พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่คำบังคับ: กำหนดเวลา 15 วัน และเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่ 29 พฤษภาคม 2538 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 26กันยายน 2538 จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี 2529 แล้วก่อนฟ้องซึ่งโจทก์ทราบดี โดยจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้ อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้ว แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ได้ ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 15 วัน หรือแจ้งเหตุสุดวิสัยพร้อมระบุวันที่สิ้นสุดเหตุ เพื่อให้เริ่มต้นนับระยะเวลาได้
คดีนี้พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ณภูมิลำเนาของจำเลยตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่29พฤษภาคม2538จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่26กันยายน2538จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา15วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี2529แล้วจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด15วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้วแต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด15วันตามมาตรา208ได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-899/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด
คำว่า"เหตุสุดวิสัย"ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำให้ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่29กันยายน2538ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยหากจำเลยจะดำเนินคดีต่อไปให้วางค่าธรรมเนียมศาลภายใน10วันจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งวันที่9ตุลาคม2538ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมาวันที่16ตุลาคม2538จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปมีกำหนด10วันอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งที่ศาลไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยถือว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ที่จำเลยจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อยื่นคำขอขยายระยะเวลาวางเงินภายหลังพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและการเลิกสัญญาโดยความยินยอมของคู่สัญญา
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้ เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้" ดังนั้นในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้วถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้วจำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินติดอายัด: สัญญาไม่เป็นโมฆะ เหตุอายัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาสิ้นสุดตามสัญญาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ทั้งมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้"ดังนั้น ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่)จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัด ถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้ว จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เมื่อขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทสามารถโอนกรรมสิทธิ์กันได้เพียงแต่กรมที่ดินให้มีหมายเหตุไว้ในบัญชีอายัดและกลัดติดไว้ในโฉนดที่ดินว่า"เมื่อมีผู้มาขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ากองทัพบกอ้างว่าเป็นที่สนามบินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจริง ผู้รับโอนย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินนี้แต่อย่างใด ถ้าคู่กรณีทราบแล้วประสงค์จะให้จดทะเบียน ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้"ดังนั้น ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย วัตถุที่ประสงค์ของสัญญามิได้เป็นการพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ใหม่)จึงมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา
เหตุที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งอายัดที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งผลของการแจ้งอายัดนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินเมื่อได้สอบสวนหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงให้ปรากฏแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้ได้มีกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล และให้นำหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมสำเนาคำฟ้องในกรณีที่ขออายัดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัด ถ้าผู้ขออายัดมิได้ปฏิบัติดังกล่าวให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดและจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ถ้าผู้ขออายัดได้แสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่อายัดให้การอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เพราะฉะนั้นการแจ้งขออายัดจึงไม่ทำให้ที่ดินพิพาทถูกห้ามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด และไม่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 อีกทั้งหนังสือแจ้งอายัดก็ไม่ใช่เหตุใด ๆ อันจะเกิด จะให้ผลพิบัติ ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 การที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์
ในวันครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญา ฝ่ายโจทก์นำแคชเชียร์เช็คไปพร้อมชำระราคาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา แต่ต่อมาหลังจากครบกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และไม่สามารถโอนให้ได้แล้ว จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินตามสัญญาภายใน 10 วัน หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งบอกเลิกสัญญาอันเป็นการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาพร้อมกันนั้นโจทก์ก็ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ และราคาที่ได้ชำระแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมาแสดงว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องให้โจทก์ทั้งสองได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งศาล การที่จำเลยอ้างเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถมาศาลได้ทันเวลา ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลได้
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสามในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องชี้แจงเหตุผลในการที่จำเลยทั้งสามมีความจำเป็นจะต้องขอเลื่อนการสืบพยานเนื่องจากในระหว่างเดินทางมาศาล ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนกับรถยนต์บรรทุกหกล้อเป็นเหตุให้ขวางการจราจร ทำให้รถยนต์ประจำทางที่จำเลยที่ 3 นั่งมาเสียเวลาและจำเลยที่ 3 เดินทางมาถึงศาลเวลา 9.40 น.ทั้งเสียเวลาหาห้องพิจารณาคดี จึงรออยู่จนทนายจำเลยทั้งสามมาพบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบต่อสู้คดี กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 3ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยที่ 3จึงอุทธรณ์ฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ งดสืบพยานจำเลยทั้งสามนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ทั้งที่มีโอกาสจะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการส่งมอบสินค้า – การขออนุญาตส่งออกจากรัฐบาลต่างประเทศ
โจทก์ทำสัญญาซื้อกล้องเล็งแบบเอ็ม 53 เอ 1 พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ย. ประเทศอังกฤษ จากจำเลย กำหนดเวลาส่งมอบสิ่งของภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2535 แต่การส่งออกจากประเทศอังกฤษ บริษัทผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษก่อน หลังจากทำสัญญา จำเลยได้สั่งซื้อสิ่งของดังกล่าวจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้ผลิตยื่นคำร้องขออนุญาตส่งออกต่อรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในประเทศไทยรัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของดังกล่าวมายังประเทศไทยในช่วงนั้น เมื่อจำเลยสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2535 บริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทั้งที่ได้พยายามติดตามเรื่องตลอดมา จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกว่าได้เร่งรัดบริษัทผู้ผลิตแล้วและจะเร่งรัดให้ส่งของมาโดยด่วนต่อไป และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม2535 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกครั้งว่า ยังคงเร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องดังนี้ แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่า การส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางทหารต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทในประเทศอังกฤษและต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้การขออนุญาตส่งออกบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยผู้ขายได้เร่งรัดให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์หรือ 35 วัน จึงมีการอนุญาต พฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หลังครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาเพียง22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 205 และจำเลยได้แจ้งเหตุพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบแล้วโดยแจ้งว่าจะส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป ซึ่งนับว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-ความล่าช้าในการส่งมอบ-สัญญาซื้อขาย-อุปกรณ์ทางทหาร-การขอขยายเวลา
แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าการส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาเป็นอุปกรณ์ทางทหารซึ่งต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทในประเทศอังกฤษ และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้ การขออนุญาตส่งออกบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยที่ 1 ได้เร่งรัดให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์ หรือ 35 วัน โดยเพิ่งมีการอนุญาตเมื่อวันที่ 23มิถุนายน 2535 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาคือวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 หลังครบกำหนดส่งมอบเพียง 22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 และจำเลยที่ 1 ได้แจ้งเหตุแห่งความล่าช้าพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบหลายฉบับแล้ว แม้จะไม่มีข้อความขอขยายเวลาการส่งมอบออกไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 แจ้งว่าจะส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก็ถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป นับว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการขยายเวลาส่งมอบสินค้า: การที่รัฐบาลต่างประเทศไม่อนุมัติการส่งออกเนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบ ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาซื้อกล้องเล็งแบบเอ็ม53เอ 1 พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ย. ประเทศอังกฤษ จากจำเลย กำหนดเวลาส่งมอบสิ่งของภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2535แต่การส่งออกจากประเทศอังกฤษ บริษัทผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษก่อน หลังจากทำสัญญา จำเลยได้สั่งซื้อ สิ่งของดังกล่าวจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้ผลิตยื่นคำร้องขออนุญาตส่งออกต่อรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยัง ไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของดังกล่าวมายังประเทศไทยในช่วงนั้น เมื่อจำเลยสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2535 บริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทั้งที่ได้ พยายามติดตามเรื่องตลอดมา จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกว่าได้เร่งรัด บริษัทผู้ผลิตแล้วและจะเร่งรัดให้ส่งของมาโดยด่วนต่อไป และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ อีกครั้งว่า ยังคงเร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ใน สัญญาว่า การส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจาก รัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาซึ่งเป็น อุปกรณ์ทางทหารต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทใน ประเทศอังกฤษ และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้การขออนุญาตส่งออก บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยผู้ขายได้เร่งรัด ให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจาก เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาต ให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์หรือ 35 วันจึงมีการอนุญาต พฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หลังครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาเพียง 22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 และจำเลยได้แจ้งเหตุพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบแล้ว โดยแจ้งว่าจะ ส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ กรณี จึงถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป ซึ่งนับว่า ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การขนส่งหลายทอด, เหตุสุดวิสัย และขอบเขตการนำกฎหมายมาใช้
ขณะที่บริษัท ค. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้รับขนส่งสินค้าพิพาททางทะเล พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับและไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลังนำไปปรับใช้กับสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำกันขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ประกอบกับสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งทำกันขึ้นนั้นคู่สัญญามีเจตนาให้ผูกพันกันตามสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้นั้น จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับขนส่งทางทะเล และเป็นบริษัทสาขาหรือเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับขนสินค้าพิพาทที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ ได้ดำเนินการนำเรือ ป.เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพโดยได้รับบำเหน็จค่าจ้าง ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องเช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมืองการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือเมื่อเรือดังกล่าวเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่ 2ก็เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งยังเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าพิพาทนำไปรับสินค้าจากเรือขนส่ง นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ ป. ลงเรือลำเลียงหรือเรือฉลอม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการนำเรือขนถ่ายสินค้าด้วย การดำเนินการต่าง ๆของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินการขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ออกใบตราส่งหรือเป็นเจ้าของเรือ ป.ไม่ ขณะเรือ ป. เดินทางอยู่ในทะเลได้เผชิญกับพายุอย่างรุนแรงเรือโยกคลอน น้ำซัดเข้าเรือเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ความว่าพายุรุนแรงขนาดไหน ความเสียหายดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้เพราะ เหตุใด และผู้ควบคุมเรือซึ่งต้องประสบเหตุเช่นนั้นได้จัดการ ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหาย ของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8