พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และผลของการผิดนัดโอนที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180(2) มิได้ถือเอากำหนดเวลาที่คู่ความฝ่ายที่ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนการชี้สองสถานหรือก่อนกำหนดเวลาชี้สองสถานเป็นเกณฑ์ แต่มาตรา 180(2) ถือเอากำหนดที่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน เหตุนี้ ถ้าหากจำเลยทราบเหตุที่จะขอแก้คำให้การในวันชี้สองสถานนั้นเอง แม้จะทราบก่อนกำหนดเวลาที่เริ่มมีการชี้สองสถาน ก็ไม่เป็นเหตุ ที่จะไม่อนุญาตให้แก้
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การภายหลังการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ศาลมีดุลพินิจอนุมัติหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 ให้โอกาสแก่โจทก์จำเลยที่จะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง หรือคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา ในเมื่อมีเหตุอันสมควร แต่ถึงแม้จะมีเหตุอันสมควรดังที่โจทก์หรือจำเลยอ้างแล้วกฎหมายยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็ว จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธ และนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ (อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็ว จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธ และนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ (อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลสั่งจำหน่ายคดีบางส่วนและการใช้ดุลพินิจของศาลในการอนุญาต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 ให้โอกาสแก่โจทก์จำเลยที่จะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง หรือคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา ในเมื่อมีเหตุอันสมควรแต่ถึงแม้จะมีเหตุอันสมควรดังที่โจทก์หรือจำเลยอ้างแล้วกฎหมายยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็วจึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธและนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ(อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็วจึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธและนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ(อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การอุทธรณ์ และอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียคำสั่งยกคำร้องนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและไม่ใช่เป็นกรณีศาลสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226 ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจรับพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย และศาลฎีกาก็พิจารณาตามข้อฎีกาของจำเลยต่อไปไม่ได้ให้ยกอุทธรณ์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ จำเลยอุทธรณ์ไม่ได้ตามมาตรา 226
ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลยไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งยกคำร้องนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและไม่ใช่เป็นกรณีศาลสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226 ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจรับพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยและศาลฎีกาก็พิจารณาตามข้อฎีกาของจำเลยต่อไปไม่ได้ ให้ยกอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัตยาบันสัญญาขายฝากและการแก้ไขคำให้การ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการให้สัตยาบันโดยการขอเพิ่มเงิน และการอนุญาตแก้คำให้การที่ไม่มีผลต่อสาระสำคัญ
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับสืบก่อนขอแก้คำให้การก่อนวันชี้สองสถานศาลได้ส่งสำเนาให้โจทก์คัดค้านแล้ว ทั้งข้อความที่เพิ่มเติมก็ไม่มีอะไรใหม่ที่เป็นสาระสำคัญ เพียงแต่ขยายข้อความเก่าให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมก็เป็นการถูกต้องแล้ว
ภรรยาโจทก์เอาที่ไปขายฝากจำเลยไว้ โจทก์มาฟ้องอ้างว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆียะเพราะโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมถ้าปรากฏว่าเมื่อได้ทำสัญญาขายฝากแล้ว โจทก์กับภรรยาได้พากันไปหาจำเลยเพื่อขอเงินเพิ่มอีก แม้จำเลยจะไม่ยอมให้ก็ดี ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การขายฝาก
ภรรยาโจทก์เอาที่ไปขายฝากจำเลยไว้ โจทก์มาฟ้องอ้างว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆียะเพราะโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมถ้าปรากฏว่าเมื่อได้ทำสัญญาขายฝากแล้ว โจทก์กับภรรยาได้พากันไปหาจำเลยเพื่อขอเงินเพิ่มอีก แม้จำเลยจะไม่ยอมให้ก็ดี ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การขายฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการแก้ไขคำให้การในคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถูกศาลเรียกให้เข้ามาว่าคดีแทนลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ย่อมร้องต่อศาลขอแก้ไขคำให้การเดิมของลูกหนี้ได้ เพราะเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิแก้ไขคำให้การในคดีล้มละลายได้ เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และผู้ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถูกศาลเรียกให้เข้ามาว่าคดีแทนลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ย่อมร้องต่อศาลขอแก้ไขคำให้การเดิมของลูกหนี้ได้เพราะเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อ, การแก้ไขคำให้การ, และเหตุบรรเทาโทษในคดีฉ้อโกง
คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา การที่คดียังไม่ถึงที่สุดไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษต่อไม่ได้
จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การจากให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพในชั้นฎีกาได้ เพราะการแก้ไขคำให้การต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่การยื่นคำร้องดังกล่าวถือเป็นการรับข้อเท็จจริงว่ากระทำความผิดโดยไม่โต้แย้งคำพิพากษาลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2
จำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นทนายความ ทำให้โจทก์หลงเชื่อมอบเงินให้จำเลย เป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่คำนึงถึงความเสียหายและความเดือดร้อนของผู้อื่น ไม่มีเหตุรอการลงโทษ แต่การนำเงินค่าเสียหายมาวางต่อศาลเพื่อชดใช้แก่โจทก์ เป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การจากให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพในชั้นฎีกาได้ เพราะการแก้ไขคำให้การต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่การยื่นคำร้องดังกล่าวถือเป็นการรับข้อเท็จจริงว่ากระทำความผิดโดยไม่โต้แย้งคำพิพากษาลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2
จำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นทนายความ ทำให้โจทก์หลงเชื่อมอบเงินให้จำเลย เป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่คำนึงถึงความเสียหายและความเดือดร้อนของผู้อื่น ไม่มีเหตุรอการลงโทษ แต่การนำเงินค่าเสียหายมาวางต่อศาลเพื่อชดใช้แก่โจทก์ เป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8730/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนคำสั่งไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและไม่รับฟ้องแย้ง เหตุฟ้องซ้ำ, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำให้การต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนหน้านั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของจำเลยเสมอไปไม่ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วหากมีเหตุอันสมควร ศาลสามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน และหนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบทั้งสามประเภทหนี้รวมกันเป็นคดีเดียวกัน โดยเสียเงินค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 29 นั้น หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าโจทก์ฟ้องในมูลหนี้แต่ละประเภทรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 หรือขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาได้ โดยไม่จำต้องต่อสู้มาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะ ยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องมาจึงไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะนั้น แม้การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้แล้วว่ายอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องตามสัญญาทั้งสามประเภทเคลือบคลุมและไม่ถูกต้อง กับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในกรณีผิดนัดสูงเกินส่วน ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไว้ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องนำสืบถึงการคิดยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบหักล้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเพียงใดได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การที่ว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีของโจทก์ซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในข้อนี้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เคยมีการฟ้องคดีต่อศาลไว้ก่อนแล้วอย่างไรที่จะทำให้คดีนี้กลายเป็นฟ้องซ้อนจึงไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน หนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยอ้างว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายต้องเสียชื่อเสียงและเสียหายในการค้า มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งในเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน และหนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบทั้งสามประเภทหนี้รวมกันเป็นคดีเดียวกัน โดยเสียเงินค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 29 นั้น หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าโจทก์ฟ้องในมูลหนี้แต่ละประเภทรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 หรือขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาได้ โดยไม่จำต้องต่อสู้มาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะ ยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องมาจึงไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะนั้น แม้การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้แล้วว่ายอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องตามสัญญาทั้งสามประเภทเคลือบคลุมและไม่ถูกต้อง กับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในกรณีผิดนัดสูงเกินส่วน ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไว้ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องนำสืบถึงการคิดยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบหักล้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเพียงใดได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การที่ว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีของโจทก์ซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในข้อนี้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เคยมีการฟ้องคดีต่อศาลไว้ก่อนแล้วอย่างไรที่จะทำให้คดีนี้กลายเป็นฟ้องซ้อนจึงไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน หนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยอ้างว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายต้องเสียชื่อเสียงและเสียหายในการค้า มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งในเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม