พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อชำระหนี้: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้เสียชีวิต
การที่ อ. ได้ทำหนังสือเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ล่วงหน้าว่า เมื่ออ. ตายแล้ว ให้ที่พิพาทเป็นสิทธิแก่จำเลยเจ้าหนี้แทนการชำระหนี้เมื่อจำเลยยินยอมตามนี้โดยได้ครอบครองเพื่อตนตั้งแต่ อ. ตายก็เป็นสิทธิที่คู่กรณีกระทำได้โดยชอบ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสุดท้ายการครอบครองที่ดินของ อ.จึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่ออ. ตายนับแต่นั้นมาจำเลยหาได้ครอบครองที่พิพาทแทน อ. หรือโจทก์ผู้เป็นทายาท อ. ไม่ จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไปยังโจทก์ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาที่พิพาทคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีสำหรับผู้วิกลจริตต้องกระทำก่อนการเสียชีวิตของผู้เสียหาย
การร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้วิกลจริตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 นั้น ต้องเป็นกรณีผู้วิกลจริตยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้นการที่ ต. ผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องของตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์แล้ว ดังนี้ ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของSต. ได้
ผู้แทนเฉพาะคดีที่ฟ้องแทนผู้เสียหายจะมีอำนาจว่าคดีแทนผู้เสียหายที่ตายลงต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 นั่น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้ก่อนแล้วที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายรวมถึงกรณีผู้เสียหายได้ตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
ผู้แทนเฉพาะคดีที่ฟ้องแทนผู้เสียหายจะมีอำนาจว่าคดีแทนผู้เสียหายที่ตายลงต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 นั่น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้ก่อนแล้วที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายรวมถึงกรณีผู้เสียหายได้ตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบอกล้างโมฆียกรรมของทายาท: ต้องรอการเสียชีวิตของเจ้าของนิติกรรม
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเช่าซื้อหลังเจ้าของเสียชีวิต: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากทราบการเสียชีวิต
โจทก์เช่าซื้อที่ดินพิพาทจาก ป. และชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วแต่การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นไม่บริบูรณ์กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของโจทก์จนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคหนึ่ง เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีต่อ ป. ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ป. มิฉะนั้นคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดต่อการเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้ารั่ว: ผู้ครอบครองสายไฟฟ้าต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
ข้อบังคับการบริการและใช้ไฟฟ้าระบุว่า สายและอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งต่อจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามายังสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าต้องดูแลรับผิดชอบเอง เมื่อปรากฏว่าการไฟฟ้านครหลวง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดตั้งสายไฟฟ้ามาบรรจบสายที่ตู้โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เท่านั้น และขณะเกิดเหตุ สายไฟฟ้าที่ต่อจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าซึ่งติดกับเสาไฟฟ้าส่วนที่ใกล้ขอบชายคาโทรศัพท์ชำรุดเป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านตู้โทรศัพท์ลงน้ำเป็นเหตุให้ ป. ถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองสายไฟฟ้าที่ชำรุดดังกล่าว จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดแต่ผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และมาตรา 437 วรรค 2 โดยที่จำเลยที่ 1ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีเสียชีวิต และขอบเขตการบังคับคดีที่ดินแปลงย่อย
ศาลฎีกาพิพาากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตามยแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนโจทก์หลังเสียชีวิต: ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมแต่อนุญาตให้เป็นคู่ความแทนได้
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล. เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดเป็นมรดก
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นในกรณีผู้เช่าตาย เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าซึ่งมีอยู่ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 ก็ระงับไป ไม่เป็นทรัพย์สินที่ตกทอดกันทางมรดก ผู้เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทย่อมมีสิทธิที่จะใช้ดุลพินิจให้ผู้ใดเช่าต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทใช้ปืนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตและบาดเจ็บ คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืน
จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ ว. แตกเลือดไหลแล้วกระสุนปืนลั่นไปถูก ด.ตายและส. ได้รับบาดเจ็บ จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิงเพื่อฆ่าหรือทำร้าย ว.กรณีจึงมิใช่เป็นการที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว. แต่ผลของการกระทำเกิดแก่ ด.และส. โดยพลาด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 290,295 ประกอบด้วยมาตรา 60 อย่างไรก็ตามเมื่อการที่กระสุนปืนลั่นเป็นผลให้ ด.ตายและส. ได้รับบาดเจ็บนั้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยในการใช้ปืนตี ว.จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291,390 และถึงแม้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเช่นนี้ศาลก็ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พี่น้องร่วมบิดามารดา แม้มิได้จดทะเบียนสมรส มีสิทธิฟ้องค่าเสียหายจากเหตุเสียชีวิตได้
การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมายบิดามารดาไม่จำต้องจดทะเบียนสมรสกันแต่ต้องถือตามความเป็นจริง ช.ผู้ตายเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ไม่มีผู้สืบสันดานและบิดามารดาก็ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์เป็นทายาทลำดับ3ของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629และเป็นผู้จัดการศพของช.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพจากผู้ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ช.ตาย โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวของช.ร่วมบิดามารดาเดียวกันโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยคือค่าปลงศพค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่1โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการบรรยายว่าโจทก์ฟ้องในฐานะทายาทซึ่งเป็นผู้ปลงศพช.ผู้ตายและในฐานะที่โจทก์ที่1เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งละเมิดว่าต้องเสียหายอย่างไรบ้างฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างแห่งข้อหาโดยไม่จำเป็นต้องบรรยายในรายละเอียดและแสดงหลักฐานมาในฟ้องว่าได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม.