พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ 2521 ไม่กำหนดระยะเวลาใช้ประโยชน์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้ อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติ กำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 ก็ดีหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 ก็ดีหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมตามประกาศ คณะปฏิวัติและราคาตลาด
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 แม้ในข้อ 25 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวจะบัญญัติให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของแต่ก็ให้นำข้อ 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น คำว่า 'ชดใช้ค่าเสียหาย' ในข้อ 25 ก็คือ'ค่าทำขวัญ' ตามข้อ 24 นั่นเอง
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น. เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิง แต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น. เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิง แต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาตามราคาตลาด และอำนาจการจ่ายค่าทดแทน
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาปานกลางที่กรมที่ดินประเมินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นการไม่ชอบเพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 ระบุให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ซึ่งให้กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาดตามประกาศคณะปฏิวัติ ไม่ใช่ราคาประเมินกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมด
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาปานกลางที่กรมที่ดินประเมินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นการไม่ชอบเพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่27 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 ระบุให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ซึ่งให้กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาทดแทนต้องเป็นธรรมตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินและสภาพทำเล ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่สมยอมกัน
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกับ ราคาที่ดินใกล้เคียงทำสัญญาซื้อขายกันสูงกว่าราคาจริง โดยสมยอมเพื่อต่อรองเมื่อมีการเวนคืน อนุญาโตตุลาการนำมาอาศัยกำหนดราคาเวนคืน จึงขัดต่อกฎหมาย ศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงค่าทดแทนที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และระยะเวลาการจ่ายเงินค่าทดแทน
หนังสือที่คณะกรรมการเวนคืนมีไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม2516 ความว่า ได้ประชุมพิจารณาตกลงค่าทดแทนที่ของโจทก์แล้ว คิดราคาทดแทนเฉลี่ยให้ไร่ละ 252,000 บาท ถ้าไม่มีข้อทักท้วงประการใด ขอให้ลงนามรับราคา เพื่อดำเนินการอนุมัติจ่ายเงินต่อไปนั้น เป็นเพียงหนังสือของคณะกรรมการฯ แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณาตกลงค่าทดแทนที่ดินของโจทก์กันเสร็จแล้ว โดยคิดราคาทดแทนเฉลี่ยให้ไร่ละ 252,000 บาท และขอทราบความประสงค์ของโจทก์ว่ายินดีจะรับราคาตามที่เสนอมานั้นหรือไม่ อันเป็นการทำความตกลงกันในเบื้องต้นตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคแรกเท่านั้น เอกสารฉบับนี้ยังถือไม่ได้ว่าได้ตกลงกันในเรื่องนี้แล้วตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เพราะยังไม่มีการเขียนข้อตกลงและเงื่อนไขลงไว้ และทั้งสองฝ่ายคือโจทก์กับคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ส่วนบันทึกข้อตกลงที่จำเลยอ้างนั้น ได้ทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินทดแทนซึ่งได้กำหนดไว้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 อันอยู่ในระยะเวลาภายใน90 วัน นับแต่วันที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจากจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 30
ส่วนบันทึกข้อตกลงที่จำเลยอ้างนั้น ได้ทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินทดแทนซึ่งได้กำหนดไว้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 อันอยู่ในระยะเวลาภายใน90 วัน นับแต่วันที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจากจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทราคาเวนคืนที่ดินต่อนอกศาล และการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรม จึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกันได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ.ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่า ให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ.ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องเวนคืนที่ดิน: การเสนอคดีต่อศาลต้องเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรมจึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกัน ได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ. ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่าให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ. ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501-2504/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อเจรจาค่าเวนคืนที่ดิน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำเลยเป็นเจ้าขอที่ดินที่ถูกเวนคืนเห็นว่าคณะกรรมการเวนคืนที่ดินกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่ำไปไม่เป็นธรรม จึงแต่งตั้งโจทก์ซึ่งเป็นทนายความไปตกลงเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนสูงขึ้นตามที่จำเลยต้องการ โดยตกลงกันว่าถ้าจำเลยได้ค่าทดแทนที่ดินเกินจำนวนราคาที่จำเลยต้องการ ส่วนที่ได้เกินยอมยกให้โจทก์ดังนี้ เป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 การที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งตกลงจะไปเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนที่ดินสูงขึ้นตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยกำหนดสินจ้างกันไว้ตามลักษณะดังกล่าว หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการจนสำเร็จให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมต้องชำระสินจ้างตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501-2504/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างทำของเพื่อเจรจาค่าเวนคืนที่ดิน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนเห็นว่าคณะกรรมการเวนคืนที่ดินกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่ำไปไม่เป็นธรรม จึงแต่งตั้งโจทก์ซึ่งเป็นทนายความไปตกลงเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนสูงขึ้นตามที่จำเลยต้องการ โดยตกลงกันว่าถ้าจำเลยได้ค่าทดแทนที่ดินเกินจำนวนราคาที่จำเลยต้องการ ส่วนที่ได้เกินยอมยกให้โจทก์ ดังนี้ เป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 การที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งตกลงจะไปเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนที่ดินสูงขึ้นตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยกำหนดสินจ้างกันไว้ตามลักษณะดังกล่าว หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการจนสำเร็จให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมต้องชำระสินจ้างตามข้อตกลงนั้น