พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมเดิมเป็นโมฆะ, เจตนาของเจ้ามรดกในการยกทรัพย์สิน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมา ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกห้าม และการแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมโมฆะ
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมาก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่ชื่อว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมคำว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้นมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองคำว่า"ละเมียด"ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่าเมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1)เรือน...และมีข้อความว่าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียด...แสดงว่าเจ้ามรดกมิได้มีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่2หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉยๆไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายใน 10 ปี และแก้ไขหมายบังคับคดีให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่2อยู่ด้วยจึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกาคดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์เมื่อวันที่8พฤศจิกายน2525โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่16กันยายน2535ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271 เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษาก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้ไขคำพิพากษาเมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำ ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับข้างบ้าน เจ้าของต้องรับผิดชอบแก้ไข
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อน ครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขทะเบียนบ้านโดยเจ้าพนักงาน แม้จะส่งมอบให้เจ้าบ้าน แต่ถือว่า 'ใช้' เอกสารปลอมตามกฎหมาย
จำเลยรับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอได้ทำการปลอมเอกสารราชการโดยการกรอกข้อความเท็จเพิ่มเติมลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฉบับอำเภอ หลังจากนั้นจำเลยได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้แก่เจ้าของบ้านเก็บรักษาไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงการมอบทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านให้แก่เจ้าของบ้านนั้น จำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยกระทำตามระเบียบปฎิบัติของทางราชการที่จะต้องมอบทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านให้แก่เจ้าบ้านเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ สามารถแก้ไขให้สมบูรณ์ได้โดยการชำระเงินอากรและเงินเพิ่มตามกฎหมาย ทำให้มีอำนาจฟ้อง
โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไปยื่นขอเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อจากนั้นย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาวินิจฉัย เมื่อโจทก์ได้เสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 117 จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับอาคารชุดเรื่องค่าใช้จ่ายร่วมกันต้องแยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 32ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเมื่อพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่ได้กำหนดมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมใหญ่ให้เปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดจึงต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากเจ้าของร่วมทุกคนไม่ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสองออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด และการคิดส่วนค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่เกิดจากบริการส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามส่วนแห่งประโยชน์ ที่ไม่ต่อห้องชุดและชำระกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมนี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 32(10) ประกอบด้วยมาตรา 49(1) ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ได้แก่ค่าภาษีอากรซึ่งจะต้องจ่ายในนามของอาคารชุดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 กล่าวคือเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดแต่ละห้องชุดกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6 และค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสองนี้ ต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กำหนดเท่านั้น คือตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หาใช่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ดังเช่นมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ไม่ ดังนั้น การที่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยได้นำเอาค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและมาตรา 18 วรรคสอง มาปะปนกันและให้ตัวอย่างค่าใช้จ่ายปะปนรวม ๆ กันมา จึงทำให้เกิดปัญหา เมื่อจำเลยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่นำเอาค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยข้อบังคับไม่ได้มารวมเข้าด้วย เหตุนี้มติที่ประชุมใหญ่ให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมเฉพาะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ที่ให้ใช้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องชุดพื้นที่ซักล้างและพื้นที่จอดรถของอาคารชุดทั้งหมด จึงขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราและการกระทำความรุนแรงทางเพศ ศาลแก้ไขบทมาตราที่ใช้ลงโทษให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก,277 ทวิ,297, 364,365,80 การกระทำ ของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงลงโทษ ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนโดยไม่ได้ระบุว่าลงโทษตามบทมาตราใด เมื่อ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาแท้จริง เพื่อข่มขืนกระทำชำเราเป็นสำคัญเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษาก็เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1),297,364,365(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ ตามมาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1) ซึ่งเป็น บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไข / สัญญาจ้างก่อสร้างผิดสัญญา
โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา67 (5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาไปโดยมิได้สั่งให้คืนหรือแก้ไขข้อ-บกพร่องดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์ย่อมแสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้จริง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนิน-กระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยทั้งสามรับจ้างโจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลย-ทั้งสามรับเป็นผู้ดำเนินการเขียนแบบแปลน และยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเทศบาลด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางเทศบาลเป็นเหตุให้เทศบาลระงับการก่อสร้าง จำเลยทั้งสามจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา391 วรรคแรก แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางเทศบาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งการก่อสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวเป็นผลจากคำสั่งของโจทก์เอง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิด ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนอาคารพิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
จำเลยทั้งสามรับจ้างโจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลย-ทั้งสามรับเป็นผู้ดำเนินการเขียนแบบแปลน และยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเทศบาลด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางเทศบาลเป็นเหตุให้เทศบาลระงับการก่อสร้าง จำเลยทั้งสามจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา391 วรรคแรก แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางเทศบาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งการก่อสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวเป็นผลจากคำสั่งของโจทก์เอง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิด ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนอาคารพิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาตามยอมและสิทธิในการขอแก้ไขการบังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 คำพิพากษานั้นกฎหมายห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้ในสิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกัน ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้วมีข้อความผิดพลาดไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์บังคับคดีจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยถูกต้อง โดยอ้างว่าการคิดต้นเงินหรือดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้องอย่างใด ที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใดแล้วขอให้บังคับคดีไปตามนั้นได้ เพราะคำพิพากษาตามยอมต้องบังคับไปตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล ในชั้นนี้ศาลฎีกายังวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น