยังมีเจ้าหนี้อีกประมาณ 190 ราย ทั้งจำนวนหนี้สินก็มีมากกว่าทรัพย์สินเป็นอันมาก ย่อมเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตลอดจนประชาชนเป็นส่วนรวมมาตรา 115 เป็นกรณีหนึ่งที่มุ่งถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายดังนั้นการเพิกถอนการโอนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: พิจารณาความมุ่งหมายลูกหนี้ ไม่สุจริต/ค่าตอบแทน
การที่ลูกหนี้โอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังที่ลูกหนี้ถูกฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว 15 วัน และให้ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงไปแต่ผู้เดียว โดยที่ยังมีเจ้าหนี้อีกประมาณ 190 ราย ทั้งจำนวนหนี้สินก็มีมากกว่าทรัพย์สินเป็นอันมาก ย่อมเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา115 มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตลอดจนประชาชนเป็นส่วนรวม มาตรา 115 เป็นกรณีหนึ่งที่มุ่งถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายดังนั้น การเพิกถอนการโอนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย และผลต่อการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
ปัญหาที่ว่าเมื่อศาลสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนอยู่ต่อไปหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่พระราชบัญญัติล้มละลายบัญญัติให้มีการพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งแก่เจ้าหนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของลูกหนี้แทนลูกหนี้ครบถ้วน และหนี้สินของลูกหนี้ได้รับชำระเต็มจำนวนแล้ว ซึ่งศาลก็ได้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้วเช่นนี้ จึงมีผลเท่ากับว่าศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไปด้วยในตัว อำนาจในการที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสิ้นสุดลง
of 15