พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญา
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาท มีกำหนดเวลา12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชี แล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม2526 จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526 อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือ ช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ ป.พ.พ.มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือ ช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ ป.พ.พ.มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาทมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีแล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม 2526จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลย ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-การผิดสัญญาซื้อขาย-การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย-อำนาจฟ้อง-เลิกสัญญา
คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าได้บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำ กับเบี้ยปรับจากจำเลยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนมีว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบ แล้วหรือไม่ แต่คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โดยศาลยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาในคดีก่อน จำเลย โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิด สัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีนี้ กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ การที่จำเลยโอนที่ดินที่จะซื้อขายให้บุคคลอื่นย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยย่อมไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้อีก การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบส่วนการที่โจทก์จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายให้ที่พิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้หรือไม่ อย่างไร เป็นคนละกรณีกับการชำระหนี้ซึ่งตก เป็นพ้นวิสัย ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 ในตัวอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำ พร้อมเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ไปทำการ โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์ไม่จำต้อง บอกกล่าวให้จำเลยไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาเรื่องเงินชำระค่าซื้อและการฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสามขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่นเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียงก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิในการริบเงินดาวน์ หากผู้เช่าซื้อผิดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสาม ขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000 บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญา ซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่ จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้น เป็นส่วนหนึ่ง ของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหาย แก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์ จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิรับเงิน70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่น เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียง ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ (ทนายความ): สิทธิเลิกสัญญา, ค่าจ้างตามผลงาน, และการประเมินค่าเสียหาย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงาน หรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้าง ไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาด มิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนาย เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ ค่าจ้างเมื่อเลิกสัญญาก่อนผลงานเสร็จสิ้น การพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้นจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: การเลิกสัญญาจ้างทำของก่อนคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญา จ้าง ว่า ความ เป็น สัญญา จ้าง ทำ ของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือ เอา ผลสำเร็จ ของงาน คือ การ ดำเนินคดี หรือ ทำ หน้าที่ ทนายความ ตั้งแต่ตระเตรียม คดี และ ว่า ต่าง หรือ แก้ต่าง ใน ศาล ไป จน คดี ถึง ที่สุดและ การ จ่าย สินจ้าง ต้อง ถือเอา ความสำเร็จ ของ ผลงานหรือ จ่าย สินจ้าง ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ แม้ ข้อตกลง ว่า ผู้ว่าจ้าง จะชำระ สินจ้าง ให้ เต็ม ตาม จำนวน ใน สัญญาจ้าง ไม่ว่า ผู้ว่าจ้างจะ เลิก สัญญา ใน ชั้นใด หรือ เวลา ใด ก็ ไม่ใช่ ข้อสัญญา ที่ ผูกมัดตัด ทอน เสรีภาพ ของ ผู้ว่าจ้าง เพราะ มิได้ ห้าม เด็ดขาดมิให้ ผู้ว่าจ้าง ถอน ทนาย เพียง แต่ มี เงื่อนไข ว่าหาก ถอน ทนาย ผู้ว่าจ้าง ก็ ยัง ต้อง ชำระ ค่า สินจ้าง เต็ม จำนวนใน สัญญา เท่านั้น จึง ไม่ ขัด ต่อ ความ สงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน ข้อตกลง เช่นว่า จึงมี ผลบังคับ ได้ แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างที่ไม่ชอบ การกำหนดระยะเวลาสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้การดำเนินการก่อสร้างของโจทก์ล่าช้า คนงานน้อย เครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา แต่สัญญาว่าจ้างฉบับพิพาทระบุเพียงว่า ผู้รับจ้างจะทำการก่อสร้างให้อยู่ภายในสัญญาจะเกินสัญญาไม่ได้เท่านั้น สัญญาว่าจ้างมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดแจ้ง ทั้งโจทก์ก็ประสงค์จะทำงานต่อไปหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ทำงานล่าช้ามาก จะเกิดความเสียหาย จำเลยทั้งสองจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อน ตามป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยมิได้กระทำ แต่จำเลยกลับให้โจทก์หยุดดำเนินการก่อสร้างทันที และว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างแทนโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวย่อมเป็นการใช้สิทธิในการเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆอันเกิดจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 605