พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาล
ในคดีอาญา ศาลได้ทำการไต่สวนมูลฟ้อง สั่งว่าคดีมีมูลประทับฟ้อง และให้หมายเรียกจำเลยมาให้การแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์ กับให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 3 วัน โดยโจทก์ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งนั้นแล้ว ต่อมาได้มีการนำส่งหมายเรียกแก่จำเลยโดยขอให้ศาลอื่นจัดการส่งให้เพราะจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ศาลที่จัดการส่งหมายให้แจ้งมาว่าส่งหมายให้จำเลยไม่ได้เนื่องจากจำเลยไปอยู่ที่อื่น ไม่มีผู้ใดรับหมายแทน ศาลเจ้าของคดีสั่งลงในหนังสือนำส่งหมายคืนนั้นว่าให้โจทก์ทราบ จะดำเนินการอย่างไรต่อไปให้แถลงภายใน3 วัน แต่ไม่ปรากฏว่าคู่ความได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งนี้ ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเลยกำหนด 3 วันแล้วเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า โจทก์มิได้มาติดต่อหรือยื่นคำแถลงต่อศาล ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะโจทก์ยังไม่ทราบคำสั่งของศาลที่ให้แถลงภายใน 3 วันนั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความแล้ว ในวันเดียวกันนั้นเองโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุผลว่า โจทก์มิได้จงใจที่จะทิ้งฟ้อง ขอให้ศาลเรียกจำเลยมาแก้คดีและดำเนินคดีต่อไป ศาลได้ตรวจสำนวนและบัญชีนัดแล้ว จึงได้ทราบว่าได้ส่งไปโดยผิดหลง ดังนี้ ศาลนั้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้ และแม้จะมิได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์ และมิได้สอบถามจำเลย ก็ไม่เป็นการผิดกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความแล้ว ในวันเดียวกันนั้นเองโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุผลว่า โจทก์มิได้จงใจที่จะทิ้งฟ้อง ขอให้ศาลเรียกจำเลยมาแก้คดีและดำเนินคดีต่อไป ศาลได้ตรวจสำนวนและบัญชีนัดแล้ว จึงได้ทราบว่าได้ส่งไปโดยผิดหลง ดังนี้ ศาลนั้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้ และแม้จะมิได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์ และมิได้สอบถามจำเลย ก็ไม่เป็นการผิดกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุด โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอน แม้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว
จำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุด ทั้งโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว เป็นเหตุให้คดีระงับไปตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 126 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เป็นฎีกาในปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับตามมาตรา 126 เท่านั้น หามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นระงับไปด้วยไม่
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับตามมาตรา 126 เท่านั้น หามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่ง ก.ล.ร. ไม่เป็นที่สุด โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องเพิกถอน แม้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว
จำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุดทั้งโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว เป็นเหตุให้คดีระงับไปตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 126 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับไปตามมาตรา 126 เท่านั้นหามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น ระงับไปด้วยไม่
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับไปตามมาตรา 126 เท่านั้นหามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น ระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีแพ่งต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือภูมิลำเนาจำเลย หากฟ้องผิดศาล ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในข้อหาละเมิด ต้องอยู่ ในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ซึ่งให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี มิได้อยู่ที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีในเขตอำนาจศาลแพ่งโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งโดยศาลแพ่งมิได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมไม่ได้
ศาลแพ่งสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพราะโจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปรากฏว่า(ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง) จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งศาลแพ่งย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องของโจทก์ได้
ศาลแพ่งสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพราะโจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปรากฏว่า(ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง) จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งศาลแพ่งย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปิดโรงแรมขัดดุลพินิจ: การเพิกถอนคำสั่งที่ออกโดยอธิบดีหลังศาลยกฟ้อง
อธิบดีเป็นผู้แสดงเจตนาแทนกรมตำรวจ คำสั่งปิดโรงแรมของอธิบดีเป็นคำสั่งของกรมตำรวจ ซึ่งกรมตำรวจต้องรับผิด คำสั่งปิดโรงแรมอ้างว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในโรงแรม แต่สั่งภายหลังที่ศาลยกฟ้อง ไม่ฟังว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในโรงแรมแล้ว เป็นคำสั่งที่ไม่มีเหตุผลอ้างเพื่อใช้ดุลพินิจเช่นนั้น ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถา: การเพิกถอนคำสั่งเดิมและการอุทธรณ์คำสั่งศาล
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอทุธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156 วรรคสามไม่ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้อนุบาลและการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งเนื่องจากละเลยหน้าที่ รวมถึงประเด็นอำนาจฟ้องของญาติ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจากพี่ของมารดาของคนไร้ความสามารถฟ้องขอถอนจำเลยจากเป็นผู้อนุบาล ศาลพิพากษายุติไปแล้วว่าโจทก์ฟ้องได้ในฐานเป็นญาติสนิท จำเลยจะฎีกาในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาพร้อมกับประเด็นข้ออื่นอีกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ศาลฎีกาก็พิจารณาปัญหานี้ไม่ได้ตาม มาตรา 144
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งปรับนายประกันที่ถึงแก่กรรมก่อนการแจ้งมีผล การเพิกถอนคำสั่งปรับ และอำนาจลดค่าปรับของศาล
นายประกันทำสัญญาประกันตัวจำเลยต่อศาล ต่อมาศาลออกหมายนัดให้ส่งตัวจำเลย เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานว่านายประกันไม่มีตัวอยู่ในท้องที่นั้น ไม่สามารถส่งหมายให้ได้ ศาลสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศแจ้งวันนัดที่ศาล ถึงกำหนดแล้วนายประกันมิได้ส่งตัวจำเลย ศาลจึงสั่งปรับนายประกันเต็มตามสัญญา และส่งหมายให้นายประกันทราบคำสั่งโดยวิธีปิดคำสั่งไว้ที่ศาล แต่นายประกันได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่การส่งหมายดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้จะถือว่านายประกันได้ทราบคำสั่งให้ปรับนายประกันแล้วยังไม่ได้ ระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงยังไม่เริ่มนับ และคำสั่งปรับนายประกันยังไม่ถึงที่สุดผู้จัดการมรดกของนายประกันจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลที่สั่งให้ปรับนายประกันได้ เมื่อศาลไต่สวนคำร้องแล้ว ได้ความว่า การที่นายประกันไม่มีตัวอยู่ที่ภูมิลำเนาในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ไปส่งหมายนัดเป็นเพราะเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจนถึงแก่กรรม ทั้งจำเลยเองก็ได้มามอบตัวต่อศาลแล้ว ดังนี้ ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะลดค่าปรับนายประกันลงตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 (1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้หากคำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการหลงผิด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)