คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดโทษและการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา และการพิจารณาความผิดฐานไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุดไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลงแต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยอื่นมิได้ถูกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินจำนวน 104,390 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งได้จ่ายเงินไปโดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจบังคับให้พวกของจำเลยคืนหรือชดใช้เงินตามคำขอของโจทก์ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้าม, การรับของโจร, และอำนาจริบของกลาง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องไม้หวงห้าม, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการริบของกลาง
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 7 วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชการอาณาจักร จึงไม่จำต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69 แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33ประกอบพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์, อำนาจศาลแก้ไขความบกพร่องความสามารถคู่ความ, และการแก้ไขคำพิพากษาตามฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นรวมคดีพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สิทธิในการฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้องโดยแยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนรวมทั้งฟ้องแย้งของจำเลยในแต่ละสำนวนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า ส. มิใช่ลูกจ้างและมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของอ. ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดตามฟ้องแย้งของจำเลยและฎีกาโต้เถียงในเรื่องค่าเสียหายล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและพิพากษาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย แล้วพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับจุดที่รถยนต์ชนกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ทุกคนมีอายุเกิน 20 ปีแล้วแม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์บกพร่อง และศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งให้แก้ไขความบกพร่องให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ โดยศาลฎีกาไม่จำต้องสั่งแก้ไขเรื่องความสามารถ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในงานศพ และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นสรุปในตอนท้ายของคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องและในส่วนที่เกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เท่าที่ปรากฎในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญา การชำระหนี้ และการผิดสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ และโจทก์รับจ้างจำเลยประกอบตู้ไฟฟ้า โดยจำเลยได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าครบถ้วนและได้ชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว คงค้างชำระค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบเสนอราคาที่ระบุว่าโจทก์จะต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยอมรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียก่อน เห็นว่าหากโจทก์จำเลยมีเจตนาให้นำเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับด้วยก็น่าจะระบุลงไว้ในสัญญาที่ทำขึ้นในภายหลังให้ชัดเจน เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ควรรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์จนกว่าการไฟฟ้านครหลวงจะได้รับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงเงื่อนไขดังกล่าวไว้ ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้ออกหนังสือรับประกันให้นั้น ปรากฏว่าในสัญญามีข้อความเขียนด้วยลายมือว่า "โดยมีระยะเวลารับประกัน 1 ปีฯ" ถือว่าโจทก์ได้รับประกันให้จำเลยแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ให้โจทก์ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อค้างชำระ: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาประการหนึ่ง และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการที่ยังไม่ได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนอีกประการหนึ่ง ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 35,000 บาท ดังนี้ พิจารณาคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง แสดงว่าเป็นเพียงการกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดใช้ราคารถยนต์กับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์รวมกันมาในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนไม่ได้เท่านั้น จึงต้องกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ได้เพิ่มขึ้นไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจลงโทษหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษ 2 กระทง โดยลงโทษกระทงละ1 ปี รวม 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเบาลงหรือขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมและการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยที่ 2รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมด และจำเลยที่ 2มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดค่าขึ้นศาลชั้นต้นใหม่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนชนะคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไม่ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาต่อจำเลยที่เสียชีวิตก่อนการอ่านคำพิพากษาและการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จและส่งให้ศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังแล้ว และได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไปยังศาลอีกแห่งหนึ่งเพื่ออ่านให้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำท้องที่ศาลนั้นฟัง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังศาลที่จำเลยที่ 2 ถูกคุมขังอยู่ในท้องที่ได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคืนศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาและสำนวนมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมโดยทำเป็นคำพิพากษาใหม่ สั่งแก้ไขปรับปรุงคำพิพากษาเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่ฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีมิได้คิดเป็นเวลา 5 ปี 7 เดือนตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระให้โจทก์ปัญหานี้แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไว้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีเป็นเงิน 90,000 บาท แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับจากวันที่ 1 เมษายน 2535 จนกว่าจะชำระเงินให้โจทก์เสร็จ ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า5 ปีนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142.
of 37